ค้นเจอ 66 รายการ

นิสัย

หมายถึงน. ความประพฤติที่เคยชิน เช่น ทำจนเป็นนิสัย; ที่พึ่ง, ที่พักพิง, ที่อาศัย, เช่น ขอนิสัยในการอุปสมบท. (ป. นิสฺสย).

พันธุกรรม

หมายถึงน. ลักษณะ นิสัย ตลอดจนโรคหรือความวิกลวิการบางอย่างที่ลูกหลานสืบมาจากบรรพบุรุษ ปู่ย่า ตายาย หรือพ่อแม่, กรรมพันธุ์ ก็ว่า.

กรรมพันธุ์

หมายถึง[กำมะพัน] ว. มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ คือ เกี่ยวเนื่องด้วยกรรมของตนเอง. น. ลักษณะ นิสัย ตลอดจนโรคหรือความวิกลวิการบางอย่างที่ลูกหลานสืบมาจากบรรพบุรุษ ปู่ย่าตายาย หรือพ่อแม่, พันธุกรรม ก็ว่า. (ส. กรฺม + พนฺธุ; ป. กมฺมพนฺธุ = “มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์” เกี่ยวเนื่องด้วยกรรมของตนเอง).

เสียนิสัย

หมายถึงก. มีนิสัยไม่ดี เช่น พ่อแม่มีลูกคนเดียว จึงตามใจจนลูกเสียนิสัย เอาแต่ใจตัวเอง.

บ่มนิสัย

หมายถึงก. อบรมให้มีการประพฤติปฏิบัติในทางที่ดีจนเป็นนิสัย.

ไม่ถูกโรคกัน

หมายถึง(ปาก) ก. เข้ากันไม่ได้, ไม่ถูกนิสัยกัน.

ดัดสันดาน

หมายถึงก. แก้นิสัยให้ดี.

เคยตัว

หมายถึงก. ติดเป็นนิสัยประจำตัว.

อบรม

หมายถึงก. แนะนำพรํ่าสอนให้ซึมซาบเข้าไปจนติดเป็นนิสัย, แนะนำชี้แจงให้เข้าใจในเรื่องที่ต้องการ, ขัดเกลานิสัย, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับ บ่มนิสัย เป็น อบรมบ่มนิสัย.

กล่อมเกลี้ยง

หมายถึงก. อบรมเลี้ยงดูให้มีนิสัยดี.

เหมือนกัน

หมายถึงว. อย่างเดียวกัน, ไม่แปลกกัน, เช่น พี่น้องคู่นี้มีนิสัยเหมือนกัน.

เหลาะแหละ

หมายถึง[-แหฺละ] ว. เหลวไหล, ไม่จริงจัง, มีนิสัยไม่แน่นอน.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ