คำไวพจน์ มาก
มาก = มากมาย / ไกร / ใหญ่ / หลาย / พหู / มหันต์ / โต / หนาตา / กรด / ดา / หนา / คลาคล่ำ / ครามครัน / พหุ / ภูริ / บารนี / หลาก / โอฬาร / ขู / ภฤศ / เกลื่อนกล่น / ปัง / คับคั่ง / กระชอม / อธิก / พันลาย / พอแรง / จัด / ชุกชุม / อักโข / ชะมัด / อำพน / เป็นกอง / เอาเรื่อง / พหล / อเนก / พันเหา / วิบูล / มหัต / ภุส / พรรเหา / มลาก / เกรียง / ดีพร / มิดหมี / มูน / โข / พหุล / แครครั่ง / เกลี่อน / เจี๊ยบ / อธึก / วิบุล / บเอ / เตอะ / ปือ / เมือบ / โหวงเหวง / เหวง / แปร๊ด
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับมาก
ความหมายในพจนานุกรมไทย มาก คือ
ความหมายในพจนานุกรมไทย ของคำที่มีความหมายคล้าย มาก
กรด หมายถึง [กฺรด] น. สารอย่างหนึ่ง มีรสเปรี้ยว โดยปรกติกัดหรือทําให้สิ่งอื่นแปรไป; (เคมี) มีความหมายหลายอย่าง สุดแล้วแต่ทฤษฎีที่ใช้เป็นหลักกําหนด คือ เป็นสารเคมีที่ประกอบด้วยธาตุไฮโดรเจน และเมื่อสารนี้ละลายนํ้าเป็นสารละลายแล้ว ไฮโดรเจนที่มีอยู่ทั้งหมดหรือบางส่วนต้องแปรสภาพออกมาเป็นไฮโดรเนียมไอออน (H3O+) สารละลายที่ได้มีรสเปรี้ยวเปลี่ยนสีลิตมัสสีนํ้าเงินเป็นสีแดงได้; สารเคมีที่มีสมบัติจ่ายโปรตอนให้แก่สารอื่นได้; สารเคมีที่มีสมบัติรับอิเล็กตรอนคู่หนึ่งมาจากสารอื่นได้. (อ. acid).
กระชอม หมายถึง (โบ) ว. มาก, ใหญ่, เช่น ผักกาดกองกระชอมก็มี. (ม. คําหลวง มหาพน).
ขู หมายถึง (กลอน) ว. มาก. (เลือนมาจาก โข).
ครามครัน หมายถึง [คฺรามคฺรัน] ว. มาก, หลาย, นัก.
คลาคล่ำ หมายถึง ก. ไปหรือมาเป็นจำนวนมาก เช่น ฝูงชนคลาคล่ำเต็มท้องถนน.
คับคั่ง หมายถึง ก. อัดแอ, ยัดเยียด, เบียดเสียดกัน.
จัด หมายถึง ว. ยิ่ง, เต็มที่, เกินปรกติมาก, มากหรือหนักไปในทางใดทางหนึ่ง, เช่น ระเบียบจัด ธรรมเนียมจัด หิวจัด ร้อนจัด หนาวจัด แดดจัด; แก่เต็มที่ เช่น ผลไม้แก่จัด. (ข. จาส่).
ชะมัด หมายถึง ว. มาก, ยิ่ง, เช่น เก่งชะมัด, ชะมัดยาด ก็ว่า.
ชุกชุม หมายถึง ว. มีดื่นดาษ.
ดา หมายถึง น. ชื่อแมลงพวกมวน มีหลายสกุล, ชนิดที่ตัวกว้าง รูปไข่ แบน เมื่อพับปีก ปีกจะแนบไปกับสันหลัง ความยาวจากหัวถึงปลายปีก ๖.๒-๘.๒ เซนติเมตร ส่วนท้องกว้าง ๒.๖-๒.๘ เซนติเมตร สีนํ้าตาลแก่หรือนํ้าตาลอมเขียว ด้านหลังของส่วนอกตอนต้นมีลายเป็นแถบ ๕ แถบ คือ แมลงดา หรือ แมลงดานา (Lethocerus indicus) ใช้ตํากับนํ้าพริก กินได้; อีกสกุลหนึ่ง คือ แมลงดาสวน หรือ แมลงสีเสียด (Sphaerodema rusticum และ S. molestum) รูปร่างคล้ายแมลงดานามาก แต่เล็กกว่า ขนาดยาว ๑.๓-๑.๗ เซนติเมตร กว้าง ๐.๙ เซนติเมตร นํามาคั่วกับเกลือ กินได้; และยังมีสกุล Laccotrephes ได้แก่ชนิด L. ruber และ L. robustus ซึ่งมีลําตัวยาว ๓-๔.๔ เซนติเมตร กว้าง ๑-๑.๓ เซนติเมตร สีนํ้าตาลอมแดง มีหางยาว ๒ อัน ยาว ๑.๒-๑.๓ เซนติเมตร, สกุลนี้ แมลงดาโป้งเป้ง ดากลั้นเยี่ยว หรือ ดาเยี่ยว ก็เรียก.
ดีพร หมายถึง [ดีบ] (แบบ) ว. กล้า, แข็ง, มาก, เช่น ม่ายเดือดดีพรในโลกย. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ส. ตีวฺร; ป. ติพฺพ).
บารนี หมายถึง [-ระนี] ว. ดั่งนี้, ยิ่ง, นัก, มาก.
บเอ หมายถึง (โบ) ว. มิใช่เอก, มิใช่หนึ่ง, มาก.
ปัง หมายถึง น. อาหารชนิดหนึ่งทําด้วยแป้งผสมเชื้อ เรียกว่า ขนมปัง. (โปรตุเกส pâo, เทียบฝรั่งเศส ว่า pain).
ปือ หมายถึง ว. เต็ม, มาก.
พรรเหา หมายถึง [พัน-] ว. มาก, ยิ่ง, พันเหา ก็ใช้ เช่น คือ เทพเพียงพันเหา. (สมุทรโฆษ).
พหล หมายถึง [พะหน] ว. มาก, ใหญ่, หนา, ทึบ. น. กองทัพใหญ่. (ป., ส.).
พหุ หมายถึง ว. มาก, เขียนเป็น พหู ก็มี. (ป., ส.).
พหุล หมายถึง [พะหุน] ว. หนา, มาก. (ป., ส.).
พหู หมายถึง ว. พหุ.
พอแรง หมายถึง ว. เต็มแรง, มาก, เช่น ถูกด่าเสียพอแรง ว่าเสียพอแรง.
พันลาย หมายถึง ว. ต่าง ๆ, มาก, หลาย.
ภฤศ หมายถึง [พฺรึด] ว. มาก, กล้า, จัด. (ส. ภฺฤศมฺ; ป. ภุส).
ภุส หมายถึง [พุด] น. ข้าวลีบ, แกลบ. (ป.; ส. พุส). ว. กล้า, ยิ่ง, มาก. (ส. ภฺฤศ).
ภูริ หมายถึง ว. มาก. (ป., ส.).
มลาก หมายถึง [มะลาก] ก. ลาก. ว. มาก, ดี.
มหัต หมายถึง ว. มหันต์, ใหญ่, มาก. (ส. มหตฺ; ป. มหนฺต).
มิดหมี หมายถึง ว. มาก, สนิท, ใช้ประกอบหลังคํา ดํา เป็น ดํามิดหมี.
มูน หมายถึง น. เนิน, โคก, จอม, เช่น มูนดิน. ก. พอกพูน, พูนขึ้น, มักใช้ว่า เกิดมูนพูนผล. ว. มาก, มักใช้เข้าคู่กันเป็น มากมูน.
หนา หมายถึง น. ส่วนสูงมากจากผิวพื้น. ว. มีส่วนสูงมากจากผิวพื้น; แน่นทึบ, มาก, ตรงข้ามกับ บาง.
หนาตา หมายถึง ว. ที่เห็นว่ามีมาก, มาก (ใช้แก่การเห็น), เช่น วันนี้มีคนมาชมมหรสพหนาตากว่าวันก่อน, บางทีก็ใช้ว่า หนาหูหนาตา โดยมี หนาหู เป็นคำสร้อย เช่น ละครเรื่องนี้มีคนไปดูหนาหูหนาตากว่าปรกติ.
หลาก หมายถึง ว. ต่าง ๆ เช่น หลากสี, แปลก, ประหลาด, เช่น หลากใจ. ก. ไหลมากผิดปรกติโดยกะทันหัน เช่น นํ้าหลาก.
หลาย หมายถึง ว. มาก, บางทีใช้คู่กับคำ มาก เป็น มากหลาย.
อธึก หมายถึง ว. อธิก, ยิ่ง, เกิน, มาก, เพิ่ม, เลิศ.
อักโข หมายถึง ว. มาก, หลาย. (ตัดมาจาก อักโขภิณี).
อำพน หมายถึง [-พน] ว. มาก, ดาษดื่น, ล้วน, เช่น อำพนไปด้วยแก้วมณี; น่าดู, งาม, งามสล้าง, เช่น ปราสาทอำพน, (โบ) ใช้ว่า อำพล ก็มี เช่น ปราการ สะพาน ถนน อำพลด้วย (ไม้ไหล) ทั้งหลายคำนับ. (จารึกสยาม).
เกรียง หมายถึง [เกฺรียง] น. เครื่องมือสําหรับใช้ในการถือปูน ทําด้วยไม้หรือเหล็กเป็นรูปแบน ๆ.
เกลื่อนกล่น หมายถึง ว. เกลื่อน.
เจี๊ยบ หมายถึง ว. จัด, มาก, ยิ่งนัก, เช่น เย็นเจี๊ยบ.
เตอะ หมายถึง ว. มาก, ใช้ประกอบกับคํา หนา เป็น หนาเตอะ.
เมือบ หมายถึง ว. มาก, เต็ม.
เหวง หมายถึง [เหฺวง] ว. มาก, เป็นคําใช้ประกอบคํา เบา เป็น เบาเหวง หมายความว่า เบามาก.
เอาเรื่อง หมายถึง ก. ถือเป็นเรื่องเป็นราว เช่น เจ้าของเขาจะเอาเรื่อง. ว. ยิ่งกว่าธรรมดา, มาก, เช่น เผ็ดเอาเรื่อง; เอาจริง เอาจริงเอาจัง เช่น เขาเป็นคนเอาเรื่อง.
แครครั่ง หมายถึง [แคฺรคฺรั่ง] (โบ; กลอน) ก. คับคั่ง, มาก, เช่น ที่ใดคนแครครั่ง. (ม. คําหลวง ชูชก).
แปร๊ด หมายถึง [แปฺร๊ด] ว. จัด, มาก, (ใช้แก่รสบางรสหรือสีบางสี) เช่น เปรี้ยวแปร๊ด แดงแปร๊ด.
โข หมายถึง (ปาก) ว. มาก. (กร่อนมาจาก อักโข ซึ่งตัดมาจาก อักโขภิณี).
โต หมายถึง (โบ) น. สิงโต.
โหวงเหวง หมายถึง [-เหฺวง] ว. มาก, เป็นคำใช้ประกอบคำ เบา เป็น เบาโหวงเหวง หมายความว่า เบามาก; มีความรู้สึกเหมือนจะว่าง ๆ ในจิตใจ เช่น เมื่ออยู่ในที่เงียบสงัดรู้สึกโหวงเหวง, มีความรู้สึกคล้าย ๆ ว่าขาดอะไรบางสิ่งบางอย่างไป เช่น พอเข้าไปในบ้าน บรรยากาศเงียบผิดปรกติ รู้สึกโหวงเหวง.
โอฬาร หมายถึง [-ลาน] ว. ใหญ่โต, โอ่โถง, กว้างขวาง; ยิ่งใหญ่, เลิศล้น; ประเสริฐ, ดี, เอาฬาร ก็ใช้. (แผลงมาจาก อุฬาร). (ป.).
ใหญ่ หมายถึง ว. โต เช่น พี่คนใหญ่, คนโต เช่น เขยใหญ่, มีขนาดโตกว่าหรือสำคัญกว่าเป็นต้นเมื่อเปรียบเทียบกัน เช่น ข่าวใหญ่ สงครามใหญ่, มีขนาดไม่เล็ก เช่น บ้านหลังใหญ่; รุนแรงมาก, อุตลุด, เช่น ทะเลาะกันใหญ่ ชกกันใหญ่.
ไกร หมายถึง [ไกฺร] น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ในสกุล Ficus วงศ์ Moraceae ลักษณะคล้ายต้นไทร มี ๒ ชนิด คือ ชนิด F. concinna Miq. เปลือกสีเทาค่อนข้างเรียบ ใบเล็ก ช่อดอกรูปคล้ายผล ออกเป็นคู่ตามง่ามใบ ผลสีชมพู มีกระสีจาง ๆ, ไฮฮี ก็เรียก และชนิด F. superba Miq. เปลือกสีเทาเรียบ ใบใหญ่ ช่อดอกคล้ายชนิดแรก ผลสีชมพู, ไทรเลียบ ก็เรียก.