คำไวพจน์ หมวด ด

คำไวพจน์ หมวด ด ตามที่เคยรู้จัก คำไวพจน์ มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ

"คำไวพจน์" คืออะไร มีความหมายว่าอย่างไร

คำไวพจน์ คือ คำที่มีความหมายเหมือนกัน ตรงกัน หรือคล้ายกันมาก แต่เขียนและออกเสียงต่างกัน เรียกอีกอย่างว่า "คำพ้องความ" เช่น ดอกไม้ และ บุษบา, สวย และ งาม, เศร้า และ เสียใจ เป็นต้น

คำไวพจน์ แบ่งได้กี่ประเภท?

คำไวพจน์ แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 1. คำพ้องรูป 2. คำพ้องเสียง และ 3. คำพ้องความ

*เรามักจะเห็นในแบบคำพ้องความเสียเป็นส่วนใหญ่

รวมคำไวพจน์ หมวด ด

คำไวพจน์ หมวด ด ตามที่เคยรู้จัก คำไวพจน์ มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ

  1. คำไวพจน์ ดวงตา = ตา, เนตร
  2. คำไวพจน์ ดอกบัว = สัตตบงกช, กมเลศ, กมลาศ, กระมล, กมล, โกมล, อุบล, บัว, จงกล, ปทุม, สาโรช, อุบล, นิโลตบล, อุทุมพร, บุษกร, นิลุบล, ปทุมา, ปัทมา, บงกช, บุณฑริก, สัตตบรรณ
  3. คำไวพจน์ ดอกไม้ = บุษบา, บุษบง, ผกามาศ, บุปผา, บุษบัน, มาลี, บุปผชาติ, ผกา, สุมาลี, บุหงา, มาลา, สุคันธชาติ, โกสุม
  4. คำไวพจน์ ดาว = มฆา, ชุติ, มหาอุจ, ผกาย, มูลา, มูละ, มูล, ศนิ, มาฆะ, ดารา, มฆะ, ดารกะ, อัสสนี, อัศวินี, ฤกษ์, นักษัตร, สิธยะ
  5. คำไวพจน์ ดีใจ = ตื้นตันใจ, ลิงโลด, หฤษฎ์, ภิรมย์, อภิรมย์, หัวร่อ, ดีอกดีใจ, ดีเนื้อดีใจ, สุมนัส, อภินันท์, อภินันท-, อภินันท, ยินดี, ตื้นตัน, กระยิ้มกระย่อง, ยิ้มน้อยยิ้มใหญ่, ตีปีก, ยินมลาก, เต็มตื้น, ยิ้มแต้, ปลื้มใจ, พอใจ, ชอบใจ
  6. คำไวพจน์ เดิน = เดินเหิน, กราย, บริกรม, สะบัดย่าง, อยน-, อยน, สาวก้าว, สัญจาระ, บทจร, โทกเทก, ทอดน่อง, จรลี, ตบเท้า, ตุปัดตุเป๋, ไคลคลา, เตร่, คลาไคล, ถี่เท้า, ย้อแย้, จงกรม, เยื้องย่าง, ผเดิน, ย่อง, ย่องกริบ, ยาตรา, ยาตร, ถีบทาง, ระร่าย, ชังฆวิหาร

คำไวพจน์ คือ คำที่มีความหมายเหมือนกัน แต่เขียนต่างกัน หรือเรียกอีกอย่างว่า “คำพ้องความ” เช่น บุษบา กับ บุปผา ช้าง กับ คช ป่า กับ ดง ม้า กับ อาชา เป็นต้น


 แสดงความคิดเห็น