พุทธสุภาษิต เกี่ยวกับ หมวดการปกครอง
รวมพุทธสุภาษิต เกี่ยวกับ หมวดการปกครอง
พุทธสุภาษิต เกี่ยวกับ หมวดการปกครอง ตามที่เคยรู้จัก พุทธสุภาษิต มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ
- การอยู่ในอำนาจของผู้อื่น เป็นทุกข์ทั้งสิ้น
- คนที่เป็นใหญ่ จะต้องใคร่ครวญให้ดีก่อน จึงลงโทษ
- คนพาล เป็นผู้นำไม่ได้
- ชาวชนบทไม่ได้รับการพิทักษ์รักษา ถูกกดขี่ด้วยค่าธรรมเนียมโดยไม่ชอบธรรม กลางคืนโจรปล้น กลางวันข้าราชการข่มเหง ในแว่นแคว้นผู้ปกครองชั่วร้าย ย่อมมีคนอาธรรม์มากมาย
- ดูเถิดมหาราช พระองค์จงเสด็จเที่ยวสดับ ดูความเป็นอยู่ ความเป็นไปในแว่นแคว้นแดนชนบท ครั้นได้เห็นได้ฟังแล้ว จึงปฎิบัติราชกิจนั้นๆ
- ถึงจะเป็นใหญ่เป็นโตขึ้นมา ก็ควรมีความถ่อมตน
- ถึงมีกำลังพลน้อย แต่มีความคิด ก็เอาชนะกองทัพใหญ่ที่ไร้ความคิดได้
- ถ้าผู้ปกครองทรงธรรม ประเทศชาติก็เป็นสุข
- ท่านผู้ครองแผ่นดิน ทั้งหลาย การที่ทำโดยผลีผลามจะแผดเผาตัวได้
- ผู้ครองแผ่นดินที่เจ้าสำราญ แส่หาแต่กามารมณ์ โภคทรัพย์จะพินาศหมด นี่แลที่เรียกว่าทุกข์ภัยของผู้ครองแผ่นดิน
- ผู้ถือความถูกต้องเป็นใหญ่ ได้ชื่อว่าผู้เที่ยงธรรม
- ผู้บริหารฉลาดและเข้มแข็ง จึงจะดี
- ผู้บริหารหมู่คณะ ถึงจะมีกำลังอำนาจ แต่เป็นคนพาลย่อม ไม่เป็นผลดี
- ผู้บริหารหมู่ชน เป็นปราชญ์ และมีกำลังเข้มแข็งจึงจะเป็นผลดี
- ผู้บริหารโง่ ถึงจะเข้มแข็ง ก็ไม่ดี
- ผู้ปกครองชอบธรรมจึงจะดี
- ผู้ปกครองต้องทราบรายได้รายจ่ายด้วยตนเอง ต้องทราบกิจการที่ทำแล้ว และยังมิได้ทำด้วยตนเอง
- ผู้ปกครองที่ฉลาด พึงแสวงสุขเพื่อประชาชน
- ผู้มีภาระปกครองรัฐ จงอย่าได้ประมาทเลย
- ผู้เป็นใหญ่ไม่คำนึงถึงความถูกต้อง ย่อมตกจากอำนาจ
- ผู้ใดทำความชั่วด้วยสำคัญตัวว่า เราเป็นผู้ยิ่งใหญ่ ครั้นทำแล้ว ก็ไม่หวั่นเกรงต่อคนทั้งหลาย ผู้นั้นจะดำรงชีพอยู่ยืนยาวด้วยความชั่วนั้นก็หาไม่ แม้เทพทั้งหลาย ก็มองดูเขาด้วยนัยน์ตาอันเหยียดหยาม
- ผู้ใดไม่รู้เท่าทันเรื่องราวที่เกิดขึ้นได้โดยพลัน ผู้นั้นจะหลงเข้าไปในอำนาจของศัตรู และจะเดือดร้อนภายหลัง
- พึงข่มคนที่ควรข่ม
- พึงป้องกันภัยที่ยังมาไม่ถึง
- พึงยกย่องคนที่ควรยกย่อง
- พึงระแวง สิ่งที่ควรระแวง
- ยกย่องผู้ควรยกย่องเป็นอุดมมงคล
- ราชา เป็นสง่าแห่งแคว้น
- สักการะฆ่าคนชั่วได้
- อย่าสำคัญตนว่า เรามีอำนาจยิ่งใหญ่ แล้วทำให้ประชาชนพลอยพินาศ
- อำนาจเป็นใหญ่ในโลก
- อิสรภาพ เป็นสุขทั้งสิ้น
- เมื่อผู้ครองแผ่นดินประมาท โภคทรัพย์ในรัฐทั้งหมดย่อมพินาศ นี่แลเรียกว่าทุกข์ภัยของผู้ครองแผ่นดิน
- เมื่อฝูงโคว่ายข้ามฟากอยู่ ถ้านำฝูงไปคด โคทั้งหมดก็ว่ายคดไปตาม ฉันใด ในหมู่มนุษย์ก็ฉันนั้น ผู้ใดได้รับแต่งตั้งเป็นใหญ่ ถ้าประพฤติอธรรม จะป่วยกล่าวไปไยถึงประชาชนที่เหลือ ถ้าราชาไม่ตั้งอยู่ในธรรม รัฐทั้งหมด
- เมื่อฝูงโคว่ายข้ามฟากอยู่ ถ้านำโคฝูงไปตรง โคทั้งหมดย่อมว่ายตรงไปตาม ฉันใด ในหมู่มนุษย์ก็ฉันนั้น ผู้ใดได้รับแต่งตั้งเป็นใหญ่ ถ้าผู้นั้นประพฤติธรรม ประชาชนที่เหลือก็เป็นอันไม่ต้องกล่าวถึง ถ้าราชาตั้งอยู่ในธรรม รัฐทั้งหมดย่อมอ
- เมื่อมีความประมาท ก็เกิดความเสื่อม
- เมื่อมีความมัวเมา ก็เกิดความประมาท
- เมื่อมีความเสื่อม ก็เกิดโทษประดัง
- เมื่ออนารชนก่อกรรมชั่ว อารชนใช้อาชญาหักห้าม การกระทำนั้น เป็นการสั่งสอน หาใช่เป็นเวรไม่ บัณฑิตทั้งหลายเข้าใจกันอย่างนี้
- เริ่มแรก แก้ไขข้อที่ผิดพลาดคลาดเคลื่อนให้เสร็จ ระงับความโกรธกริ้วและความบันเทิงไว้ก่อน จากนั้นจึงสั่งงาน ข้อนี้นักปราชญ์กล่าวว่าเป็นวัตร(ระเบียบปฎิบัติ) ของผู้ปกครอง
- โสดาปัตติผลประเสริฐกว่าความเป็นใหญ่ในโลกทั้งปวง
- ในแว่นแคว้นของราชาผู้มีเมตตา มีธรรมมั่นคง ประชาชนจะนอนเป็นสุข เหมือนนอนอยู่ในบ้านของตัว ในร่มเงาอันเย็นสบาย