คำไวพจน์ หมวด ล
"คำไวพจน์" คืออะไร มีความหมายว่าอย่างไร
คำไวพจน์ คือ คำที่มีความหมายเหมือนกัน ตรงกัน หรือคล้ายกันมาก แต่เขียนและออกเสียงต่างกัน เรียกอีกอย่างว่า "คำพ้องความ" เช่น ดอกไม้ และ บุษบา, สวย และ งาม, เศร้า และ เสียใจ เป็นต้น
คำไวพจน์ แบ่งได้กี่ประเภท?
คำไวพจน์ แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 1. คำพ้องรูป 2. คำพ้องเสียง และ 3. คำพ้องความ
*เรามักจะเห็นในแบบคำพ้องความเสียเป็นส่วนใหญ่
รวมคำไวพจน์ หมวด ล
คำไวพจน์ หมวด ล ตามที่เคยรู้จัก คำไวพจน์ มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ
- คำไวพจน์ ลม = วาโย / มารุต / พระพาย
- คำไวพจน์ ลิง = วอก / พานร / วานรินทร์ / วานร / กบิล / พานรินทร์ / กระบี่ / กบินทร์
- คำไวพจน์ ลูกชาย = บุตร / ตนุช / เอารส / ปรัตยา / โอรส / กูน
- คำไวพจน์ ลูกหญิง = บุตรี / ธิตา / ทุหิตา / ธิดา / สุดา
- คำไวพจน์ เลว = เลวทราม / เสื่อมโทรม / เสื่อมทราม / หืน / นิรคุณ / ชั่ว / หีน / หีน- / อสาธุ / สถุล / อัปรีย์ / ระยำ / เศษมนุษย์ / ต่ำช้า / กาบุรุษ / ขี้ถัง / หิน / หิน- / กริกกริว / เส็งเคร็ง / สามานย์ / สาธารณ์ / ทุ / จัญไร / ทราม / เศษนรก / ใฝ่ต่ำ / ชั่วช้า / ต่ำช้า / ถ่อย / ผีทะเล / อุลามก / อุจาดลามก / นยักษ์ / ต่ำ / ทรพล / ระยำตำบอน / หยาบช้า / ทุราจาร / ประดาเสีย / หฤโหด / กุ๊ย / เกินคน / จังไร / เศษคน
- คำไวพจน์ เลือด = โลหิต
- คำไวพจน์ เล็ก = กิ่งก้อย / เปี๊ยก / จุ๋มจิ๋ม / กระจุ๋มกระจิ๋ม / ต้อย / กะแอ / กระจิริด / กระจ้อยร่อย / จ้อย / นิดเดียว / กริ้งกริ้ว / เอียด / หย่อม ๆ / หย่อม / กระจิ๋ว / เพ็จ / ปิ๋ว / นิดหน่อย / นิด / แอ / กระจิ๋วหลิว / กระจ้อน
- คำไวพจน์ และ = กับ / ด้วยกัน / ทั้ง / ด้วย / รวม / ผนวก
คำไวพจน์ คือ คำที่มีความหมายเหมือนกัน แต่เขียนต่างกัน หรือเรียกอีกอย่างว่า “คำพ้องความ” เช่น บุษบา กับ บุปผา ช้าง กับ คช ป่า กับ ดง ม้า กับ อาชา เป็นต้น