ค้นเจอ 1,030 รายการ

กำจร

หมายถึง[-จอน] ก. ฟุ้งไป. (ส. ขจร ว่า ไปในอากาศ).

กำธร

หมายถึง[-ทอน] ว. สนั่น, หวั่นไหว, สะเทือน, เช่น เสียงเทพอวยอาศิรวาท กำธรอากาศ ฦๅเลวงไชยไชย. (สมุทรโฆษ). (เทียบ ข. กํทร ว่า บรรลือเสียง, ตีรัว).

กำมะลอ

หมายถึงน. เรียกของลงรักแบบญี่ปุ่นและจีน เช่นหีบ โอ กระบะ ว่า เครื่องกำมะลอ, เรียกไม้ดัดชนิดหนึ่งที่ดัดให้เหมือนรูปต้นไม้ที่ญี่ปุ่นและจีนเขียนลงในเครื่องกำมะลอว่า ไม้กำมะลอ; เรียกกลดที่ทำด้วยผ้าขาวหรือแพรขาวเขียนลายทอง สำหรับใช้กับเจ้านายหรือพระพุทธรูปว่า กลดกำมะลอ, เรียกลายที่เขียนที่เครื่องกำมะลอเป็นลายสี ลายทอง หรือ ลายทองแทรกสี หรือเขียนบนผ้าขาวหรือแพรขาวว่า ลายกำมะลอ; เรียกของทำเทียมหรือของเล็กน้อยที่ทำหยาบ ๆ ไม่ทนทานว่า ของกำมะลอ. ว. เลวไม่ทนทาน, ไม่ดี, ไม่งาม.

กุฏไต

หมายถึง(แบบ) น. เสื้อชนิดหนึ่ง เช่น ห่มกุฏไตขอหง้า, โกตไต ก็ว่า เช่น ห่มโกตไตอวดอ้าง. (พยุหยาตรา). (เทียบอิหร่าน และ ตุรกี ว่า เสื้อกั๊กสำหรับทหาร).

กุฏิ

หมายถึง[กุด] น. ที่บรรจุศพที่ก่ออิฐถือปูนเป็นหลัง ๆ; เรือนที่ทำให้นกขุนทองนอน. (เทียบทมิฬ กูฏุ ว่า รังนก).

เกียด

หมายถึงน. เรียกไม้ที่ปักขึ้นกลางลานสำหรับผูกควายหรือวัวให้ย่ำนวดข้าวไปรอบ ๆ ว่า เสาเกียด.

ขจัด

หมายถึง[ขะ-] ก. กำจัด เช่น ขจัดความสกปรก; กระจัด, แยกย้ายออกไป. (ข. ขฺจาต่ ว่า พลัด, แยก).

ขจี

หมายถึง[ขะ-] ว. งามสดใส, ใช้ในคำว่า เขียวขจี. (ข. ขฺจี ว่า ดิบ, อ่อน).

ขน

หมายถึง(ถิ่น-พายัพ) ก. กรน เช่น คนนอนหลับขน ว่า คนนอนหลับกรน.

ขวง

หมายถึงน. ผี เช่น เสียขวง ว่า เสียผี.

ขวัญ

หมายถึง[ขฺวัน] น. ผมหรือขนที่ขึ้นเวียนเป็นก้นหอย; มิ่งมงคล, สิริ, ความดี, เช่น ขวัญข้าว ขวัญเรือน; สิ่งที่ไม่มีตัวตน เชื่อกันว่ามีอยู่ประจำชีวิตของคนตั้งแต่เกิดมา ถ้าขวัญอยู่กับตัวก็เป็นสิริมงคล เป็นสุขสบายจิตใจมั่นคง ถ้าคนตกใจหรือเสียขวัญ ขวัญก็ออกจากร่างไป ซึ่งเรียกว่า ขวัญหาย ขวัญหนี ขวัญบิน เป็นต้น ทำให้คนนั้นได้รับผลร้ายต่าง ๆ, เรียกผู้ตกใจง่ายคือ เด็กหรือหญิงซึ่งมักจะขวัญหายบ่อย ๆ ว่า ขวัญอ่อน, และอนุโลมใช้ไปถึงสัตว์หรือสิ่งของบางอย่าง เช่น ช้าง ม้า ข้าว เรือน ฯลฯ ว่ามีขวัญเช่นเดียวกับคนเหมือนกัน, โดยปริยายหมายความว่า ยอดกำลังใจ เช่น ขวัญเมือง ว่า ยอดกำลังใจของเมือง; กำลังใจดี เช่น ขวัญดี; ผู้รู้พิธีทำขวัญ เรียกว่า หมอขวัญ; การทำพิธีเชิญขวัญหมายความว่า เรียกขวัญ มาอยู่กับตัว; การเสียเงินค่าปรับให้แก่ผู้ถูกทำร้ายหรือถูกหมิ่นประมาท เรียกว่า ทำขวัญ; เอาเส้นด้ายผูกข้อมือเด็กแล้วกล่าวเรียกขวัญว่า “ขวัญเอ๋ย มาอยู่กับเนื้อกับตัว” แล้วกล่าวให้พรต่อไปตามควร เรียกว่า ผูกขวัญ; เรียกขวัญหรือเชิญขวัญ เรียกว่า รับขวัญ; ทำพิธี เช่น รดนํ้ามนตร์ให้ เสกเป่าให้ หรือกล่าวปลุกใจต่าง ๆ เพื่อให้ขวัญดีมีใจกล้าหาญ เรียกว่า บำรุงขวัญ; สิ่งของที่ให้แก่เจ้าของขวัญเมื่อเสร็จพิธีทำขวัญแล้ว หรือสิ่งของที่ให้กันในเวลาอื่นเป็นการถนอมขวัญหรือเพื่ออัธยาศัยไมตรี เรียกว่า ของขวัญ; ข้าวบายศรี เรียกว่า ข้าวขวัญ; ไข่ปอกที่เสียบไม้ปักไว้บนยอดบายศรี เรียกว่า ไข่ขวัญ, ไข่ข้าว ก็เรียก; ลูกคนที่รักมากที่สุด เรียกว่า ลูกขวัญ; ผู้ที่เป็นมิ่งขวัญอย่างยอดเยี่ยมหมายถึงหญิงที่รัก เรียกว่า จอมขวัญ; คำยกย่องเรียกภรรยาอันเป็นที่รักว่า เมียขวัญ; กำลังใจเสีย เรียกว่า เสียขวัญ.

ขอก

หมายถึงน. เขต, แดน; (ถิ่น-พายัพ) ริม, ขอบ, เช่น ไปขอกฟ้า ว่า ไปริมฟ้า.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ