ค้นเจอ 20 รายการ

อนุ

หมายถึงคำประกอบหน้าศัพท์บาลีหรือสันสกฤตมีความหมายว่า น้อย เช่น อนุทิศ = ทิศน้อย, ภายหลัง, รุ่นหลัง, เช่น อนุชน = ชนรุ่นหลัง, ตาม เช่น อนุวัต = เป็นไปตาม, เนือง ๆ เช่น อนุศาสน์ = สอนเนือง ๆ คือ พรํ่าสอน. (ป., ส.).

นุ

หมายถึง(กลอน) ตัดมาจากอุปสรรค อนุ เช่น ทราบนุสนธิ์ทุกแห่ง. (ตะเลงพ่าย); อเนกนุประการ. (พงศ. เลขา); โดยนุกรม. (ม. คำหลวง วนปเวสน์).

อันเวส

หมายถึง[-เวด] น. การตามแสวงหา, การค้นหา. (ป. อนุ + เอส).

อนุตร,อนุตร-

หมายถึง[อะนุดตะระ-] ว. ไม่มีสิ่งใดสูงกว่า, ดีเลิศ, ยิ่ง, วิเศษ เช่น อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ. (ป., ส. อนุตฺตร).

อนุประโยค

หมายถึงน. ประโยคเล็กที่ทำหน้าที่แต่งมุขยประโยคให้ได้ความดีขึ้น แบ่งเป็น ๓ ชนิด คือ นามานุประโยค คุณานุประโยค และวิเศษณานุประโยค.

อนุกาชาด

หมายถึง(โบ) น. อนุสมาชิกของสภากาชาด.

อนุภาษ

หมายถึง[-พาด] ก. พรํ่ากล่าว, พรํ่าสอน. (ส.; ป. อนุภาส).

อนุศิษฏ์

หมายถึงก. สั่งสอน, ชี้แจง. (ส.; ป. อนุสิฏฺ).

อนุศาสน์

หมายถึงน. การสอน; คำชี้แจง. (ส.; ป. อนุสาสน).

อนุพงศ์

หมายถึงน. วงศ์ที่เนื่องมา, วงศ์ย่อยที่สืบมาจากวงศ์ใหญ่. (ส. อนุวํศ).

ฉันทานุมัติ

หมายถึง[ฉันทานุมัด] น. ความเห็นชอบตามโดยความพอใจ, การได้รับมอบหมายด้วยความเต็มใจ. (ป. ฉนฺท + อนุมติ).

อนุบท

หมายถึงน. บทลูกคู่, บทรับของเพลงและกลอน. (ป., ส. อนุปท).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ