ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา กระคาย, ขวัดขวิด, กริว, กรุน, ประพนธ์, กระดาก, กลอน, ฉันทา, ฉันท์
เอกฉันท์ เป็นคำที่ถูกต้อง ✅
เอกฉัน, เอกะฉันท์ เป็นคำที่เขียนผิด ❌
มอบฉันทะ
หมายถึงก. มอบธุระไว้ด้วยความไว้วางใจ, ยินยอมให้ทำแทนโดยมีหลักฐาน.
ฉันท-,ฉันท-,ฉันท์,ฉันท์
หมายถึง[ฉันทะ-] น. ชื่อคำประพันธ์ประเภทหนึ่งที่วางคำ ครุ ลหุ เป็นแบบต่าง ๆ. (ป.).
เอกฉันท์
หมายถึง[เอกกะ-] ว. มีความเห็นเป็นอย่างเดียวกันหมด.
รังเกียจเดียดฉันท์
หมายถึงก. ลำเอียงด้วยความรังเกียจ.
ฉันทาคติ
หมายถึงน. ความลำเอียงเพราะความรักใคร่ชอบใจ เป็นอคติ ๑ ในอคติ ๔ ได้แก่ ฉันทาคติ โทสาคติ ภยาคติ และโมหาคติ. (ป. ฉนฺท + อคติ).
กามฉันท์
หมายถึงน. ความพอใจในกามคุณทั้ง ๕. (ป.).
ฉันท-,ฉันท-,ฉันท์,ฉันท์,ฉันทะ
หมายถึงน. ความพอใจ, ความรักใคร่, ความชอบใจ, ความยินดี; ความร่วมความคิดความเห็นกัน เช่น ลงมติเป็นเอกฉันท์, ความไว้เนื้อเชื่อใจ เช่น มอบฉันทะ. (ป.).
ฉันทลักษณ์
หมายถึง[ฉันทะลัก] น. ลักษณะแบบแผนคำประพันธ์ประเภทร้อยกรอง, ชื่อตำราไวยากรณ์ตอนที่ว่าด้วยลักษณะของคำประพันธ์.
ฉันทวิลาส
หมายถึง[ฉันทะวิลาด] น. ชื่อเพลงทำนองหนึ่ง. (ดึกดำบรรพ์).
ฉันทศาสตร์
หมายถึง[ฉันทะสาด] น. ตำราว่าด้วยการแต่งฉันท์ทั้งที่เป็นมาตราพฤติและวรรณพฤติ เป็นศิลปศาสตร์อย่างหนึ่งในศิลปศาสตร์ ๑๘ ประการ. (ส.).
ฉันทา
หมายถึง(กลอน) ก. ลำเอียงเพราะรักใคร่ชอบใจ เช่น พระแก่วันชันษากว่าข้านี้ นึกว่าพี่น้องกันไม่ฉันทา. (อภัย).