คำศัพท์ภาษาไทย 200 คำ พร้อมความหมาย

คำศัพท์ภาษาไทย 200 คำ พร้อมความหมาย

รวม 200 คำในภาษาไทยที่ใช้บ่อยในชีวิตประจำวัน

  1. กงเกวียนกำเกวียน
    หมายถึง (สํา) ใช้เป็นคําอุปมาหมายความว่า เวรสนองเวร, กรรมสนองกรรม, เช่น ทําแก่เขาอย่างไร ตนหรือลูกหลานเป็นต้นของตนก็อาจจะถูกทำในทำนองเดียวกันอย่างนั้นบ้าง เป็นกงเกวียนกําเกวียน.
  2. กระต่ายตื่นตูม
    หมายถึง (สํา) น. ใช้เปรียบเทียบคนที่แสดงอาการตื่นตกใจง่ายโดยไม่ทันสํารวจให้ถ่องแท้ก่อน.
  3. กระเหี้ยนกระหือรือ
    หมายถึง ก. แสดงความกระตือรือล้นเอาจริงเอาจังอย่างออกนอกหน้า.
  4. กระแนะกระแหน
    หมายถึง [-แหฺน] ก. พูดกระทบหรือพูดเป็นเชิงเสียดสี, กระแหนะกระแหน ก็ว่า.
  5. กลับกลอก
    หมายถึง ก. ไม่อยู่กับร่องกับรอย, พลิกแพลง, (ใช้แก่กริยาพูด) เช่น พูดจากลับกลอก, กลอกกลับ ก็ว่า.
  6. การันต์
    หมายถึง “ที่สุดอักษร”, ตัวอักษรที่ไม่ออกเสียง ซึ่งมีไม้ทัณฑฆาตกํากับไว้ เช่นตัว “ต์” ในคําว่า “การันต์” (ปาก) เรียกตัวอักษรที่มีไม้ทัณฑฆาตกำกับ เช่น ล์ ว่า ล การันต์ ค์ ว่า ค การันต์
  7. กาสร
    หมายถึง [-สอน] (แบบ) น. ควาย. (ส.).
  8. กิจกรรม
    หมายถึง น. การที่ผู้เรียนปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อการเรียนรู้; กิจการ.
  9. กิตติกรรมประกาศ
    หมายถึง น. ข้อความที่กล่าวถึงผลงานและแสดงความขอบคุณบุคคลที่เกี่ยวข้อง หรือที่ให้ความช่วยเหลือต่าง ๆ มักเขียนไว้ตอนต้นของวิทยานิพนธ์. (อ. acknowledgements).
  10. กินสี่ถ้วย
    หมายถึง ก. กินเลี้ยงในงานมงคล [สี่ถ้วย คือ ขนม ๔ อย่าง อย่างละถ้วย ได้แก่ ไข่กบ (สาคูหรือเมล็ดแมงลัก), นกปล่อย (ลอดช่อง), มะลิลอย (ข้าวตอก), อ้ายตื้อ (ข้าวเหนียว) มีนํ้ากะทิใส่ชามอยู่กลาง].
  11. กุรุส
    หมายถึง น. มาตรานับจำนวน เท่ากับ ๑๒ โหล หรือ ๑๔๔. (อ. gross).
  12. ขมีขมัน
    หมายถึง [ขะหฺมีขะหฺมัน] ว. รีบเร่งในทันทีทันใด. (ข. ขฺมี; ต. ขมัน).
  13. ขัดเขมร
    หมายถึง ก. ถกเขมร เช่น ทะเลาะกูกําหมัดขัดเขมร. (ดึกดําบรรพ์).
  14. คดในข้องอในกระดูก
    หมายถึง (สํา) ว. มีสันดานคดโกง.
  15. คติพจน์
    หมายถึง น. ถ้อยคําที่เป็นแบบอย่าง.
  16. คนดีผีคุ้ม
    หมายถึง (สํา) น. คนทําดีเทวดาย่อมคุ้มครอง, มักใช้เข้าคู่กับ คนร้ายตายขุม ว่า คนดีผีคุ้ม คนร้ายตายขุม.
  17. คร่ำครึ
    หมายถึง ว. เก่าเกินไป, ไม่ทันสมัย.
  18. คางคกขึ้นวอ
    หมายถึง (สํา) น. คนที่มีฐานะตํ่าต้อย พอได้ดิบได้ดีก็มักแสดงกิริยาอวดดีลืมตัว.
  19. คำนำ
    หมายถึง น. คําอธิบายหรือชี้แจงเหตุที่เขียนหรือพิมพ์หนังสือเรื่องนั้นขึ้น.
  20. คำประสม
    หมายถึง น. คําที่เกิดจากการนําคํามูลที่เกิดอิสระได้ตั้งแต่ ๒ คําขึ้นไปมาประสมกันแล้วกลายเป็นคําใหม่ที่มีความหมายใหม่ขึ้นมาอีกคําหนึ่ง เช่น ลูกเสือ ลูกน้ำ แขกยาม เครื่องใน ไฟฟ้า.
  21. คำพ้องรูป
    หมายถึง คำที่เขียนเหมือนกันแต่มีความหมายต่างกัน เช่น ขัน (น้ำ) กับ (ไก่) ขัน คู (ร่องน้ำ) กับ (นกเขา) คู.
  22. คำพ้องเสียง
    หมายถึง คำที่ออกเสียงเหมือนกันแต่เขียนต่างกันและมีความหมายต่างกัน เช่น ใส-ไส-ไสย กาน-กาล-การ-การณ์ (โบ) ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทยของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เรียกคำพ้องเสียงว่า ไวพจน์
  23. คำหลวง
    หมายถึง น. คําประพันธ์ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ มีโคลงฉันท์กาพย์กลอนปนกัน คือ มหาชาติคําหลวงและพระนลคําหลวง, คําประพันธ์ที่แต่งมีลักษณะอย่างมหาชาติคําหลวง คือ นันโทปนันทสูตรคําหลวง และพระมาลัยคําหลวง.
  24. คุณค่า
    หมายถึง [คุนค่า, คุนนะค่า] น. สิ่งที่มีประโยชน์หรือมีมูลค่าสูง.
  25. คุณสมบัติ
    หมายถึง [คุนนะสมบัด, คุนสมบัด] น. คุณงามความดี, คุณลักษณะประจําตัวของบุคคล เช่น คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง.
  26. จักรวาล
    หมายถึง [-วาน] น. ปริมณฑล; ประชุม, หมู่; เทือกเขาในนิยาย เป็นกําแพงล้อมรอบโลกและเป็นเขตกั้นแสงสว่างกับความมืด, บริเวณโดยรอบของโลก, ทั่วโลก. (ส.; ป. จกฺกวาล).
  27. จังหวะจะโคน
    หมายถึง (ปาก) น. จังหวะ.
  28. จาบัล
    หมายถึง [-บัน] (แบบ) ก. หวั่นไหว, กระสับกระส่าย เช่น ดาลดับรงับจิตรจาบัลย์ เทียรทิพยสุคันธ ธรศมาโสรจโทรมสกนธ์. (ดุษฎีสังเวย); กำสรด, ร้องไห้คร่ำครวญ, สะอึกสะอื้น. (ส. จาปลฺย ว่า ความหวั่นไหว).
  29. จูงจมูก
    หมายถึง ก. อาการที่จับเชือกที่สนตะพายจมูกวัวควายแล้วจูงไป, โดยปริยายใช้แก่คนว่า ถูกจูงจมูก หมายความว่า ถูกเขาชักนําไปโดยไม่ใช้ความคิดของตน.
  30. ฉีกคำ
    หมายถึง ก. แยกพยางค์ของคำให้อยู่คนละวรรคหรือคนละบรรทัด มักใช้ในคำประพันธ์.
  31. ชลนัยน์
    หมายถึง (กลอน) น. นํ้าตา.
  32. ชลาสินธุ์
    หมายถึง น. ทะเล, แม่น้ำ, เช่น ข้าเป็นไรแทรกขนสุบรรณบิน เร็วรีบยิ่งมหาวายุพัด กวักกวัดปีกข้ามชลาสินธุ์. (กากี), น้ำ เช่น พระเหลือบเล็งชลาสินธุ์ ในวารินทะเลวน ก็เห็นรูปอสุรกล ซึ่งกลายแกล้งเป็นสีดา. (พากย์นางลอย).
  33. ตรากตรำ
    หมายถึง [ตฺรากตฺรํา] ว. ทนทําอย่างไม่คิดถึงความยากลําบาก เช่น ทํางานอย่างตรากตรํา; อย่างสมบุกสมบัน, อย่างไม่ปรานีปราศรัย, เช่น ใช้อย่างตรากตรํา.
  34. ตามใจปากมากหนี้
    หมายถึง (สํา) ก. เห็นแก่กินย่อมสิ้นเปลืองมาก.
  35. ตีวัวกระทบคราด
    หมายถึง (สํา) ก. โกรธคนหนึ่งแต่ทําอะไรเขาไม่ได้ ไพล่ไปรังควานอีกคนหนึ่งที่เกี่ยวข้องและตนสามารถทําได้.
  36. ตีสองหน้า
    หมายถึง ก. ทําให้ทั้ง ๒ ฝ่ายต่างเข้าใจผิดว่าเป็นพวกตน.
  37. ถอดความ
    หมายถึง ก. แปลให้เข้าใจความได้ง่ายขึ้น.
  38. ทศกัณฐ์
    หมายถึง น. “ผู้มีสิบคอ” คือ ท้าวราพณ์ในเรื่องรามเกียรติ์.
  39. ทินกร
    หมายถึง [ทินนะกอน] น. พระอาทิตย์. (ป., ส.).
  40. ทิ้งจดหมาย
    หมายถึง ก. ส่งจดหมายทางไปรษณีย์.
  41. ทุจริต
    หมายถึง [ทุดจะหฺริด] น. ความประพฤติชั่ว, ถ้าเป็นความประพฤติชั่วทางกาย เรียกว่า กายทุจริต, ถ้าเป็นความประพฤติชั่วทางวาจา เรียกว่า วจีทุจริต, ถ้าเป็นความประพฤติชั่วทางใจ เรียกว่า มโนทุจริต. ก. โกง เช่น ทุจริตในการสอบ, คดโกง, ฉ้อโกง, เช่น ทุจริตต่อหน้าที่. ว. ไม่ซื่อตรง เช่น คนทุจริต. (ป. ทุจฺจริต).
  42. ทุรกันดาร
    หมายถึง ว. ที่ไปมาลําบากมาก, ที่ห่างไกลความเจริญ.

  43. หมายถึง พยัญชนะตัวที่ ๒๔ เป็นพวกอักษรตํ่า และใช้เป็นตัวสะกดในแม่กดในคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น สุเมธ มคธ.
  44. นฤคหิต
    หมายถึง [นะรึคะหิด] (โบ) น. ชื่อเครื่องหมายรูปดังนี้ ํ, นิคหิต หรือ หยาดนํ้าค้าง ก็เรียก. (ส. นิคฺฤหีต; ป. นิคฺคหีต). (ดู นิคหิต).
  45. นั่งเทียน
    หมายถึง น. เรียกวิธีทํานายอย่างหนึ่งโดยจุดเทียนติดไว้ที่ขอบปากบาตรเป็นต้นแล้วนั่งเพ่งดูนํ้าในบาตร แล้วทํานายไปตามลักษณะของรูปที่ปรากฏในนํ้านั้น.
  46. นาคี
    หมายถึง (กลอน) น. งู เช่น นาคีมีพิษเพี้ยง สุริโย. (โลกนิติ).
  47. นิราศ
    หมายถึง [-ราด] ก. ไปจาก, ระเหระหน, ปราศจาก. น. เรื่องราวที่พรรณนาถึงการจากกันหรือจากที่อยู่ไปในที่ต่าง ๆ เป็นต้น มักแต่งเป็นกลอนหรือโคลง เช่น นิราศนรินทร์ นิราศเมืองแกลง. (ส.).
  48. นี่แน่ะ
    หมายถึง คําบอกให้ดูหรือเตือนให้รู้, นี่ ก็ว่า.
  49. บรรณานุกรม
    หมายถึง [บันนานุกฺรม] น. บัญชีรายชื่อหนังสือที่ใช้ประกอบการค้นคว้า, บัญชีรายชื่อหนังสือในหัวข้อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ยุคใดยุคหนึ่ง หรือของผู้เขียนคนใดคนหนึ่ง มักจะมีรายละเอียดหรือบทวิจารณ์สั้น ๆ ประกอบ.
  50. บรรลัย
    หมายถึง [บันไล] ก. ฉิบหาย, วอดวาย, ย่อยยับ, มอดม้วย, ประลัย ก็ว่า.
  51. บราลี
    หมายถึง [บะรา-] น. ยอดเล็ก ๆ มีสัณฐานดุจยอดพระทราย ใช้เสียบราย ๆ ไปตามอกไก่หลังคา หรือเสียบหลังบันแถลงบนหลังคาเครื่องยอด.
  52. บริบท
    หมายถึง [บอริบด] (ไว) น. คําหรือข้อความแวดล้อมเพื่อช่วยให้เข้าใจความหมาย, ปริบท ก็ว่า.
  53. บาทบงสุ์
    หมายถึง [บาดทะ-] น. ละอองเท้า. (ป. ปาทปํสุ).
  54. บิตุรงค์
    หมายถึง (กลอน) น. พ่อ. (ป. ปิตุ + องฺค).
  55. บิตุเรศ
    หมายถึง (กลอน) น. พ่อ.
  56. บุคลากร
    หมายถึง [บุกคะลากอน] น. ตําแหน่งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล เช่นในการบรรจุแต่งตั้ง เลื่อนขั้น เลื่อนเงินเดือน เป็นต้น; ผู้ปฏิบัติงานตามหน้าที่ของแต่ละหน่วยงาน.
  57. ประดิษฐาน
    หมายถึง [ปฺระดิดสะถาน] ก. ตั้งไว้ (ใช้แก่สิ่งที่เคารพนับถือ) เช่น นําพระพุทธรูปไปประดิษฐานไว้ในโบสถ์ ประดิษฐานพระพุทธศาสนา, แต่งตั้งไว้ในตําแหน่งสูง เช่น ประดิษฐานไว้ในตําแหน่งอัครมเหสี. (ส. ปฺรติษฺาน; ป. ปติฏฺาน).
  58. ปรารภ
    หมายถึง [ปฺรารบ] ก. กล่าวถึง; ตั้งต้น; ดําริ. (ส.).
  59. ปริศนาอักษรไขว้
    หมายถึง น. ปริศนาที่จะต้องตอบโดยการเติมคําลงในตารางสี่เหลี่ยมที่กําหนดให้ช่องละ ๑ อักษร แล้วให้อ่านได้ใจความทั้งในแนวยืนและแนวนอน.
  60. ปฤษฎางค์
    หมายถึง [ปฺริดสะดาง] น. อวัยวะเบื้องหลัง, ส่วนหลัง, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระปฤษฎางค์, พระขนอง ก็ว่า.
  61. ปัจเจกบุคคล
    หมายถึง [ปัดเจกกะ-] น. บุคคลแต่ละคน.
  62. ปากปราศรัยใจเชือดคอ
    หมายถึง (สํา) ก. พูดดีแต่ใจคิดร้าย.
  63. ปากว่าตาขยิบ
    หมายถึง (สํา) ก. พูดอย่างหนึ่แต่ทําอีกอย่างหนึ่ง. ว. ปากกับใจไม่ตรงกัน.
  64. ปากไม่มีหูรูด
    หมายถึง ว. ที่พูดพล่าม พูดพล่อย หรือพูดโดยไม่ยั้งคิดเสียก่อนว่าอะไรควรพูดหรือไม่ควรพูด.
  65. ฝนตกขี้หมูไหล
    หมายถึง (สํา) ก. พลอยเหลวไหลไปด้วยกัน, มักใช้เข้าคู่กับ คนจัญไรมาพบกัน ว่า ฝนตกขี้หมูไหล คนจัญไรมาพบกัน.
  66. พจนารถ
    หมายถึง [พดจะนาด] น. เนื้อความของคําพูด. (ส.).
  67. พจมาน
    หมายถึง [พดจะมาน] น. คําพูด.
  68. พรรณนาโวหาร
    หมายถึง น. สำนวนเขียนที่กล่าวเป็นเรื่องราวอย่างละเอียดเพื่อให้ผู้อ่านนึกเห็นเป็นภาพ.
  69. พร่ำเพรื่อ
    หมายถึง ว. เกินขอบเขต, บ่อย ๆ ไม่เป็นกิจจะลักษณะ, เช่น พูดพร่ำเพรื่อ, เพรื่อ ก็ว่า.
  70. พฤกษา
    หมายถึง [พฺรึกสา] น. ต้นไม้.
  71. พลความ
    หมายถึง [พนละ-] น. ข้อความที่ไม่ใช่ส่วนสำคัญของเรื่อง, ตรงข้ามกับ ใจความ.
  72. พืชชั้นสูง
    หมายถึง น. พืชหลายเซลล์ แต่ละเซลล์ทําหน้าที่ต่างกันและต้องอาศัยซึ่งกันและกัน ได้แก่ ไม้ดอกและไม้ผล เช่น กล้วยตานี มะม่วง.
  73. พูดดีเป็นศรีแก่ปาก
    หมายถึง (สํา) น. พูดดีเป็นที่นิยมชมชอบ.
  74. พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง
    หมายถึง (สํา) ก. พูดไปไม่มีประโยชน์ นิ่งเสียดีกว่า.
  75. ฟันหนู
    หมายถึง น. ชื่อเครื่องหมาย ๒ ขีด รูปดังนี้ " สําหรับเขียนบนสระ ิให้เป็น สระ ื ,มูสิกทันต์ ก็ว่า.
  76. ภาษาคำโดด
    หมายถึง น. ภาษาแบบที่ใช้คำที่มีลักษณะโดด ๆ คือ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปไปตามหน้าที่หรือตามความสัมพันธ์ทางไวยากรณ์เกี่ยวเนื่องกับคำอื่น คำในภาษาคำโดดมักจะมีพยางค์เดียวเป็นส่วนมาก แต่ก็มีคำสองพยางค์และหลายพยางค์ด้วย เช่น ภาษาไทย ภาษาจีน ภาษาเวียดนาม. (อ. isolating language).
  77. ภาษาปาก
    หมายถึง น. ภาษาพูดที่แสดงความคุ้นเคย ไม่เหมาะที่จะใช้เป็นพิธีรีตอง เช่น ตาแป๊ะ ตะบี้ตะบัน เทน้ำเทท่า.
  78. ภาษาระดับทางการ
    หมายถึง น. ภาษาราชการ
  79. ภาษาระดับพิธีการ
    หมายถึง น. ภาษาแบบแผน.
  80. ภาษาราชการ
    หมายถึง น. ภาษาที่ใช้สื่อสารในราชการและวิชาการเป็นต้น เช่น จดหมายติดต่อราชการ รายงานการประชุมของหน่วยงาน รายงานการวิจัย รายงานวิชาการสาขาต่าง ๆ, ภาษาระดับทางการ หรือ ภาษากึ่งแบบแผน ก็เรียก; ภาษาที่รัฐบาลประกาศให้ใช้เป็นทางราชการ เช่น ประเทศไทยใช้ภาษาไทยเป็นภาษาราชการ ประเทศสิงคโปร์ใช้ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาฮินดี และภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ.
  81. ภาษาแบบแผน
    หมายถึง น. ภาษาที่ถือเป็นแบบฉบับที่จะต้องใช้เป็นแบบเดียวกันในโอกาสอย่างเดียวกัน เช่น คำกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขึ้นต้นว่า “ขอเดชะ...” และลงท้ายว่า “ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า...”, ภาษาที่ใช้เป็นทางการในโอกาสสำคัญ หรือใช้แก่บุคคลสำคัญ หรือบุคคลสำคัญเป็นผู้ใช้ เช่น คำประกาศเกียรติคุณในการประสาทปริญญาบัตรกิตติมศักดิ์ คำปราศรัยของนายกรัฐมนตรีในวันขึ้นปีใหม่, ภาษาระดับพิธีการ ก็เรียก.
  82. ภิรมย์
    หมายถึง ดู อภิรมย์.
  83. ภูมิฐาน
    หมายถึง [พูมถาน] ว. สง่าผ่าเผย, โก้หรู, เช่น แต่งตัวภูมิฐาน.
  84. มณฑา
    หมายถึง [มนทา] น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Talauma candollei Blume ในวงศ์ Magnoliaceae ใบใหญ่ ดอกสีเหลืองนวล กลิ่นหอม; มณฑารพ.
  85. มณโฑ
    หมายถึง มเหสีของทศกัณฐ์, แม่ของนาสีดา
  86. มฤค
    หมายถึง [มะรึก] น. สัตว์ป่ามีกวาง อีเก้ง เป็นต้น, ถ้าเป็นตัวเมีย ใช้ว่า มฤคี. (ส.; ป. มิค).
  87. มหัพภาค
    หมายถึง [มะหับพาก] น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ .; ภาคใหญ่.
  88. รักยาวให้บั่น รักสั้นให้ต่อ
    หมายถึง (สํา) ก. รักจะอยู่ด้วยกันนาน ๆ ให้ตัดความคิดอาฆาตพยาบาทออกไป รักจะอยู่กันสั้น ๆ ให้คิดอาฆาตพยาบาทเข้าไว้, ยาวบั่น สั้นต่อ ก็ว่า.
  89. รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง
    หมายถึง (สํา) ก. ทําไม่ดีหรือทําผิดแล้วไม่รับผิด กลับโทษผู้อื่น, รําชั่วโทษพากย์ ก็ว่า.
  90. รู้จักเก็บรู้จักงำ
    หมายถึง (สํา) ก. รู้จักเก็บรักษาข้าวของ.
  91. รู้จักเก็บรู้จักเขี่ย
    หมายถึง (สํา) ก. รู้จักสะสม, รู้จักหา.
  92. รู้แล้วรู้รอด
    หมายถึง ก. เสร็จสิ้นกันที เช่น เรื่องนี้จะว่าอย่างไรก็ว่ากัน จะได้รู้แล้วรู้รอดไปเสียที.
  93. ฤดี
    หมายถึง [รึ-] น. รติ, ความยินดี, ใจ. (ป., ส. รติ).
  94. ฤทธา
    หมายถึง [ริด-] น. อํานาจศักดิ์สิทธิ์ เช่น รุ่งเรืองฤทธาศักดาเดช. (อิเหนา). (ส.; ป. อิทฺธา).
  95. ลงอ่าง
    หมายถึง เที่ยวสถานบริการอาบ อบ นวด ซึ่งจะประกอบด้วยการ นวดคลายเส้น อาบน้ำ แช่น้ำอุ่นในอ่าง
  96. ลักหลับ
    หมายถึง ก. ลักลอบร่วมประเวณีขณะที่ผู้หญิงนอนหลับ.
  97. ลิงได้แก้ว
    หมายถึง (สำ) น. ผู้ที่ไม่รู้คุณค่าของสิ่งมีค่าที่ได้มาหรือที่มีอยู่, วานรได้แก้ว ก็ว่า.
  98. ลิ้นไม่มีกระดูก
    หมายถึง (สํา) ก. พูดสับปลับ กลับกลอกเอาแน่ไม่ได้.
  99. วงเล็บปีกกา
    หมายถึง น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ { } สำหรับใช้ควงคำหรือข้อความซึ่งอยู่คนละบรรทัดเข้าด้วยกันเพื่อให้รู้ว่าเป็นกลุ่มเดียวกันหรือเชื่อมโยงกัน อาจใช้เพียงข้างใดข้างหนึ่งก็ได้ เช่น ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์ เพื่อกั้นสมาชิกของเซตหรือกั้นกลุ่มตัวเลขหรือกลุ่มสัญลักษณ์ที่มีวงเล็บแบบอื่นอยู่แล้วไว้เป็นกลุ่มเดียวกัน เช่น A = {2, 4, 6, 8}, 2x - 5{7 - (x - 6) + 3x} - 28 = 39.
  100. วร
    หมายถึง [วะระ-, วอระ-] น. พร; ของขวัญ. ว. ยอดเยี่ยม, ประเสริฐ, เลิศ. (ป., ส.).
  101. วัวสันหลังหวะ
    หมายถึง น. คนที่มีความผิดติดตัวทําให้คอยหวาดระแวง, วัวสันหลังขาด ก็ว่า.
  102. ศฤงคาร
    หมายถึง [สิงคาน, สะหฺริงคาน] น. สิ่งให้เกิดความรัก, บริวารหญิงผู้บําเรอความรัก เช่น สาวศฤงคารคนใช้. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ส. ศฺฤงฺคาร ว่า ความใคร่).
  103. ศัพท์บัญญัติ
    หมายถึง น. คำที่ตราหรือกำหนดขึ้นไว้ให้มีความหมายเฉพาะเป็นเรื่อง ๆ ไป เช่น โทรทัศน์ ธนาคาร รัฐวิสาหกิจ.
  104. สถุล
    หมายถึง [สะถุน] ว. หยาบ, ตํ่าช้า, เลวทราม, (ใช้เป็นคำด่า), เช่น เลวสถุล, มักใช้เข้าคู่กับคำ ไพร่ เป็น ไพร่สถุล. (ส. สฺถูล ว่า อ้วน, หยาบ; ป. ถูล).
  105. สนอม
    หมายถึง [สะหฺนอม] ก. ถนอม.
  106. สมุหนาม
    หมายถึง (ไว) น. คํานามที่บอกลักษณะของคน สัตว์ และสิ่งของที่รวมกันอยู่เป็นหมวด เป็นหมู่ เป็นพวก เช่น กอง หมู่ คณะ ฝูง พวก.
  107. สมเพช
    หมายถึง [-เพด] ก. สงสารสลดใจ, ควรได้รับความกรุณา, เช่น เห็นคนอนาถาแล้วอดสมเพชไม่ได้, มักใช้เข้าคู่กับคำ เวทนา เป็น สมเพชเวทนา. (ป., ส. สํเวชน ว่า สยดสยอง, สังเวช).
  108. สรวล
    หมายถึง [สวน] ก. หัวเราะ, ราชาศัพท์ใช้ว่า ทรงพระสรวล.
  109. สวยแต่รูป จูบไม่หอม
    หมายถึง (สํา) ว. มีรูปร่างงาม แต่มีความประพฤติ ท่าทีวาจา และกิริยามารยาทไม่ดี.
  110. สวรรค์ในอก นรกในใจ
    หมายถึง (สํา) น. ความสุขที่เกิดจากการทำความดี หรือความทุกข์ที่เกิดจากการทำความชั่ว ย่อมอยู่ในใจของผู้ทำเอง.
  111. สัญประกาศ
    หมายถึง [สันยะปฺระกาด] น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ - ใช้ขีดไว้ใต้คําหรือข้อความที่สําคัญ เพื่อเน้นให้ผู้อ่านสังเกตเป็นพิเศษ, ขีดเส้นใต้ ก็เรียก.
  112. สัมปรายภพ
    หมายถึง [-ปะรายะ-, -ปะราย-] น. ภพหน้า. (ป., ส.).
  113. สัมผัสสระ
    หมายถึง น. สัมผัสที่มีเสียงสระหรือเสียงสระกับตัวสะกดในมาตราเดียวกัน เช่น . (เพลงยาวถวายโอวาท), . (นิ. วัดสิงห์).
  114. สาวแก่
    หมายถึง น. หญิงที่มีอายุเลยวัยสาว แต่ยังไม่ได้แต่งงาน.
  115. สำรวจ
    หมายถึง [สำหฺรวด] ก. ตรวจสอบ เช่น สํารวจสํามะโนครัว สำรวจพฤติกรรม, ตรวจหา เช่น สํารวจแหล่งแร่.
  116. สิงขร
    หมายถึง [-ขอน] น. สิขร
  117. สิทธัตถะ
    หมายถึง ผู้ที่สำเร็จความมุ่งหมายแล้ว
  118. สิทธิชัย
    หมายถึง น. ผู้มีความรู้ขลังในเวทมนตร์; ใช้เรียกหัวหน้าพราหมณ์พฤฒิบาศ.
  119. สินธุ์
    หมายถึง (กลอน) น. ลำน้ำ, แม่น้ำ, สายน้ำ, น้ำ, ทะเล, มหาสมุทร, เช่น เหาะข้ามสินธุ์ไปยังขุนยุคุนธร. (สมบัติอัมรินทร์), ใช้ว่า สินธุ หรือ สินธู ก็มี.
  120. สินธู
    หมายถึง (กลอน) น. ลำน้ำ, แม่น้ำ, สายน้ำ, น้ำ, ทะเล, มหาสมุทร, เช่น มังกรเกี่ยวเลี้ยวล่องท้องสินธู เป็นคู่คู่เคียงมาในวารี. (อภัย), ใช้ว่า สินธุ หรือ สินธุ์ ก็มี.
  121. สีซอให้ควายฟัง
    หมายถึง (สํา) ก. สั่งสอนแนะนำคนโง่มักไม่ได้ผล เสียเวลาเปล่า.
  122. สุนทรพจน์
    หมายถึง [สุนทอนระ-, สุนทอระ-] น. คําพูดที่ประธานหรือบุคคลสําคัญเป็นต้นกล่าวในพิธีการหรือในโอกาสสําคัญต่าง ๆ เช่น นายกรัฐมนตรีกล่าวสุนทรพจน์ในที่ประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ.
  123. สูจิบัตร
    หมายถึง น. ใบแจ้งกำหนดการต่าง ๆ ในการประชุม การแสดงมหรสพเป็นต้น เช่น สูจิบัตรการแสดงวิพิธทัศนา.
  124. หนูตกถังข้าวสาร
    หมายถึง (สํา) น. ผู้ชายที่มีฐานะไม่ค่อยดีได้แต่งงานกับผู้หญิงที่รุ่มรวย, ตกถังข้าวสาร ก็ว่า.
  125. หน้ากล้อ
    หมายถึง น. หน้ากลม เช่น เขาเป็นคนผมหยิก หน้ากล้อ คอสั้น ฟันขาว.
  126. หน้าซื่อใจคด
    หมายถึง (สํา) ว. มีสีหน้าดูซื่อ ๆ แต่มีนิสัยคดโกง.
  127. หน้าตัวเมีย
    หมายถึง น. ลักษณะหน้าตาท่าทางคล้ายผู้หญิง, โดยปริยายหมายความว่า ใจเสาะ, ขี้ขลาด, ไม่กล้าสู้, (มักพูดเป็นเชิงเหยียดหยามผู้ชาย).
  128. หน้าไหว้หลังหลอก
    หมายถึง (สำ) ว. ต่อหน้าทำเป็นดี แต่พอลับหลังก็นินทาหรือหาทางทำร้าย, ต่อหน้ามะพลับ ลับหลังตะโก ก็ว่า.
  129. หมากัดอย่ากัดตอบ
    หมายถึง (สำ) ก. อย่าลดตัวลงไปต่อสู้หรือต่อปากต่อคำกับคนพาลหรือคนที่มีศักดิ์ต่ำกว่า.
  130. หยาดน้ำค้าง
    หมายถึง น. ชื่อเครื่องหมายรูปดังนี้ ํ, นิคหิต หรือ นฤคหิต ก็เรียก. (ดู นิคหิต); ส่วนที่มีลักษณะกลม ๆ คล้ายเม็ดน้ำค้างอยู่ตรงปลายยอดเจดีย์ ยอดปราสาท เป็นต้น, เม็ดน้ำค้าง ก็เรียก.
  131. หลงจู๊
    หมายถึง น. ผู้จัดการ. (จ.).
  132. หัวล้านได้หวี
    หมายถึง (สำ) น. ผู้ที่ได้สิ่งซึ่งไม่เป็นประโยชน์แก่ตน มักพูดเข้าคู่กับ ตาบอดได้แว่น เป็น หัวล้านได้หวี ตาบอดได้แว่น.
  133. หัวหน่าว
    หมายถึง น. ส่วนของร่างกายอยู่ระหว่างท้องน้อยกับอวัยวะสืบพันธุ์.
  134. หึ
    หมายถึง ว. เสียงดังเช่นนั้น.
  135. อนธการ
    หมายถึง น. ความมืด, ความมัว, ความมืดมน; เวลาคํ่า; ความเขลา; อันธการ ก็ว่า. (ป.).
  136. อภินันทนาการ
    หมายถึง น. ความยินดียิ่ง เช่น ด้วยอภินันทนาการ หมายถึง ให้ด้วยความยินดียิ่ง. (ป. อภินนฺทน + อาการ).
  137. อร
    หมายถึง [ออน, ออระ] (กลอน) น. ผู้หญิง, หญิงงาม, เช่น โอบองค์ผอูนอวล ออกโอษฐ์ อรเอย. (นิ. นรินทร์). ว. สวย, งาม, เช่น พระองค์กลมกล้องแกล้ง เอวอ่อนอรอรรแถ้ง ถ้วนแห่งเจ้ากูงาม บารนี ฯ. (ลอ).
  138. อักษรกลาง
    หมายถึง [อักสอน-] น. พยัญชนะที่คําเป็นมีพื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ ผันได้ครบ ๔ รูป ๕ เสียง มีรูปวรรณยุกต์กับเสียงวรรณยุกต์ตรงกัน เช่น กา ก่า ก้า ก๊า ก๋า คําตายมีพื้นเสียงเป็นเสียงเอก ผันได้ ๔ เสียง มี ๓ รูป คือ พื้นเสียงเป็นเสียงเอก ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงโท ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงตรี ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงจัตวา เช่น จะ จ้ะ จ๊ะ จ๋ะ มี ๙ ตัว คือ ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ.
  139. อัชฌาสัย
    หมายถึง [-ไส] น. กิริยาดี; นิสัยใจคอ, ความรู้จักผ่อนปรน; ใช้ว่า อัชฌา ก็มี, (โบ) อัชฌาศัย. (ป.; ส. อธฺยาศย).
  140. อัญประกาศ
    หมายถึง [อันยะ-] น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ “ ” สําหรับเขียนคร่อมคําหรือข้อความ เพื่อแสดงว่าข้อความนั้นเป็นคําพูด หรือเพื่อเน้นความนั้นให้เด่นชัดขึ้นเป็นต้น.
  141. อัญประกาศเดี่ยว
    หมายถึง น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ ‘ ’ สําหรับเขียนคร่อมคําหรือข้อความที่ซ้อนอยู่ภายในข้อความที่มีเครื่องหมายอัญประกาศอยู่แล้ว.
  142. อัธยาศัย
    หมายถึง [อัดทะยาไส] น. นิสัยใจคอ เช่น เขาเป็นคนมีอัธยาศัยดี; ความพอใจ, ความประสงค์, เช่น ไปพักผ่อนได้ตามอัธยาศัย. (ส. อธฺยาศย; ป. อชฺฌาสย).
  143. อัพภาส
    หมายถึง [อับพาด] น. คําซํ้า, ในไวยากรณ์บาลีและสันสกฤต หมายเอา การซ้อนหรือซํ้าอักษรลงหน้าศัพท์ เช่น ชวาล (เรือง) เป็น ชัชวาล (รุ่งเรือง), ในภาษาไทยก็ใช้ เช่น ครื้น ครึก ยิ้ม แย้ม ใช้ อัพภาส เป็น คะครื้น คะครึก ยะยิ้ม ยะแย้ม. (ป.; ส. อภฺยาส).
  144. อาการนาม
    หมายถึง [อาการะนาม] (ไว) น. คํานามที่บอกกิริยาอาการหรือความปรากฏเป็นต่าง ๆ ของคน สัตว์ และสิ่งของ ซึ่งมาจากคํากริยาหรือคําวิเศษณ์ที่มักมีคํา “การ” หรือ “ความ” นําหน้า เช่น การยืน การเดิน การอยู่ ความรัก ความดี ความสวย.
  145. อาสัญ
    หมายถึง (แบบ) น. ความตาย. (วรรณ) ก. ตาย เช่น โทษลูกนี้ผิดเป็นนักหนา ดังแกล้งผลาญมารดาให้อาสัญ. (สังข์ทอง). (ป. อสญฺ ว่า ไม่มีสัญญา).
  146. อุปมาโวหาร
    หมายถึง น. สํานวนเขียนที่กล่าวถึงเรื่องราวโดยยกสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมาเปรียบเทียบประกอบ.
  147. เก็บหอมรอมริบ
    หมายถึง ก. เก็บรวบรวมไว้ทีละเล็กละน้อย.
  148. เขมา
    หมายถึง [ขะเหฺมา] น. โกฐเขมา. (ดู โกฐเขมา). (ข. เขฺมา ว่า ดํา).
  149. เข็นครกขึ้นเขา
    หมายถึง (สํา) ก. ทํางานที่ยากลำบากอย่างยิ่งโดยต้องใช้ความเพียรพยายามและอดทนอย่างมาก หรือบางทีก็เกินกำลังความสามารถหรือสติปัญญาของตน.
  150. เข้าลิลิต
    หมายถึง ก. สัมผัสคำระหว่างบทตามแบบการแต่งลิลิตที่กำหนดไว้ในตำราฉันทลักษณ์ เช่นคำ “สม” กับ “สนม” ในตัวอย่างต่อไปนี้ จำใจจรจากสร้อย อยู่แม่อย่าละห้อย ห่อนช้าคืนสม แม่แลฯ สาวสนมสนองนารถไท้ ทูลสาร พระจักจรจากสถาน ถิ่นเท้า เสด็จแดนทุระกันดาร ใดราช เสมอนา ฤๅพระรานเสน่ห์ร้าว ด่วนร้างแรมไฉนฯ (ตะเลงพ่าย).; เรียกคำที่เติม เอศ ข้างท้ายเพื่อทำคำสุภาพให้เป็นคำเอกตามข้อบังคับโคลงว่า ศ เข้าลิลิต."
  151. เข้าเมืองตาหลิ่วต้องหลิ่วตาตาม
    หมายถึง (สํา) ก. ประพฤติตนตามที่คนส่วนใหญ่ประพฤติกัน.
  152. เค้ง
    หมายถึง (ปาก) ก. เป็นคําบอกเด็กให้นอน เช่น เค้งเสีย, เคล้ง ก็ว่า.
  153. เงี่ยน
    หมายถึง ก. อยากจัด, กระหายจัด, มีความรู้สึกอยากหรือกระหายเป็นกําลัง, (โดยมากใช้เฉพาะของเสพติดและกามคุณ).
  154. เซ็งแซ่
    หมายถึง ดังอื้ออึงแซ่ไปหมด
  155. เฌอเอม
    หมายถึง ชะเอม ก็ว่า
  156. เทศนาโวหาร
    หมายถึง น. สำนวนเขียนที่เป็นไปในลักษณะการเทศนาของพระ.
  157. เทอญ
    หมายถึง [เทิน] ว. เถิด (ใช้เป็นคําลงท้ายข้อความที่แสดงความมุ่งหมายให้เป็นดังนั้นดังนี้, มักใช้ในการให้ศีลให้พร).
  158. เปรมปรีดิ์
    หมายถึง [-ปฺรี] ว. อิ่มอกอิ่มใจ, ปลาบปลื้มใจ.
  159. เพลา
    หมายถึง [เพ-ลา] น. กาล, คราว. (ป. เวลา).
  160. เมฆา
    หมายถึง (กลอน) น. เมฆ.
  161. เมรุมาศ
    หมายถึง [เมรุมาด] น. เมรุทอง, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระเมรุมาศ.
  162. เยาวมาลย์
    หมายถึง น. หญิงสาวสวย.
  163. เย็ด
    หมายถึง (ปาก) ก. ร่วมประเวณี.
  164. เรี่ยมเร้
    หมายถึง (ปาก) ว. เรี่ยมมาก.
  165. เลิ่กลั่ก
    หมายถึง ว. แสดงอาการทําหน้าตาตื่นเพราะอัศจรรย์ใจ แปลกใจ หรือตกใจ เป็นต้น.
  166. เลี้ยงเสียข้าวสุก
    หมายถึง ก. เลี้ยงแล้วไม่ได้ประโยชน์อะไร.
  167. เลี้ยงไม่เชื่อง
    หมายถึง ก. อาการของสัตว์บางชนิดเช่นนกกระจอกแม้จะเอามาเลี้ยงอย่างไร ๆ ก็ไม่เชื่อง, โดยปริยายหมายความว่า เนรคุณ.
  168. เวี่ย
    หมายถึง (กลอน) ก. คล้อง, ทัดไว้, เวี่ยว ก็ว่า.
  169. เสนี
    หมายถึง (กลอน) น. เสนา.
  170. เสมอต้นเสมอปลาย
    หมายถึง ว. สมํ่าเสมอ, คงเส้นคงวา, ไม่เปลี่ยนแปลง, มักใช้ในทางดี เช่น แม้เขาจะมีอำนาจวาสนา เขาก็ยังไปเยี่ยมเยียนครูบาอาจารย์เสมอต้นเสมอปลาย.
  171. เสมา
    หมายถึง [เส-มา] น. สีมา, เครื่องหมายบอกเขตโบสถ์; เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายใบสีมาที่เรียงกันอยู่บนกําแพงอย่างกําแพงเมืองว่า ใบเสมา; เครื่องประดับหรือเครื่องรางสําหรับห้อยคอ มีรูปร่างอย่างใบเสมา. (ป., ส. สีมา).
  172. เสล
    หมายถึง [-ละ-] น. ภูเขา, หิน. ว. เต็มไปด้วยหิน. (ป.; ส. ไศล).
  173. เสสรวล
    หมายถึง [-สวน] ก. หัวเราะร่าเริง, หัวเราะอย่างสนุกสนานครึกครื้น, สรวลเสหรือ สรวลเสเฮฮา ก็ว่า.
  174. เสียงกระเส่า
    หมายถึง น. เสียงสั่นเครือและเบา.
  175. เสียงนกเสียงกา
    หมายถึง (สำ) น. ความเห็นของคนที่ไม่มีอำนาจ เช่น เป็นผู้หลักผู้ใหญ่ น่าจะฟังเสียงนกเสียงกาบ้าง.
  176. เสือก
    หมายถึง ก. ไสไป, ผลักไป; สาระแน, (เป็นคำไม่สุภาพ).
  177. เสเพล
    หมายถึง [-เพฺล] ว. ชอบประพฤติเหลวไหล, ไม่เอางานเอาการ, เช่น คนเสเพล, มีความประพฤติเหลวแหลก ในคำว่า หญิงเสเพล.
  178. เหน็บแนม
    หมายถึง ว. อาการที่พูดเสียดสีแคะไค้กระทบกระเทียบเปรียบเปรย.
  179. เหล้าแห้ง
    หมายถึง (ปาก) น. ยาเสพติดชนิดหนึ่งประเภทกดประสาทสมอง เป็นยานอนหลับจําพวกบาร์บิทูเรต ซึ่งผลิตออกมาในรูปของโซเดียมเซโคบาร์บิทาล และเรียกกันสั้น ๆ ว่า เซโคนัล ทางแพทย์ใช้เป็นยานอนหลับประเภทออกฤทธิ์ระยะสั้น.
  180. เห็นช้างขี้ ขี้ตามช้าง
    หมายถึง (สํา) ก. ทําเลียนแบบคนใหญ่คนโตหรือคนมั่งมีทั้ง ๆ ที่ตนไม่มีกําลังทรัพย์หรือความสามารถพอ, มีความหมายอย่างเดียวกับ เห็นเขาขึ้นคานหาม เอามือประสานก้น หรือเห็นเขาขึ้นคานหาม เอามือประสานรัดก้น.
  181. เห็นผิดเป็นชอบ
    หมายถึง ก. เห็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง, เห็นกงจักรเป็นดอกบัว ก็ว่า.
  182. เอาทองไปรู่กระเบื้อง
    หมายถึง (สํา) ก. โต้ตอบหรือทะเลาะกับคนพาลหรือคนที่มีฐานะตํ่ากว่า เป็นการไม่สมควร, เอาพิมเสนไปแลกกับเกลือ ก็ว่า.
  183. แกงได
    หมายถึง น. รอยกากบาทหรือรอยขีดเขียน ซึ่งบุคคลทําไว้เป็นสําคัญ, ในทางกฎหมาย ถ้าทําลงในเอกสารโดยมีพยานลงลายมือชื่อรับรอง ๒ คน หรือทําต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่ถือเสมอกับลงลายมือชื่อ.
  184. แข่งเรือแข่งแพแข่งได้ แข่งบุญแข่งวาสนาแข่งไม่ได้
    หมายถึง (สำ) ก. รู้ประมาณความสามารถของตนไม่อาจเอื้อมเกินตัว.
  185. แดนไตร
    หมายถึง น. โลกทั้ง ๓ ได้แก่ กามภพ คือภพของเทวดาลงมา, รูปภพ คือภพของพรหมที่มีรูป, อรูปภพ คือภพของพรหมที่ไม่มีรูป; หรือ สวรรค์ มนุษยโลก และบาดาล.
  186. แตด
    หมายถึง น. ส่วนแห่งอวัยวะเพศของหญิง อยู่ระหว่างแคมในตอนบน, เม็ดละมุด ก็ว่า.
  187. แปรพระราชฐาน
    หมายถึง [-พฺระราดชะถาน] (ราชา) ก. เปลี่ยนสถานที่ประทับไปอยู่ที่อื่นเป็นการชั่วคราว.
  188. แรงหนีศูนย์กลาง
    หมายถึง (ฟิสิกส์) น. แรงที่กระทําต่อเทหวัตถุในขณะที่เทหวัตถุนั้นเคลื่อนที่เป็นทางวงกลม แรงนี้มีแนวทิศออกจากจุดศูนย์กลางของทางวงกลมนั้น และมีขนาดเท่ากับแรงสู่ศูนย์กลาง. (อ. centrifugal force).
  189. แสล้ม
    หมายถึง [สะแล่ม] ว. สวย, งดงาม, แช่มช้อย, แฉล้ม หรือ แชล่ม ก็ใช้.
  190. โกฏิ
    หมายถึง [โกด] น. ชื่อมาตรานับ เท่ากับ ๑๐ ล้าน.
  191. โกหก
    หมายถึง ก. จงใจกล่าวคําที่ไม่จริง, พูดปด, พูดเท็จ, (มักใช้ในที่ไม่สุภาพ). (ป., ส. กุหก).
  192. โขยกเขยก
    หมายถึง อาการเดินไม่ปรกติ คือ ยกขาข้างหนึ่งไม่ได้ระดับกับอีกข้างหนึ่งอย่างคนขาพิการเดิน อาการที่เดินไปด้วยความลําบากหรือเคลื่อนไปบนพื้นที่ที่ขรุขระ ลุ่ม ๆ ดอน ๆ กะโผลกกะเผลก ก็ว่า
  193. โตมร
    หมายถึง [-มอน] น. อาวุธสําหรับซัด, หอกซัด, สามง่ามที่มีปลอกรูปเป็นใบโพสวมอยู่. (ป., ส.).
  194. โศกเศร้า
    หมายถึง ว. มีความทุกข์โศกเสียใจอาลัยอาวรณ์มาก เช่น พ่อตายทำให้เขาโศกเศร้าเสียใจมาก, เศร้าโศก ก็ว่า.
  195. โอดครวญ
    หมายถึง ก. รํ่าไห้, ครํ่าครวญ; รํ่ารําพัน.
  196. ไซร้
    หมายถึง [ไซ้] ว. คําสําหรับเน้นความหมายของคําหน้า มีความหมายไปในทางว่า อย่างนั้น, เช่นนั้น, ทีเดียว.
  197. ได้คืบจะเอาศอก
    หมายถึง (สำ) ต้องการได้มากกว่าที่ได้มาแล้ว.
  198. ไพรสณฑ์
    หมายถึง น. แนวป่า.
  199. ไม้จัตวา
    หมายถึง น. เครื่องหมายวรรณยุกต์ รูปดังนี้ ๋ บอกเสียงสูงสุดใน ๕ เสียง.
  200. ไอยรา
    หมายถึง [-ยะ-] (กลอน) น. ช้าง.

คิดว่าน่าจะเต็มอิ่มกับคำในภาษาไทยทั้ง 200 คำกันไปแล้วเนอะ หวังว่าน่าจะพอมีประโยชน์ให้นำไปใช้ต่อในชีวิตประจำวันกัน

หากยังไม่เจอคำไหน หรือคิดว่ามีตกหล่นไป สามารถแจ้งแนะนำกันเข้ามาได้เลย


รายการคำในภาษาไทยยอดนิยมอื่น ๆ

 แสดงความคิดเห็น