ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา บรรทาน, ประจาค, ประทาน, อำนวย, ถวาย, อุทิศ, ตังวาย, ยัด, ให้, โอย, ปูน, แผ่
ให้อนุญาต เป็นคำที่ถูกต้อง ✅
ให้อนุญาติ เป็นคำที่เขียนผิด ❌
ให้
หมายถึงก. มอบ เช่น ให้ช่อดอกไม้เป็นรางวัล, สละ เช่น ให้ชีวิตเป็นทาน, อนุญาต เช่น ฉันให้เขาไปเที่ยว; เป็นคำช่วยกริยา บอกความบังคับหรืออวยชัยให้พรเป็นต้น เช่น แม่บอกให้ลูกไปนอน ขอให้เจริญรุ่งเรือง ขอให้เดินทางโดยสวัสดิภาพ แต่งตัวให้สวย ๆ นะ. (กฎ) น. ชื่อสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้ให้โอนทรัพย์สินของตนให้โดยเสน่หาแก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับ และผู้รับยอมรับเอาทรัพย์สินนั้น.
ให้โดยเสน่หา
หมายถึง(กฎ) ก. โอนทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งโดยไม่มีค่าตอบแทน.
ให้ท้าย
หมายถึงก. เข้าข้างหรือส่งเสริมทำให้ได้ใจ.
ให้ร้าย,ให้ร้ายป้ายสี
หมายถึงก. หาความร้ายป้ายผู้อื่นให้ได้รับความเสียหาย, ป้ายสี ใส่ร้าย หรือ ใส่ร้ายป้ายสี ก็ว่า.
ให้หน้า
หมายถึงก. แสดงท่าทีให้ผู้ที่รู้กันทำตามความประสงค์ด้วยการพยักหน้า ขยิบตา บุ้ยปาก เป็นต้น เช่น ชูชกกล่าวหาพระเวสสันดรว่า ให้หน้าให้สองกุมารหนีไปเสียทั้งที่ยกให้ตนแล้ว.
ให้หลัง
หมายถึงก. คล้อยหลังไป เช่น พอครูให้หลัง เด็ก ๆ ก็ซนกันใหญ่.
ให้การ
หมายถึง(กฎ) ก. ให้ถ้อยคำเกี่ยวกับเรื่องที่เป็นมา เช่น จำเลยให้การต่อศาล.
ให้เสียง
หมายถึงก. กระทำเสียงใด ๆ ให้ผู้อื่นรู้ตัวล่วงหน้าก่อนที่จะปรากฏกาย เช่น ฉันตกใจ เธอเข้ามาไม่ให้เสียงเลย.
ให้หูให้ตา
หมายถึงก. แสดงท่าทีให้ทราบด้วยสีหน้าและสายตาว่าพอใจใคร่สืบความสัมพันธ์ต่อไป (ใช้แก่ผู้หญิง) เช่น กุลสตรีไม่ควรให้หูให้ตาใคร ๆ.
ให้อภัย
หมายถึงก. ยกโทษให้, ไม่ถือโทษ.
ให้ท่า
หมายถึงก. พูดหรือแสดงกิริยาให้รู้ว่ายินดีติดต่อด้วยหรือไม่รังเกียจ (ใช้แก่ผู้หญิง).