ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา อนุพงศ์
อธิ
หมายถึงคำนำหน้าคำที่มาจากบาลีและสันสกฤต แปลว่า ยิ่ง, ใหญ่, เช่น อธิปัญญา = ปัญญายิ่ง. (ป., ส. = ยิ่ง, ใหญ่, ทับ).
อธิก,อธิก-
หมายถึง[อะทิกะ-, อะทิกกะ-] ว. ยิ่ง, เกิน, มาก, เพิ่ม, เลิศ, ใช้ว่า อธึก ก็มี. (ป., ส.).
อธึก
หมายถึงว. อธิก, ยิ่ง, เกิน, มาก, เพิ่ม, เลิศ.
อธิมาตร
หมายถึง[อะทิมาด] ว. เหลือคณนา. (ส.; ป. อธิมตฺต).
พงศ,พงศ-,พงศ์
หมายถึง[พงสะ-, พง] น. เชื้อสาย, เทือกเถา, เหล่ากอ, สกุล. (ส.; ป. วํส).
ขลุมประเจียด
หมายถึง[ขฺลุม-] น. ชื่อช้างตระกูลหนึ่ง ในอัคนีพงศ์ ประเภทศุภลักษณ์.
อติชาต,อติชาต-
หมายถึง[อะติชาด, อะติชาดตะ-] ว. เลิศกว่าเผ่าพงศ์. (ป., ส.).
กรุณาธิคุณ
หมายถึงน. คุณอันยิ่งใหญ่ คือ กรุณา. (ป. กรุณา + อธิ + คุณ).
อธิมุตติ
หมายถึง[อะทิมุดติ] น. อัชฌาสัย, ความพอใจ, ความตั้งใจ. (ป.; ส. อธิมุกฺติ).
ช้างเผือก
หมายถึงน. ช้างในตระกูลชาติพรหมพงศ์ อิศวรพงศ์ พิษณุพงศ์ หรืออัคนิพงศ์ ที่มีลักษณะ ๗ สี คือ ขาว เหลือง เขียว แดง ดำ ม่วง เมฆ และมีตา เล็บ ขน เป็นต้น ประกอบด้วยคชลักษณ์ด้วย; โดยปริยายหมายถึงคนดีมีวิชาเป็นต้นที่เกิดในชนบทแล้วมามีชื่อเสียงโด่งดังอยู่ในกรุง.
เหล่ากอ
หมายถึงน. เผ่าพันธุ์, ต้นตระกูล, บางทีใช้ควบกับคำอื่น เช่น เทือกเถาเหล่ากอ พงศ์เผ่าเหล่ากอ โคตรเหง้าเหล่ากอ.
อาเทศ
หมายถึง[-เทด] น. การแปลงหรือแผลงพยัญชนะและสระตามข้อบังคับแห่งไวยากรณ์บาลีและสันสกฤต เช่น สมบัติ + อภิบาล อาเทศสระอิ ที่ ติ เป็น ย แล้วสนธิกับ อภิบาล เป็น สมบัตยาภิบาล, ธนุ + อาคม อาเทศสระอุ ที่ นุ เป็น ว แล้วสนธิกับ อาคม เป็น ธันวาคม, อธิ + อาสัย อาเทศอธิ เป็น อัชฌ แล้วสนธิกับ อาสัย เป็น อัชฌาสัย. (ส.; ป. อาเทส).