พจนานุกรมคำศัพท์ไทย-เขมร คำศัพท์ภาษาเขมรเบื้องต้น
ภาษาเขมร (ភាសាខ្មែរ ภาสาแขฺมร)
ภาษาเขมร (ភាសាខ្មែរ ภาสาแขฺมร) เป็นหนึ่งในภาษาหลักของภาษากลุ่มออสโตรเอเซียติก และได้รับอิทธิพลมาจากภาษาสันสกฤต และภาษาบาลี พอสมควร ซึ่งอิทธิพลเหล่านี้ มาจากอิทธิพลของศาสนาพุทธ และศาสนาฮินดู ต่อวัฒนธรรมของชาวเขมร ในขณะที่อิทธิพลอื่นๆ เช่น จากภาษาไทย และภาษาลาว เป็นผลมาจากการติดต่อกันทางด้านภาษา และความใกล้ชิดกันในทางภูมิศาสตร์
ภาษาเขมรแปลกไปจากภาษาในประเทศเพื่อนบ้าน (ภาษาไทย ภาษาลาว และภาษาเวียดนาม) เนื่องจากไม่มีเสียงวรรณยุกต์
แต่ละพยางค์จะเริ่มต้นด้วยพยัญชนะหรือพยัญชนะควบกล้ำ ตามด้วยเสียงสระ แต่ละพยางค์สามารถจะมีเสียงพยัญชนะต่อไปนี้ลงท้าย เมื่อใช้เสียงสระสั้น จะต้องลงท้ายด้วยพยัญชนะ
โครงสร้างของคำในภาษาเขมรที่มีมากที่สุดเป็นพยางค์เต็มตามที่อธิบายไว้ข้างบน ต่อหน้าด้วยพยางค์สั้นที่มีโครงสร้าง CV-, CɽV-, CVN- หรือ CɽVN- (C เป็นพยัญชนะ V เป็นสระ N เป็น m/ม, n/น, ɲ หรือ ŋ/ง). สระในพยางค์สั้นเหล่านี้มักจะออกเสียงเป็น ə ในภาษาพูด
คำต่าง ๆ สามารถประกอบด้วย 2 พยางค์เต็มได้
คำที่มี 3 พยางค์ขึ้นไปส่วนใหญ่เป็นคำยืมมาจากภาษาบาลี สันสกฤต ฝรั่งเศส หรือ ภาษาอื่น ๆ
ภาษาถิ่น
ภาษาถิ่นมีการแสดงอย่างชัดเจนในบางกรณี มีข้อแตกต่างที่สังเกตเห็นได้ระหว่างคนพูดจากเมืองพนมเปญ (เมืองหลวง) และเมืองพระตะบองในชนบท โดยภาษาเขมรจะแบ่งเป็นภาษาถิ่นได้ 5 ถิ่น ได้แก่
- สำเนียงพระตะบอง พูดทางแถบภาคเหนือของประเทศกัมพูชา
- สำเนียงพนมเปญ เป็นสำเนียงกลางของกัมพูชาเช่นเดียวกับสำเนียงกรุงเทพฯของไทย โดยจะพูดในพนมเปญและจังหวัดโดยรอบเท่านั้น
- สำเนียงเขมรบน หรือ ภาษาเขมรถิ่นสุรินทร์ พูดโดยชาวไทยเชื้อสายเขมรในแถบอีสานใต้ โดยเฉพาะในจังหวัดสุรินทร์ จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดอุบลราชธานี เป็นต้น
- สำเนียงแขมรกรอม หรือ ภาษาเขมรถิ่นใต้ พูดโดยชาวเขมรที่อาศัยแถบสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงในประเทศเวียดนาม
- สำเนียงตะวันตก หรือ ภาษาเขมรถิ่นจันทบุรี ถือเป็นภาษาถิ่นที่ใช้พูดทางภาคตะวันตกของประเทศกัมพูชาบริเวณทิวเขาบรรทัด มีผู้ใช้จำนวนน้อย
ลักษณะของสำเนียงในพนมเปญ คือการออกเสียงอย่างไม่เคร่งครัด โดยที่บางส่วนของคำจะนำมารวมกัน หรือตัดออกไปเลย เช่น "พนมเปญ" จะกลายเป็น"มเปญ" อีกลักษณะหนึ่งของสำเนียงในพนมเปญ ปรากฏในคำที่มีเสียง r/ร เป็นพยัญชนะที่ 2 ในพยางค์แรก กล่าวคือ จะไม่ออกเสียง r/ร ออกเสียงพยัญชนะตัวแรกแข็งขึ้น และจะอ่านให้มีระดับเสียงตก เช่นเดียวกับวรรณยุกต์เสียงโท ตัวอย่างเช่น "dreey" ("เตรย" แปลว่า "ปลา") อ่านเป็น "เถ็ย" (โดย d จะกลายเป็น t และมีสระคล้ายเสียง "เอ" และเสียงสระจะสูงขึ้น) อีกตัวอย่างหนึ่งคือ คำว่า "ส้ม" ออกเสียงว่า kroich โกรชในชนบท ส่วนในเมืองออกเสียงเป็น koich โคช
ไวยากรณ์
ลำดับคำในภาษาเขมรมักจะเป็น ประธาน-กริยา-กรรม ภาษาเขมรประกอบด้วยคำเดี่ยวเป็นหลัก แต่การสร้างคำจากการเติมหน้าคำและการเติมภายในคำก็มีมาก ซึ่งไวยากรณ์นี้เป็นไวยากรณ์ชนิดเดียวกับภาษาไทยอีกด้วย
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคำศัพท์ภาษาไทย - เขมร
ดาวน์โหลด PDF รวมคำศัพท์ภาษาไทย - เขมรยอดนิยม
สำหรับใครที่อยากได้คำศัพท์ภาษาไทย - เขมร ในรูปแบบไฟล์ PDF สามารถกดที่ปุ่มดาวน์โหลดได้เลย
PDF – ตัวอย่าง คำศัพท์ภาษาไทย - เขมร ที่ใช้บ่อย