คำไวพจน์ หมวด ค

คำไวพจน์ หมวด ค ตามที่เคยรู้จัก คำไวพจน์ มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ

"คำไวพจน์" คืออะไร มีความหมายว่าอย่างไร

คำไวพจน์ คือ คำที่มีความหมายเหมือนกัน ตรงกัน หรือคล้ายกันมาก แต่เขียนและออกเสียงต่างกัน เรียกอีกอย่างว่า "คำพ้องความ" เช่น ดอกไม้ และ บุษบา, สวย และ งาม, เศร้า และ เสียใจ เป็นต้น

คำไวพจน์ แบ่งได้กี่ประเภท?

คำไวพจน์ แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 1. คำพ้องรูป 2. คำพ้องเสียง และ 3. คำพ้องความ

*เรามักจะเห็นในแบบคำพ้องความเสียเป็นส่วนใหญ่

รวมคำไวพจน์ หมวด ค

คำไวพจน์ หมวด ค ตามที่เคยรู้จัก คำไวพจน์ มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ

  1. คำไวพจน์ คติ = ความเป็นไป, แบบอย่าง, วิธี, แนวทาง, สัตบถ, การไป, บทเรียน, อุปบัติ, เวท-, ภาษิต, เวท, ลัทธิ, วิธี, คดี
  2. คำไวพจน์ คน = ชน, มนุช, ปาณี, ปราณี, บุทคล, นฤ-, นฤ, นรากร, นรา, นรชาติ, นารี, นรี, มนุษย-, มนุษย, มานุษย-, มานุษ, ชน-, นร, มนุษย์
  3. คำไวพจน์ ครุฑ = คคเนศวร, อมฤตาหรณ์, สุเรนทรชิต, สุธาหรณ์, สิตามัน, สรรปาราติ, เศวตโรหิต, วัชรชิต, รักตปักษ์, รสายนะ, นาคนาศนะ, ตรัสวิน, จิราท, ครุฬ, ครุฑมาน, กาศยป, ขเคศวร, กาศยปิ, กามายุส, กามจาริน, สุบรรณ, นาคานตกะ, ขนบคาศน์, ขเดศวร, สุวรรณกาย, นาคานดก, เวนไตย, ไวนเตยะ, วิษณุรถ, ปันนคนาสน์
  4. คำไวพจน์ ครู = อาจารย์, อาจริย, บา, บาจรีย์, ปาจริย, ปาจรีย์, ปาจารย์, แม่พิมพ์, พ่อพิมพ์
  5. คำไวพจน์ ควัน = อัคนิพ่าห์, อัคนิวาหะ, ธุมา, ธุม, ธูม, ธุมชาล, ธุม-
  6. คำไวพจน์ ความคิด = จินดา, ตรรก, ตรรก-, ตรรกะ, ตักกะ, มโนกรรม, มโนคติ, แนวคิด, ความอ่าน
  7. คำไวพจน์ ความรู้ = เมธา, พิทย, พิทย-, พิทย์, พิทยา, โพธ, ภูมิรู้, มันตา, วิชา, วิชานนะ, วิทยา, เวท, เวท-
  8. คำไวพจน์ ควาย = กาสร, กระบือ, มหิงสา, ลุลาย, มหิงส์, มหิษ, ทุย
  9. คำไวพจน์ คำพูด = พจนา, ถ้อยคํา, พจน์, พจน-, พจน, คำกลอน, พูดจา, พาที, วัจนะ, วัจนา, พากย์, วจี, ถ้อย, วาจา
  10. คำไวพจน์ คิด = ดำริ, นึกตรอง, ใคร่ครวญ, ตรึก, จินต์, จินต-, จินต, ครุ่นคิด, ตริตรอง, คำนึง, คะนึง, จินต์จล, ไตร่ตรอง, ตรึกตรอง, ตริ, นึก, ตรอง, ริปอง, มโน
  11. คำไวพจน์ คิดถึง = นึกถึง, ระลึก, นึก, จดจ่อ, ถวิล, คิด, รำลึก, คิดคำนึง, รำพึง
  12. คำไวพจน์ คือ = ครือ, เท่ากับ, ตกว่า, ได้แก่, เมาะ, รวมความว่า, ลงความว่า, ถือเอาว่า
  13. คำไวพจน์ เครื่องนุ่งห่ม = ภูษา, วัตถ์, วัตถา, วัตถาภรณ์, วัตถาลังการ, อาภรณ์
  14. คำไวพจน์ เครื่องปรุง = เครื่องปรุงรส
  15. คำไวพจน์ เคลื่อนที่ = เดินไป, เคลื่อนไป, เดิน
  16. คำไวพจน์ เคลื่อนไหว = ขยับ, ยาตรา, ยุรบาตร, ท่าว, ทะท่าว, ดำเนิน, เดินเหิน, ถีบทาง, ผเดิน, ยาตร, เตร่, เดาะ, ผันผาย, จรลี, ยก, ยืด, ย้าย, หลบ, ยัวรยาตร, เยื้องย่าง, ประพาส, ยุรยาตร, ไคลคลา, นวย, คลาน, เคลื่อนที่, ยวรยาตร, ลีลา, เดิน, คลา, เคลื่อน, จรัล, ย่าง, ย่างตีน, ย่างเท้า
  17. คำไวพจน์ เคารพ = ยกย่อง

คำไวพจน์ คือ คำที่มีความหมายเหมือนกัน แต่เขียนต่างกัน หรือเรียกอีกอย่างว่า “คำพ้องความ” เช่น บุษบา กับ บุปผา ช้าง กับ คช ป่า กับ ดง ม้า กับ อาชา เป็นต้น


 แสดงความคิดเห็น