ค้นเจอ 44 รายการ

อักโกธะ

หมายถึงน. ความไม่โกรธ, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม. (ดู ทศพิธราชธรรม หรือ ราชธรรม). (ป.).

อักโข

หมายถึงว. มาก, หลาย. (ตัดมาจาก อักโขภิณี).

อักษรต่ำ

หมายถึง[อักสอน-] น. พยัญชนะที่คำเป็นมีพื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ ผันได้ ๓ เสียง มี ๒ รูป คือ ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงโท ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงตรี เช่น คา ค่า ค้า คำตายสระสั้น พื้นเสียงเป็นเสียงตรี ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงโท ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงจัตวา เช่น คะ ค่ะ ค๋ะ คำตายสระยาว พื้นเสียงเป็นเสียงโท ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงตรี ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงจัตวา เช่น คาก ค้าก ค๋าก มี ๒๔ ตัว คือ ค ฅ ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ ท ธ น พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ฬ ฮ.

อักษรสมัย

หมายถึง[อักสอนสะไหฺม] น. วิชาหนังสือว่าด้วยการอ่านการเขียน. (ส.).

อักเษาหิณี

หมายถึงน. จำนวนนับอย่างสูง คือ ๑ มีศูนย์ตาม ๔๒ ตัว; กองทัพอินเดียโบราณที่มีกระบวนรบพร้อมมูลตามกำหนด; อักโขภิณี หรือ อักโขเภณี ก็ว่า. (ส.; ป. อกฺโขภิณี).

ปริศนาอักษรไขว้

หมายถึงน. ปริศนาที่จะต้องตอบโดยการเติมคำลงในตารางสี่เหลี่ยมที่กำหนดให้ช่องละ ๑ อักษร แล้วให้อ่านได้ใจความทั้งในแนวยืนและแนวนอน.

กระอักกระอ่วน

หมายถึงว. ป่วน, พิพักพิพ่วน, ลังเลใจ, ตกลงใจไม่ได้, อักอ่วน ก็ว่า.

สัมผัสอักษร

หมายถึงน. สัมผัสพยัญชนะที่มีพยัญชนะต้นตัวเดียวกันหรือเสียงพ้องกัน เช่น จำใจจำจากเจ้า จำจร. (ตะเลงพ่าย), คูนแคขิงข่าขึ้น เคียงคาง. (หลักภาษาไทยของกำชัย ทองหล่อ).

อักขรวิธี

หมายถึงน. วิธีเขียนและอ่านหนังสือให้ถูกต้อง, ชื่อตำราไวยากรณ์ตอนที่ว่าด้วยตัวอักษร การอ่าน การเขียน และการใช้ตัวอักษร. (ป.).

อักขรวิบัติ

หมายถึงน. การเขียน อ่าน หรือออกเสียงไม่ถูกต้องตามอักขรวิธี.

อักขรสมัย

หมายถึง[อักขะหฺระสะไหฺม] น. วิชาหนังสือว่าด้วยการอ่านการเขียน. (ป.).

อักขรานุกรมภูมิศาสตร์

หมายถึงน. หนังสือสำหรับค้นชื่อทางภูมิศาสตร์เรียงลำดับตามตัวอักษร. (อ. gazetteer).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ