ตัวกรองผลการค้นหา
ศุจิกรรม
หมายถึงน. การรักษาความบริสุทธิ์. (ส.; ป. สุจิกมฺม).
ประกาศผลการร่วมกิจกรรมแจกสติกเกอร์ครั้งที่ 1
วรรณกรรม
พุทธศาสนสุภาษิต หมวด กรรม
โศกนาฏกรรม
หมายถึง[โสกะนาดตะกำ, โสกกะนาดตะกำ] น. วรรณกรรมโดยเฉพาะประเภทละครที่ลงท้ายด้วยความเศร้าหรือไม่สมหวัง ตัวเอกในเรื่องจะตายในที่สุด เช่นเรื่องลิลิตพระลอ สาวเครือฟ้า โรเมโอ-จูเลียต, โดยปริยายหมายถึงเรื่องราวหรือเหตุการณ์ทั่ว ๆ ไปที่เป็นเรื่องเศร้าสลดใจ เช่น ชีวิตของเขาเป็นเหมือนโศกนาฏกรรม เกิดในตระกูลเศรษฐี แต่สุดท้ายต้องตายอย่างยาจก.
สกรรมกริยา
หมายถึง[สะกำกฺริยา, สะกำกะริยา] (ไว) น. กริยาที่มีกรรมหรือผู้ถูกกระทำมารับ เช่น ดื่มน้ำ เตะฟุตบอล.
สากรรจ์
หมายถึงคำเลือนมาจาก ฉกรรจ์.
สามีจิกรรม
หมายถึงน. การแสดงความเคารพตามธรรมเนียมของพระเณรในระหว่างผู้ใหญ่กับผู้น้อย เช่น ระหว่างพระอุปัชฌาย์กับสัทธิวิหาริก ระหว่างอาจารย์กับอันเตวาสิก หรือระหว่างผู้แก่พรรษากับผู้อ่อนพรรษากว่า. (ส.; ป. สามีจิกมฺม).
สูติกรรม
หมายถึงน. การทำคลอด.
สูทกรรม
หมายถึง[สูทะ-] น. การทำกับข้าวของกิน. (ส. สูทกรฺมนฺ).
โมฆกรรม
หมายถึง(กฎ) น. นิติกรรมที่เสียเปล่า ไม่มีผลบังคับหรือผูกพันตามกฎหมาย ไม่อาจให้สัตยาบันแก่กันได้ และผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใด จะยกความเสียเปล่าขึ้นกล่าวอ้างก็ได้, กฎหมายเขียนเป็น โมฆะกรรม.
ยัญกรรม
หมายถึงน. การเซ่นสรวงบูชาของพราหมณ์.
ลูกเวรลูกกรรม
หมายถึงน. ลูกที่ทำให้พ่อแม่ต้องเสียอกเสียใจ หรือได้รับความเดือดร้อน.
หนักหนา,หนักหนาสากรรจ์
หมายถึงว. มากยิ่ง, ยิ่งนัก, ร้ายแรง, เช่นความผิดครั้งนี้หนักหนาทีเดียว อาจจะต้องถูกไล่ออกจากงาน, นักหนา ก็ใช้.
หมดกรรม
หมายถึงก. สิ้นสุดในการที่ต้องรับทุกข์อีกต่อไป, สิ้นกรรม สิ้นกรรมสิ้นเวร สิ้นเวร หรือ สิ้นเวรสิ้นกรรม ก็ว่า; (ปาก) ตาย.