ค้นเจอ 883 รายการ

กาย,กาย-

หมายถึง[กายยะ-] น. ตัว เช่น ไม่มีผ้าพันกาย, และมักใช้เข้าคู่กับคำ ร่าง เป็น ร่างกาย, ใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส หมายความว่า หมู่, พวก, เช่น พลกาย = หมู่ทหาร. (ป., ส.).

สักกาย,สักกาย-

หมายถึง[-กายะ-] น. กายของตน. (ป.; ส. สฺวกาย).

กายสุจริต

หมายถึง[กายยะสุดจะหฺริด] น. ความประพฤติชอบทางกาย ได้แก่ การไม่ฆ่าสัตว์ ๑ การไม่ลักทรัพย์ ๑ การไม่ประพฤติผิดในกาม ๑.

สุวรรณกาย

หมายถึงครุฑ, ผู้มีกายสีทอง

กำลัง

หมายถึงน. (คณิต) เลขชี้กำลังที่เขียนลงบนจำนวนจริง เช่น ๕๒ อ่านว่า ๕ ยกกำลัง ๒ ๗ อ่านว่า ๗ ยกกำลัง ; (ฟิสิกส์) จำนวนงานที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งกระทำได้โดยสมํ่าเสมอในหนึ่งหน่วยเวลา เขียนเป็นความสัมพันธ์ได้ คือ กำลังเท่ากับ , อัตราของการทำงาน ก็เรียก; ขนาดของของกลมที่วัดโดยรอบ เช่น ช้างมีกำลัง (วัดรอบอก) เท่านั้นนิ้ว เท่านี้นิ้ว, ไม้มีกำลัง (วัดรอบลำต้น) เท่านั้นนิ้ว เท่านี้นิ้ว.

ความคิด

หมายถึงน. สิ่งที่นึกรู้ขึ้นในใจ; ความรู้ที่เกิดขึ้นภายในใจ ก่อให้เกิดการแสวงหาความรู้ต่อไป เช่น เครื่องบินเกิดขึ้นได้เพราะความคิดของมนุษย์; สติปัญญาที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างถูกต้องและสมควร เช่น คนทำลายของสาธารณะเป็นพวกไม่มีความคิด.

คิด

หมายถึงก. ทำให้ปรากฏเป็นรูปหรือประกอบให้เป็นรูปหรือเป็นเรื่องขึ้นในใจ; ใคร่ครวญ, ไตร่ตรอง, เช่น เรื่องนี้ยากยังคิดไม่ออก; คาดคะเน เช่น คิดว่าเย็นนี้ฝนอาจจะตก; คำนวณ เช่น คิดเลขในใจ; มุ่ง, จงใจ, ตั้งใจ, เช่น อย่าคิดร้ายเขาเลย; นึก เช่น คิดละอาย.

สำราญกาย

หมายถึงก. สบายกาย.

เพาะกาย

หมายถึงก. บริหารร่างกายเพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรงโดยวิธียกน้ำหนักเป็นต้น.

แมงกาย

หมายถึง(ถิ่น-พายัพ) น. ผีเสื้อกลางคืน. (ดู ผีเสื้อ ๑).

ตรีกาย

หมายถึงน. พระกายทั้ง ๓ ของพระพุทธเจ้าตามคติพระพุทธศาสนา นิกายมหายาน ได้แก่ ๑. ธรรมกาย (พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า) ๒. สัมโภคกาย (กายทิพย์หรือกายละเอียดของพระพุทธเจ้า) และ ๓. นิรมาณกาย (กายที่เป็นขันธ์ ๕ และปรากฏแก่มนุษย์ทั่วไป ซึ่งบางทีเรียกว่า รูปกาย).

กายทวาร

หมายถึงน. ทางกาย. (ป., ส. กาย + ทฺวาร).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ