ค้นเจอ 17 รายการ

เปราะ

หมายถึง[เปฺราะ] น. (๑) ชื่อไม้ล้มลุกมีหัวชนิด Kaempferia galanga L. ในวงศ์ Zingiberaceae หัวและใบมีกลิ่นหอม ใช้เป็นอาหารและทำยาได้, เปราะหอม ก็เรียก. (๒) ชื่อมะเขือพันธุ์หนึ่ง.

เปราะ

หมายถึง[เปฺราะ] ว. หักง่าย, แตกง่าย, เช่น ไส้ดินสอเปราะ.

รูทีเนียม

หมายถึงน. ธาตุลำดับที่ ๔๔ สัญลักษณ์ Ru เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง สีเงิน เปราะ หลอมละลายที่ ๒๓๑๐°ซ. ใช้ประโยชน์นำไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ. (อ. ruthenium).

พลวง

หมายถึง[พฺลวง] น. ธาตุลำดับที่ ๕๑ สัญลักษณ์ Sb เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีขาวคล้ายโลหะเงิน เปราะ หลอมละลายที่ ๖๓๐.๕ °ซ. มีสมบัติพิเศษ คือ ขยายตัวเมื่อแข็งตัว ใช้ประโยชน์นำไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ. (อ. antimony).

บิสมัท

หมายถึงน. ธาตุลำดับที่ ๘๓ สัญลักษณ์ Bi เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีขาวอมแดง เปราะ หลอมละลายที่ ๒๗๑.๓ °ซ. เป็นตัวนำความร้อนและไฟฟ้าที่เลว มีสมบัติพิเศษ คือ ขยายตัวเมื่อแข็งตัว ใช้ประโยชน์นำไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ ซึ่งหลอมละลายที่อุณหภูมิตํ่า. (อ. bismuth).

ตะเภา

หมายถึงน. (๑) เรียกอ้อยพันธุ์ที่ลำโต ปล้องสั้น สีขาว เปราะ ว่า อ้อยตะเภา, อ้อยสำลี ก็เรียก. (๒) ชื่อหมากพันธุ์ต้นเตี้ย.

เปราะหอม

หมายถึงดู เปราะ ๑ (๑).

เผาะ,เผาะ,เผาะ ๆ

หมายถึงว. เปราะ; เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงหักไม้เปราะ เช่น ข้อเท้าข้อมือลั่นเผาะ น้ำตาร่วงเผาะ ๆ.

กรอบ

หมายถึงว. แตกหักเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยได้ง่าย, เปราะ; (ปาก) แทบดำรงตนไปไม่รอด เช่น จนกรอบ.

ข้าวเจ้า

หมายถึงน. ชื่อข้าวพันธุ์หนึ่งของชนิด Oryza sativa L. เนื้อเมล็ดใสใช้หุงเป็นอาหาร เมื่อหุงแล้วเมล็ดมักร่วนและสวย มีชื่อต่าง ๆ กัน เช่น ข้าวปิ่นแก้ว ข้าวมันปู. (ไทยใหญ่ เจ้าว่า เปราะ, ร่วน, ไม่เหนียว).

เจอร์เมเนียม

หมายถึงน. ธาตุลำดับที่ ๓๒ สัญลักษณ์ Ge เป็นโลหะสีขาว เปราะ หลอมละลายที่ ๙๓๗.๔ °ซ. มีสมบัติเป็นกึ่งตัวนำ สารประกอบแมกนีเซียมเจอร์เมเนต ใช้ประโยชน์ในหลอดวาวแสง (fluorescent lamp). (อ. germanium).

กร้วม

หมายถึงว. เสียงเคี้ยวสิ่งของที่เปราะให้แตก หรือเสียงของแข็งกระทบกันอย่างแรง.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ