พุทธสุภาษิต เกี่ยวกับ หมวดความเพียร
รวมพุทธสุภาษิต เกี่ยวกับ หมวดความเพียร
พุทธสุภาษิต เกี่ยวกับ หมวดความเพียร ตามที่เคยรู้จัก พุทธสุภาษิต มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ
- การงานที่ทำโดยผลีผลาม ทำให้คนอ่อนปัญญาต้องเดือนร้อนภายหลัง
- การงานใด ๆ ที่ย่อหย่อน ย่อมไม่มีผลมาก
- คนขยัน พึงไม่ให้ประโยชน์ที่มาถึงแล้วผ่านไปโดยเปล่า
- คนขยัน ย่อมหาทรัพย์ได้
- คนขยัน ได้ความสงบใจ
- คนขยันทั้งคืนทั้งวัน จักไม่ซึมเซา เรียกว่าแต่ละวันมีแต่นำโชค
- คนฉลาดไม่ถูกเรื่อง ถึงจะพยายามทำประโยชน์ ก็ไม่สัมฤทธิ์ผลให้เกิดสุข
- คนที่ผลัดวันประกันพรุ่งนี้ ย่อมเสื่อม ยิ่งผลัดวันมะรืนนี้ ก็ยิ่งเสื่อม
- คนที่พากเพียรไม่หยุด เทวดาก็กีดกันไม่ได้
- คนที่ไม่รู้จักประโยชน์ตนว่า อะไรควรทำวันนี้ อะไรควรพรุ่งนี้ ใครตักเตือนก็โกรธ เย่อหยิ่ง ถือดีว่า ฉันเก่ง ฉันดี คนอย่างนี้ เป็นที่ชอบใจของกาฬกิณี
- คนประมาท เปรียบเสมือนคนตายแล้ว
- คนประมาท เสมือนคนตายแล้ว
- คนผลัดวันประกันพรุ่ง มีแต่จะเกิดความเสื่อม
- คนพ้นทุกข์ได้เพราะความเพียร
- คนมีกิจธุระ ตั้งใจทำการงานให้เหมาะเจาะ ย่อมหาทรัพย์ได้
- คนมีปัญญา ถึงเผชิญอยู่กับความทุกข์ ก็ไม่ยอมสิ้นหวังที่จะได้ประสบความสุข
- คนใดไม่ว่าจะหนาวหรือร้อน มีลมแดด เหลือบยุงก็ไม่หรั่น ทนหิวทนกระหายได้ทั้งนั้น ทำงานต่อเนื่องไปไม่ขาด ทั้งคืนวัน สิ่งที่เป็นประโยชน์มาถึงตามกาล ก็ไม่ปล่อยให้สูญเสียไป คนนั้นย่อมเป็นที่ชอบใจของสิริโชค สิริโชคจะพักพึงอยู่กับเขา
- คนไม่ประมาท ไม่มีวันตายในกาลอันไม่ควรตาย
- คนไม่เกียจคร้าน ย่อมพบแต่ความสุข
- ควรทำวันคืนไม่ให้เปล่าจากประโยชน์น้อยหรือมาก เพราะวันคืนผ่านบุคคลใดไป ชีวิตของบุคคลนั้น ย่อมพร่องจากประโยชน์นั้น
- ความคืนผ่านไป ๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่
- ความประมาท เป็นทางแห่งความตาย
- ความไม่ประมาท เป็นทางแห่งความไม่ตายในกาลยังควรไม่ตาย
- ค่อย ๆ ตั้งตัว เหมือนค่อย ๆ ก่อไฟจากกองน้อย
- ค่อย ๆ เก็บรวบรวมทรัพย์ ดังปลวกก่อจอมปลวก
- จงทำงานให้สมกับอาหารที่บริโภค
- จงทำประโยชน์ให้สำเร็จ ด้วยความไม่ประมาท
- จงมีความพยายามในหน้าที่ของตน
- จงเตรียมการให้พร้อม สำหรับอนาคต
- ถ้าจะทำ ก็ควรทำให้จริง
- ถ้ามัวล่าช้า ทำกิจล้าหลัง จะจมลงในห้วงอันตราย
- ทำงานไม่คั่งค้าง เป็นอุดมมงคล
- ทำเรื่อยไป ไม่ท้อถอย ผลที่ประสงค์จะสำเร็จสมหมาย
- ที่ควรช้า จงช้า ที่ควรเร่ง จงเร่ง
- ท่านทั้งหลายจงเห็นความเกียจคร้านว่าเป็นภัย และ เห็นการปรารภความเพียรว่าปลอดภัย แล้วปรารภความเพียรเถิด นี้เป็นพุทธานุศาสนี
- ท่านทั้งหลายต้องทำความเพียรเอง ตถาคตเป็นแต่ผู้บอก ผู้มีปกติเพ่งพินิจดำเนินไปแล้วจักพ้นจากเครื่องผูกของมาร
- บัณฑิต ไม่ควรท้อแท้
- ประพฤติชอบเวลาใด เวลานั้นชื่อว่าฤกษ์ดี มงคลดี เช้าดี รุ่งอรุณดี
- ประโยชน์ เป็นฤกษ์ของประโยชน์เอง
- ประโยชน์คือตัวฤกษ์ของประโยชน์ ดวงดาวจักทำอะไรได้
- ประโยชน์งามตรงที่ความพยายามสำเร็จ
- ประโยชน์ย่อมสำเร็จโดยชอบแก่ผู้ทำโดยไม่เบื่อหน่าย
- ประโยชน์ย่อมไม่สำเร็จโดยชอบแก่ผู้ทำโดยเบื่อหน่าย
- ผู้ขยันในหน้าที่การงาน ไม่ประมาท เข้าใจจัดการงาน เลี้ยงชีวิตพอสมควร จึงรักษาทรัพย์ที่หามาได้
- ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล มีปัญญา มีใจมั่นคงดีแล้วปรารภความเพียร ตั้งตนไว้ในธรรม ในกาลทุกเมื่อ ย่อมข้ามโอฆะที่ข้ามได้ยาก
- ผู้ที่ทำการงานลวก ๆ โดยมิได้พิจารณาใคร่ครวญให้ดี เอาแต่รีบร้อนพรวดพราดจะให้เสร็จ การงานเหล่านั้น ก็จะก่อความเดือนร้อนให้ เหมือนตักอาหารที่ยังร้อนใส่ปาก
- ผู้ปรารถนาประโยชน์ด้วยวิธีการอันผิด จะต้องเดือดร้อน
- ผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาด ย่อมตั้งตนได้ ด้วยต้นทุนแม้น้อย เหมือนคนก่อไฟน้อยขึ้นฉะนั้น
- ผู้ใดทำการโดยรู้ประมาณ ทราบชัดถึงกำลังของตน แล้วคิดการเตรียมไว้รอบคอบ ทั้งโดยแบบแผนทางตำรา ทั้งโดยการปรึกษาหารือ และโดยถ้อยคำที่ใช้พูดอย่างดี ผู้นั้นย่อมทำการสำเร็จ มีชัยอย่างไพบูลย์
- ผู้ใดเกียจคร้าน มีความเพียรเลว พึงเป็นอยู่ตั้งร้อยปี แต่ผู้ปรารถนาความเพียรมั่นคง มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียว ประเสริฐกว่าผู้นั้น
- ผู้ไม่ประมาท ควรทำความเพียรให้แน่วแน่
- ผู้ไม่สำคัญความหนาว และ ความร้อนให้ยิ่งไปกว่าหญ้าบุรุษเมื่อทำกิจ ย่อมไม่เสื่อมจากความสุข
- พึงบากบั่นทำการให้มั่นคง
- พึงประกอบการค้าที่ชอบธรรม
- พึงป้องกันภัยที่ยังมาไม่ถึง
- พึงระแวงสงสัยสิ่งที่ควรระแวงสงสัย
- พึงแสวงหาทรัพย์โดยทางชอบธรรม
- มัวรำพึงถึงความหลัง ก็มีแต่จะหดหาย มัวหวังวันข้างหน้า ก็มีแต่จะละลาย อันใดยังไม่มาถึง อันนั้นก็ยังไม่มี รู้อย่างนี้แล้ว เมื่อมีฉันทะเกิดขึ้น คนฉลาดที่ไหนจะปล่อยให้หายไปเปล่า
- รีบทำความเพียรเสียแต่วันนี้
- รู้ว่าอะไรเป็นประโยชน์แก่ชีวิตตน ก็ควรรีบลงมือทำ
- ฤกษ์ยามและดวงดาว จักช่วยอะไรได้
- สิ่งใดเป็นหน้าที่ กลับทอดทิ้งเสีย ไพล่ไปทำสิ่งที่ไม่ใช่หน้าที่ คนเหล่านั้นมัวประมาทอยู่ ความหมักหมมภายในตัวเขา ก็พอกพูนยิ่งขึ้น
- อย่าปล่อยกาลเวลาให้ล่วงไปโดยเปล่าประโยชน์
- อย่ามัวประมาทอยู่เลย
- อย่ารำพึงถึงความหลัง อย่ามัวหวังถึงอนาคต
- อริยมรรคย่อมบริสุทธิ์ เมื่อขับไล่ความหลับ ความเกียจคร้าน ความบิดขี้เกียจ ความไม่ยินดี และ ความเมาอาหารนั้นได้ด้วยความเพียร
- อันความหวังในผล ย่อมสำเร็จแก่ผู้ไม่ใจเร็วด่วนได้
- เกิดเป็นคน ควรพยายามเรื่อยไป
- เกิดเป็นคน ควรมีความหวังเรื่อยไป
- เตรียมกิจสำหรับอนาคตให้พร้อมไว้ก่อน อย่าให้กิจนั้นบีบคั้นตัว เมื่อถึงเวลาต้องทำเฉพาะหน้า
- เป็นคนควรพยายามเรื่อยไป จนกว่าผลที่ปรารถนาจะสำเร็จ
- เป็นคนควรหวังเรื่อยไป บัณฑิตไม่ควรท้อแท้ เราเห็นประจักษ์มากับตนเอง เราปรารถนาอย่างใด ก็ได้สมตามนั้น
- เมื่อความบากบั่นมีอยู่ บัณฑิตพึงเว้นบาปในโลกนี้เสีย เหมือนคนมีจักษุ เว้นเดินทางอันไม่สะดวกเรียบร้อย
- เมื่อต้องการความสุข ไม่พึงสิ้นความหวัง
- เมื่อทำหน้าที่ของลูกผู้ชายแล้ว จังไม่ต้องเดือนร้อนใจในภายหลัง
- เมื่อได้เพียรพยายามแล้ว ถึงจะตาย ก็ชื่อว่าตายอย่างไม่มีใครติเตียน ไม่ว่าในหมู่ญาติ หมู่เทวดา หรือว่าพระพรหมทั้งหลาย
- เวลาแต่ละวัน อย่าให้ผ่านไปโดยเปล่าประโยชน์ จะน้อยหรือมาก ก็ให้ได้ประโยชน์อะไรบ้าง
- โภคทรัพย์ มิใช่มีมาได้ด้วยเพียงคิดเอา
- ใครเล่ารู้ว่าจะตายวันตายพรุ่ง
- ใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำ ประเสริฐกว่า
- ไม่ควรให้แต่ละวันผ่านไปเปล่า
- ไม่พึงขวนขวายในสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
- ไม่พึงวิตกกังวลถึงอนาคต
- ไม่พึงหวนคำนึงถึงอดีต
- ไม่พึงหาทรัพย์ด้วยการคดโกง