ค้นเจอ 18 รายการ

กระ

หมายถึงใช้เป็นพยางค์หน้า (๑) ซึ่งเดิมเป็น ก กำ กุ ข ต ส เช่น กบิล - กระบิล, กำแพง - กระแพง, กุฎี - กระฎี, ขจัด - กระจัด, ตวัด - กระหวัด, สะท้อน - กระท้อน. (๒) โบราณใช้แทน ตระ เช่น ตระกูล - กระกูล, ตระลาการ - กระลาการ. (อัยการเบ็ดเสร็จ). (๓) เติมหน้าคำโดยไม่มีความหมายก็มี เช่น ซุ้ม - กระซุ้ม, โดด - กระโดด, พุ่ม - กระพุ่ม, ยาจก - กระยาจก, เติมให้มีความหมายแน่นแฟ้นขึ้นก็มี เช่น ทำ - กระทำ, ทุ้ง - กระทุ้ง, เสือกสน - กระเสือกกระสน. (๔) ยํ้าหน้าคำอันขึ้นต้นด้วย ก ในบทกลอน คือ กระกรี๊ด กระกรุ่น กระกลับกลอก กระเกริ่น กระเกรียม กระเกรียว กระเกรี้ยว กระเกริก. (๕) นอกนี้เป็น กระ มาแต่เดิม เช่น กระทรวง กระบือ.

โดรณ,โดรณะ

หมายถึง[โดน, โดระนะ] (แบบ) น. ซุ้ม, ประตูซุ้ม, เสาต้าย, เสาค่าย, เสาระเนียด. (ป., ส. โตรณ).

ออกซุ้ม

หมายถึงก. บรรเลงทำนองเพลงสำเนียงลาวต่อท้ายเพลงเดี่ยวลาวแพนโดยเฉพาะ.

ซุ้ม

หมายถึงน. สิ่งที่เป็นพุ่มโดยมากปกคลุมด้วยต้นไม้หรือเถาวัลย์ มีทางลอดได้ เช่น ในป่าเถาวัลย์ขึ้นเป็นซุ้มเองตามธรรมชาติ, ต้นไม้ซึ่งขึ้นปกคลุมสิ่งที่ก่อสร้างเพื่อรองรับ มีทางลอดได้ เช่น ปลูกกระดังงาเป็นซุ้ม, ซุ้มไม้ ก็เรียก.

ซุ้ม

หมายถึงน. สิ่งที่สร้างขึ้นในการรับเสด็จเป็นต้น มีรูปลักษณะอย่างซุ้มไม้, ที่อยู่หรือที่พักซึ่งทำขึ้นใช้กันแดดกันฝนชั่วคราว ส่วนบนมักโค้ง เช่น ซุ้มดอกเห็ด, สิ่งที่ทำขึ้นสำหรับเป็นเครื่องประดับส่วนบนของประตูหน้าต่างพระที่นั่ง โบสถ์ วิหาร เป็นต้น มีรูปต่าง ๆ กัน เช่นมีรูปคล้ายหน้าจั่ว เรียกว่า ซุ้มบันแถลง ซุ้มหน้านาง หรือ ซุ้มรังไก่.

ซุ้ม

หมายถึงน. ทำนองเพลงสำเนียงลาว ประดิษฐ์ขึ้นสำหรับบรรเลงต่อท้ายเพลงเดี่ยวลาวแพนโดยเฉพาะ เรียกว่า ออกซุ้ม.

กระซุ้ม

หมายถึงน. ซุ้ม.

ซุ้มคูหา

หมายถึงน. ซุ้มรอบพระปรางค์และพระเจดีย์สำหรับประดิษฐานพระพุทธรูป.

ซุ้มจระนำ

หมายถึงน. ชื่อซุ้มท้ายวิหารหรือท้ายโบสถ์ เป็นช่องตัน มักเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป.

เกี้ยวประทีป

หมายถึงน. ซุ้มไฟทำเป็นรูปอย่างเกี้ยว.

พุ่มไม้

หมายถึงน. กลุ่มต้นไม้เล็ก ๆ ที่ขึ้นเป็นซุ้มเป็นเซิง.

จระนำ

หมายถึง[จะระ-] น. ซุ้มคูหาท้ายวิหารหรือท้ายโบสถ์มักเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป เรียกว่า ซุ้มจระนำ. (ทมิฬ จาฬรัม ว่า หน้าต่าง).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ