ค้นเจอ 12 รายการ

มารค

หมายถึง[มาก] น. ทาง เช่น ชลมารค สถลมารค. (ส. มารฺค; ป. มคฺค).

มรรคนายก

หมายถึง[มักคะนายก] น. “ผู้นำทาง” คือ ผู้จัดการทางกุศล หรือ ผู้ชี้แจงทางบุญทางกุศลและป่าวประกาศให้ประชาชนมาทำบุญทำกุศลในวัด. (ส. มารฺค + นายก).

มรรค-

หมายถึง[มักคะ-] น. ทาง; เหตุ, ใช้คู่กับ ผล ว่า เป็นมรรคเป็นผล; ในพระพุทธศาสนา เป็นชื่อแห่งโลกุตรธรรม คู่กับ ผล มี ๔ ชั้น คือ โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตมรรค, ทางที่จะนำไปสู่ความพ้นทุกข์ เป็น ๑ ในอริยสัจ ๔ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค เรียกเต็มว่า มรรคมีองค์ ๘ ประกอบด้วย สัมมาทิฐิ - ความเห็นชอบ ๑ สัมมาสังกัปปะ - ความดำริชอบ ๑ สัมมาวาจา - การเจรจาชอบ ๑ สัมมากัมมันตะ - การงานชอบ ๑ สัมมาอาชีวะ - การเลี้ยงชีวิตชอบ ๑ สัมมาวายามะ - ความพยายามชอบ ๑ สัมมาสติ - ความระลึกชอบ ๑ สัมมาสมาธิ - ความตั้งใจชอบ ๑ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มัชฌิมาปฏิปทา คือ ทางสายกลาง. (ส. มารฺค; ป. มคฺค).

หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๔ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กกในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น โรค มรรค มารค เทคนิค.

สกทาคามิมรรค,สกิทาคามิมรรค

หมายถึง[-มัก] น. ทางปฏิบัติที่ให้สำเร็จเป็นพระสกทาคามี. (ส. สกฺฤทาคามินฺ + มารฺค; ป. สกทาคามิมคฺค, สกิทาคามิมคฺค). (ดู มรรค).

อนาคามิมรรค

หมายถึงน. ทางปฏิบัติที่ให้สำเร็จเป็นพระอนาคามี. (ส. อนาคามินฺ + มารฺค; ป. อนาคามิมคฺค). (ดู มรรค).

อรหัตมรรค

หมายถึงน. ทางปฏิบัติที่ให้สำเร็จเป็นพระอรหันต์. (ส. อรฺหตฺตฺว + มารฺค; ป. อรหตฺตมคฺค). (ดู มรรค).

โสดาปัตติมรรค

หมายถึง[-ปัดติมัก] น. ทางปฏิบัติที่ให้สำเร็จเป็นพระโสดาบัน. (ป. โสตาปตฺติมคฺค; ส. โสฺรตสฺ + อาปตฺติ + มารฺค).

มรคา

หมายถึง[มอระคา] น. ทาง, ช่อง, ถนน. (ส. มารฺค; ป. มคฺค).

มรรค

หมายถึง[มัก] น. ทาง; เหตุ, ใช้คู่กับ ผล ว่า เป็นมรรคเป็นผล; ในพระพุทธศาสนา เป็นชื่อแห่งโลกุตรธรรม คู่กับ ผล มี ๔ ชั้น คือ โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตมรรค, ทางที่จะนำไปสู่ความพ้นทุกข์ เป็น ๑ ในอริยสัจ ๔ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค เรียกเต็มว่า มรรคมีองค์ ๘ ประกอบด้วย สัมมาทิฐิ - ความเห็นชอบ ๑ สัมมาสังกัปปะ - ความดำริชอบ ๑ สัมมาวาจา - การเจรจาชอบ ๑ สัมมากัมมันตะ - การงานชอบ ๑ สัมมาอาชีวะ - การเลี้ยงชีวิตชอบ ๑ สัมมาวายามะ - ความพยายามชอบ ๑ สัมมาสติ - ความระลึกชอบ ๑ สัมมาสมาธิ - ความตั้งใจชอบ ๑ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มัชฌิมาปฏิปทา คือ ทางสายกลาง. (ส. มารฺค; ป. มคฺค).

มรรคา

หมายถึง[มันคา] น. ทาง; เหตุ, ใช้คู่กับ ผล ว่า เป็นมรรคเป็นผล; ในพระพุทธศาสนา เป็นชื่อแห่งโลกุตรธรรม คู่กับ ผล มี ๔ ชั้น คือ โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตมรรค, ทางที่จะนำไปสู่ความพ้นทุกข์ เป็น ๑ ในอริยสัจ ๔ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค เรียกเต็มว่า มรรคมีองค์ ๘ ประกอบด้วย สัมมาทิฐิ - ความเห็นชอบ ๑ สัมมาสังกัปปะ - ความดำริชอบ ๑ สัมมาวาจา - การเจรจาชอบ ๑ สัมมากัมมันตะ - การงานชอบ ๑ สัมมาอาชีวะ - การเลี้ยงชีวิตชอบ ๑ สัมมาวายามะ - ความพยายามชอบ ๑ สัมมาสติ - ความระลึกชอบ ๑ สัมมาสมาธิ - ความตั้งใจชอบ ๑ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มัชฌิมาปฏิปทา คือ ทางสายกลาง. (ส. มารฺค; ป. มคฺค).

ด้าม

หมายถึงน. ส่วนของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ใช้ถือใช้จับ เช่น ด้ามมีด ด้ามขวาน, ลักษณนามเรียกของบางอย่างที่มีลักษณะเช่นนั้นว่า ด้าม เช่น ปากกาด้ามหนึ่ง ปากกา ๒ ด้าม; ต้น, ทาง, เช่น โดยด้ามอาทิสวคนธ์. (ม. คำหลวง จุลพน), ผู้เผด็จด้ามตัณหา. (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์), โดยด้ามอาทิทศธรรมสนท้าว. (ม. คำหลวง นครกัณฑ์), แลราชผู้มีอยู่ในด้ามมารคธรรม. (ม. คำหลวง นครกัณฑ์).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ