ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา ไง้, ไซ้, ไม้, ไค้, เครื่องใน, ไว้, ไสร้, เป็น, ไฟ, มะค่าแต้, ไม้ล้มลุก
ไต้
หมายถึงน. ของใช้สำหรับจุดไฟให้สว่างหรือทำเชื้อเพลิง ทำด้วยไม้ผุหรือเปลือกเสม็ดคลุกกับนํ้ามันยางแล้วห่อด้วยใบไม้เป็นดุ้นยาว ๆ หรือใส่กระบอก, ลักษณนามว่า ลูก, เรียกส่วนของไต้ที่ใช้เป็นเชื้อไฟ หรือส่วนของไต้ที่จุดและเขี่ยให้ร่วงหล่นลงว่า ขี้ไต้.
เสาไต้
หมายถึงน. เสาที่ปักขึ้นไว้สำหรับปักไต้จุดให้แสงสว่างในสมัยโบราณ.
ขี้ไต้
หมายถึงน. ส่วนของไต้ที่ใช้เป็นเชื้อไฟหรือส่วนของไต้ที่จุดและเขี่ยให้ร่วงหล่นลง.
จุดไต้ตำตอ
หมายถึง(สำ) ก. พูดหรือทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งบังเอิญไปโดนเอาเจ้าตัวหรือผู้ที่เป็นเจ้าของเรื่องนั้นเข้าโดยผู้พูดหรือผู้ทำไม่รู้ตัว.
กระปรอก,กระปรอก,กระปอก,กระปอก
หมายถึงน. ชื่อไต้ชนิดหนึ่ง ห่อด้วยใบพลวงหลายชั้น ลูกยาวใหญ่เหมือนไต้หาง แต่ไม่มีหาง ชาวทะเลและชาวชนบทชอบใช้สำหรับหาหอย กุ้ง ปลา เพราะดวงไฟใหญ่ไม่ใคร่ดับ.
มัด
หมายถึงก. ผูกรัดเข้าด้วยกัน, ผูกรัดให้แน่น. น. ลักษณนามเรียกของบางอย่างที่ผูกรัดเข้าด้วยกัน เช่น ไต้มัดหนึ่ง ฟืน ๒ มัด.
เสม็ด
หมายถึง[สะเหฺม็ด] น. ชื่อไม้ต้นชนิด Melaleuca cajuputi (Powell) L. ในวงศ์ Myrtaceae ใช้เปลือกและเนื้อไม้ผุคลุกกับนํ้ามันยางทำไต้ เรียกว่า ไต้เสม็ด ใบให้น้ำมันเขียว ใช้ทำยาได้.
เปลาะ,เปลาะ ๆ
หมายถึง[เปฺลาะ] น. ระยะที่มัดหรือขอดไว้เป็นตอน ๆ, ลักษณะที่มัดหรือขอดไว้เป็นตอน ๆ, เช่น ผูกเป็นเปลาะ แก้ปัญหาเป็นเปลาะ ๆ, ลักษณนามเรียกสิ่งที่มัดหรือผูกให้เป็นตอน ๆ เช่น มัดไต้ ๓ เปลาะ หรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ปัญหามี ๔ เปลาะ.
กระบอก
หมายถึงน. ชื่อปลานํ้ากร่อยและทะเลในสกุล Liza, Valamugil, Oedalechilus และ Mugil วงศ์ Mugilidae ลำตัวค่อนข้างกลม ปากเล็ก มีครีบหลัง ๒ ตอน เกล็ดใหญ่สีเงิน มีหลายชนิด มีชื่อเรียกแตกต่างกัน เช่น กระบอกท่อนไต้ (L. vaigiensis) กระบอกดำ (L. parsia) กระบอกขาว (V. seheli), กระเมาะ หรือ ละเมาะ ก็เรียก สำหรับปลาขนาดเล็ก, ปักษ์ใต้เรียก ยมก หรือ มก.
กะพ้อ
หมายถึงน. ชื่อปาล์มขนาดย่อมในสกุล Licuala วงศ์ Palmae มีหลายชนิด เช่น ชนิด L. spinosa Thunb. มักขึ้นเป็นกออยู่ริมทะเล หรือในที่ซึ่งนํ้าเค็มขึ้นถึง ลำต้นสูงถึง ๔ เมตร ใบกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง ๖๐-๑๑๐ เซนติเมตร แตกเป็นแฉกลึก ก้านใบยาว ขอบก้านมีหนาม, ชนิด L. peltata Roxb. ขึ้นตามป่าดอนในที่ชุ่มชื้นและที่แฉะ ลักษณะคล้ายชนิดแรก แต่ก้านใบลํ้าอยู่ใต้โคนใบ ทั้ง ๒ ชนิดใบใช้ห่อทำไต้ ห่อของ เย็บเป็นร่ม มุงหลังคาชั่วคราว ใบอ่อนใช้มวนบุหรี่, กะชิง ก็เรียก, ปักษ์ใต้เรียก ชิง หรือ ชิ่ง, ปาล์มพวกนี้เรียก พ้อ ก็มี เช่น ใบพ้อพันห่อหุ้ม กฤษณา. (โลกนิติ).