ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา ปฐม,ปฐม-, ประณม, กระแสง, ซุ่มเสียง, สุ้มเสียง, กง, กะดี, บรรสม, ประลมพ์, สมิต
ประถม
หมายถึงว. ปฐม, ลำดับแรก, ลำดับเบื้องต้น, เช่น ประถมศึกษา ชั้นประถม; ชั้นที่ ๑, เรียกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นที่ ๑ ในตระกูลช้างเผือกและมงกุฎไทยว่า ประถมาภรณ์ช้างเผือก ประถมาภรณ์มงกุฎไทย. (ส.).
การใช้คะ ค่ะ นะคะ นะค่ะ
กระแสง
หมายถึงน. เสียง, เสียงแจ่มจ้า เช่น จึ่งตั้งนโม ซุ่มเสียงใหญ่โต กระแสงแจ่มใส. (ประถม ก กา).
ปฐม,ปฐม-
หมายถึง[ปะถม, ปะถมมะ-] ว. ประถม, ลำดับแรก, ลำดับเบื้องต้น; ชั้นที่ ๑, เรียกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นที่ ๑ ในตระกูลจุลจอมเกล้าว่า ปฐมจุลจอมเกล้า ปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ. (ป.).
ซุ่มเสียง
หมายถึง(โบ) น. สุ้มเสียง เช่น จึงตั้งนะโม ซุ่มเสียงใหญ่โต. (ประถม ก กา).
สุ้มเสียง
หมายถึงน. กระแสเสียง, (โบ) เขียนเป็น ซุ่มเสียง ก็มี เช่น จึงตั้งนะโม ซุ่มเสียงใหญ่โต. (ประถม ก กา).
กง
หมายถึงน. ปลามังกง. (ประถม ก กา ในจินดามณี).
ลดชั้น
หมายถึงก. เข้าเรียนชั้นต่ำกว่าเดิม เช่น นักเรียนที่เข้าใหม่ชั้นประถมปีที่ ๓ ถูกลดชั้นไปอยู่ชั้นประถมปีที่ ๒.
มัธยมศึกษา
หมายถึง[มัดทะยมมะ-, มัดทะยม-] น. การศึกษาระหว่างประถมศึกษากับอุดมศึกษา.
หิมวัต
หมายถึง[หิมมะวัด] ว. มีหิมะ, หนาว, ปกคลุมด้วยหิมะ. น. ชื่อหนึ่งของเทือกเขาหิมาลัย; ชื่อป่าหนาวแถบเหนือของอินเดีย; ศัพท์นี้แผลงใช้ได้หลายอย่างคือ ๑. หิมวาท (แผลงจาก ส. หิมวตฺ) ๒. หิมวาน ๓. หิมพาน (รูปประถมแห่ง ส. หิมวตฺ) ๔. หิมวันต์ (ป. หิมวนฺต) ๕. หิมพานต์ (แผลงจาก ป. หิมวนฺต) ๖. หิมวา (รูปประถมแห่ง ป. หิมวนฺต). (ส.; ป. หิมวนฺต).
ผ่าน
หมายถึงก. ล่วงจุดใดจุดหนึ่งไป เช่น รถผ่านสนามหลวง, อาการที่เคลื่อนจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง เช่น รถสายนี้ผ่านสามย่าน สีลม, ล่วงเลย เช่น เวลาผ่านไป ๕ ปี; โดยปริยายหมายความว่า เคย เช่น ผ่านตามาแล้ว ผ่านหูมาก่อน หรือ ชำนาญเชี่ยวชาญ เช่น ผ่านงานมามาก ผ่านศึกมาหลายครั้ง, ยอมให้ก่อน เช่น ผ่านไปก่อน, ยอมให้ล่วงเข้าไปได้ เช่น บัตรผ่านประตู, สอบได้ เช่น ผ่านชั้นประถมปีที่ ๑ แล้ว, ได้รับความเห็นชอบ เช่น พระราชบัญญัติงบประมาณผ่านสภาแล้ว, ตัดทาง, ลัดทาง, เช่น ห้ามเดินผ่านสนาม, ข้าม เช่น ไฟแดงห้ามผ่าน มองผ่านไป, เปลี่ยน เช่น ผ่านมือ, ครอบครอง เช่น ผ่านเมือง, บอกราคาสูงเกินไป ในความว่า บอกราคาผ่านมากไป, ล่วงพ้นไป เช่น เวลาผ่านไป. ว. เรียกม้าที่มีลายขาวขวางพาดตัวว่า ม้าผ่าน; ถ้าประกอบหน้านามบางคำหมายความว่า พระเจ้าแผ่นดิน เช่น ผ่านเกล้าฯ ผ่านเผ้า ผ่านพิภพ ผ่านฟ้า.