ค้นเจอ 26 รายการ

 หรือคุณกำลังค้นหา ชา, สวด, กถา, วจะ, วากย,วากย-,วากยะ, วาจา

ว่ากล่าว

หมายถึงก. ตำหนิ, ตักเตือน, เช่น มาทำงานสายเป็นประจำ จึงถูกผู้บังคับบัญชาเรียกไปว่ากล่าว, สั่งสอน เช่น ผู้ใหญ่ว่ากล่าวไม่เชื่อฟัง.

ชา

หมายถึงก. ว่ากล่าว เช่น อย่าชาคนเมา.

สวด

หมายถึงก. ว่าเป็นทำนองอย่างพระสวดมนต์ เช่น สวดสังคหะ สวดพระอภิธรรม; (ปาก) นินทาว่าร้าย, ดุด่า, ว่ากล่าว, เช่น ถูกแม่สวด.

ปากเปียก,ปากเปียกปากแฉะ

หมายถึงน. เรียกการว่ากล่าวตักเตือนซํ้าแล้วซํ้าเล่าก็ยังไม่ได้ผลตามที่มุ่งหมาย.

ปากเป็นชักยนต์

หมายถึง(สำ) ก. ว่ากล่าวสั่งสอนไม่รู้จักหยุด.

ปราม

หมายถึง[ปฺราม] ก. ว่ากล่าวตักเตือนให้เกรงกลัว.

อปวาท

หมายถึง[อะปะ-] น. คำติเตียน; การว่ากล่าว. (ป., ส.).

ทับถม

หมายถึงก. เพิ่มซับซ้อนกันเข้ามามากมาย; โดยปริยายหมายความว่ากล่าวซํ้าเติมให้เขาเสียหายหนักขึ้น.

พจนีย์

หมายถึง[พดจะนี] ว. ควรว่ากล่าว. น. คำติเตียน. (ส.).

ว่าไม่ไว้หน้า

หมายถึงก. ดุด่าว่ากล่าวผู้ใดผู้หนึ่งต่อหน้าให้ได้รับความอับอายโดยไม่เกรงใจ.

ต่อว่า,ต่อว่าต่อขาน

หมายถึงก. ท้วงถามเหตุผลต่อผู้ที่ทำให้ตนไม่พอใจ, ว่ากล่าวเพราะไม่ทำตามที่พูดหรือที่ให้สัญญาไว้.

กราดเกรี้ยว

หมายถึงก. แสดงกิริยาท่าทางพร้อมทั้งดุด่าว่ากล่าวเป็นต้นอย่างรุนแรงด้วยความโกรธ, เกรี้ยวกราด ก็ใช้.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ