คำไวพจน์ หมวด ป
"คำไวพจน์" คืออะไร มีความหมายว่าอย่างไร
คำไวพจน์ คือ คำที่มีความหมายเหมือนกัน ตรงกัน หรือคล้ายกันมาก แต่เขียนและออกเสียงต่างกัน เรียกอีกอย่างว่า "คำพ้องความ" เช่น ดอกไม้ และ บุษบา, สวย และ งาม, เศร้า และ เสียใจ เป็นต้น
คำไวพจน์ แบ่งได้กี่ประเภท?
คำไวพจน์ แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 1. คำพ้องรูป 2. คำพ้องเสียง และ 3. คำพ้องความ
*เรามักจะเห็นในแบบคำพ้องความเสียเป็นส่วนใหญ่
รวมคำไวพจน์ หมวด ป
คำไวพจน์ หมวด ป ตามที่เคยรู้จัก คำไวพจน์ มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ
- คำไวพจน์ ประชาชน = ประชาราษฎร์ / พลเมือง / สามัญชนทั่ว ๆ ไป / สามัญชน / สาธารณชน / ประชาชี / ราษฎร / ชาวประเทศ / มหาชน
- คำไวพจน์ ประโยชน์ = อาณาประโยชน์ / อัตถะ / อัตถ์ / หิต- / หิต / เข้ายา / สารประโยชน์ / ปรหิตะ / หิตานุหิตประโยชน์ / รายได้ / คุณประโยชน์ / อรรถประโยชน์ / อรรถกร / หิตประโยชน์ / สารัตถประโยชน์ลาภงอก / อาสิน / อัตหิต- / อัตหิต / งอกเงย
- คำไวพจน์ ปลา = มัจฉา / ชลจร / มีน / มัสยา / วารีชาติ / มีนา / มัจฉาชาติ / อัมพุชา / ปุถุโลม / มิต
- คำไวพจน์ ปาก = โอษฐ / โอษฐ- / โอษฐ์ / โอฐ
- คำไวพจน์ ปี = เถาะ / กุน / จอ / ระกา / วอก / มะแม / มะเมีย / มะเส็ง / มะโรง / ๓๖๕ วัน / ขาล / ฉลู / ชวด / ชั่วนาตาปี / ปีกลาย / ๑๒ เดือน / ๓๖๖ วัน
- คำไวพจน์ ป่วย = เสาะแสะ / กระเสาะกระแสะ / ล้มหมอนนอนเสื่อ / เจ็บ / เจ็บไข้ / เจ็บป่วย / กระออดกระแอด / อามัย / ชวร / ชวระ / ออดแอด / ออด ๆ แอด ๆ / ชำงือ
- คำไวพจน์ ป่า = พนา / อารัณย์ / อารัญ / ดง / พง / ไพร / อรัญญิก / พนาวัน / พงไพร / ชัฏ / พนาลี / พงพี / พนัส / พนาดร / ไพรวัน / เถื่อน / ไพรสัณฑ์ / พงพนา
- คำไวพจน์ เปลี่ยน = หันเหียน / ย้าย / ปริวรรต- / ปริวรรต / ปฏิวัติ / บริพัตร / ยักย้าย / แปลง / ผัน / เปลี่ยนมือ / พลิกแพลง / เหียนหัน / ปรวนแปร / สับเปลี่ยน / แปรปรวน / เรรวน / หักเห / รวนเร
- คำไวพจน์ เป้าหมาย = จุดหมาย
- คำไวพจน์ ไป = เทา / จากไป / เจียร / ครรไล / เมื้อ / เมือ / ถั่ง / ตู / จร / เคจฉะ / คระไล / เต้า / ลี / เสด็จ / ดำเนิน / เสด็จพระราชดำเนิน / เต้า / ไคล / สัญจร / ยาตรา / จร
คำไวพจน์ คือ คำที่มีความหมายเหมือนกัน แต่เขียนต่างกัน หรือเรียกอีกอย่างว่า “คำพ้องความ” เช่น บุษบา กับ บุปผา ช้าง กับ คช ป่า กับ ดง ม้า กับ อาชา เป็นต้น