ค้นเจอ 22 รายการ

จตุรพิธพร

หมายถึง[-พิดทะพอน] น. พร ๔ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ, ใช้ในการให้พร ขอให้มีอายุยืน มีผิวพรรณผ่องใส มีความสุขกายสุขใจ และมีกำลังแข็งแรง.

พราหมณ์

หมายถึง[พฺราม] น. คนในวรรณะที่ ๑ แห่งสังคมฮินดู ซึ่งมี ๔ วรรณะ ได้แก่ พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ และศูทร, ผู้ที่ถือเพศไว้ผม นุ่งขาวห่มขาว เช่น พราหมณ์ปุโรหิต พราหมณ์พฤฒิบาศ. (ป., ส.).

แพศย์

หมายถึง[แพด] น. คนในวรรณะที่ ๓ แห่งสังคมฮินดู ซึ่งมี ๔ วรรณะ ได้แก่ พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ และศูทร. (ส. ไวศฺย; ป. เวสฺส).

วรรณ,วรรณ-,วรรณะ

หมายถึง[วันนะ-] น. สี เช่น เบญจวรรณ แปลว่า ๕ สี, มักใช้เข้าคู่กับคำ สีสัน เป็น สีสันวรรณะ; ผิว เช่น ขอให้เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ผิวพรรณ เป็น ผิวพรรณวรรณะ; ชั้นชน, ในสังคมฮินดูแบ่งคนออกเป็น ๔ วรรณะ คือ พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ ศูทร; หนังสือ เช่น วรรณกรรม วรรณคดี. (ส. วรฺณ; ป. วณฺณ).

วัณณะ

หมายถึง(แบบ) น. สี, ผิว; ชนิด, อย่าง. (ป.; ส. วรฺณ). (ดู วรรณ-, วรรณะ).

กษัตริย์

หมายถึง[กะสัด] น. พระเจ้าแผ่นดิน, ใช้เต็มว่า พระมหากษัตริย์, คนในวรรณะที่ ๒ แห่งสังคมฮินดู ซึ่งมีอยู่ ๔ วรรณะ ได้แก่ วรรณะพราหมณ์ วรรณะกษัตริย์ วรรณะแพศย์ และวรรณะศูทร. (ส. กฺษตฺริย ว่า ผู้ป้องกันภัย, ชาตินักรบ; ป. ขตฺติย). ว. แท้ไม่มีอื่นปน เช่น ทองเนื้อกษัตริย์, เรียกรูปพรรณที่ทำด้วยโลหะมีราคา เช่น ถ้าทำด้วยเงิน ทอง นาก สลับกัน เรียกว่า สามกษัตริย์.

เววัณ

หมายถึงว. ต่างวรรณะกัน. (ป. วิวณฺณ, เววณฺณ; ส. วิวรฺณ).

วาชเปยะ

หมายถึง[วาชะ-] น. การดื่มเพื่อพลัง; ชื่อพิธีบูชาอย่างหนึ่งในอินเดียโบราณที่จัดทำสำหรับบุคคลในวรรณะกษัตริย์และวรรณะพราหมณ์. (ส.).

เววัณณิยะ

หมายถึงน. ความเป็นผู้มีวรรณะต่างกันหรือต่างเพศกัน เช่นเพศบรรพชิตต่างกับเพศคฤหัสถ์. (ป.).

ศูทร

หมายถึง[สูด] น. วรรณะที่ ๔ ของสังคมฮินดู. (ส.; ป. สุทฺท).

เกียรติยศ

หมายถึง[เกียดติยด] น. เกียรติโดยฐานะตำแหน่งหน้าที่หรือชาติชั้นวรรณะ.

เวศย์

หมายถึงน. แพศย์, คนในวรรณะที่ ๓ แห่งอินเดีย คือพ่อค้า. (ส. ไวศฺย; ป. เวสฺส).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ