กษมา หมายถึง [กะสะ-] (แบบ) น. ความอดกลั้น, ความอดโทษ, เช่น พระกษมาเสมอหล้า สี่แดน. (ยวนพ่าย).
ก. กล่าวคําขอโทษ, โดยมากใช้ว่า ษมา. (ส. กฺษมา; ป. ขมา).
ด้าว หมายถึง น. แดน, ประเทศ, เช่น คนต่างด้าว; ด้าน เช่น ด้าวท้าย ว่า ด้านท้าย.
ธรณิน หมายถึง [ทอระ-] (กลอน) น. ธรณี, แผ่นดิน, เช่น กึกก้องสะเทือนธรณิน. (ลอ).
ธรณี หมายถึง [ทอระนี] น. แผ่นดิน เช่น ธรณีสูบ, พื้นแผ่นดิน เช่น ธรณีวิทยา, โลก เช่น นางในธรณีไม่มีเหมือน. (ป., ส.).
ธรา หมายถึง [ทะรา] (แบบ) น. แผ่นดิน. (ป., ส.).
ธราดล หมายถึง น. พื้นแผ่นดิน. (ป.).
ธาตรี หมายถึง [ทาตฺรี] (แบบ) น. แผ่นดิน, โลก, ในบทกลอนใช้ว่า ธาษตรี ก็มี. (ส.).
ธาษตรี หมายถึง [ทาดตฺรี] (กลอน) น. แผ่นดิน, โลก. (ส. ธาตฺรี).
ปฐพี หมายถึง [ปะถะ-, ปัดถะ-] น. แผ่นดิน. (ป. ปวี).
ปฐวี หมายถึง [ปะถะวี] (แบบ) น. แผ่นดิน. (ป.).
พสุธา หมายถึง น. “ผู้ทรงไว้ซึ่งทรัพย์” คือ แผ่นดิน. (ป., ส. วสุธา).
พสุธาดล หมายถึง น. พื้นแผ่นดิน. (ป., ส. วสุธาตล).
พสุมดี หมายถึง [พะสุมะดี] น. แผ่นดิน. (ส.).
พิภพ หมายถึง น. โลก เช่น ในพื้นพิภพ นอกพิภพ, ที่อยู่ของนาคในชั้นบาดาล เรียกว่า นาคพิภพ; ทรัพย์สมบัติ เช่น ผ่านพิภพ คือ ครองสมบัติ. (ดู วิภว-).
ภพ หมายถึง [พบ] น. โลก, แผ่นดิน; วัฏสงสาร. (ป. ภว).
ภูมิ หมายถึง [พูม] น. พื้น, ชั้น, พื้นเพ; ความรู้ เช่น อวดภูมิ อมภูมิ.
ภูวดล หมายถึง น. พื้นแผ่นดิน. (ป.).
มหิ หมายถึง (แบบ) น. แผ่นดิน. (ป., ส.).
หล้า หมายถึง น. โลก, แผ่นดิน.
โลกธาตุ หมายถึง [โลกกะ-] น. แผ่นดิน. (ป., ส.).