ค้นเจอ 16 รายการ

เวน

หมายถึงก. มอบหรือย้ายโอนในอาการที่สละกรรมสิทธิ์ซึ่งมีอยู่ในขณะนั้น เช่น เวนหน้าที่ให้ผู้รับผิดชอบคนต่อไป เวนราชสมบัติ.

กุเวร

หมายถึง[-เวน] น. ชื่อท้าวจาตุมหาราชองค์หนึ่ง ประจำทิศอุดร, ท้าวเวสวัณ หรือ ท้าวเวสสุวัณ ก็เรียก. (ป., ส.).

เวนคืน

หมายถึงก. โอนคืนที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์อย่างอื่นของเอกชนมาเป็นของรัฐ โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย.

เป็นวรรคเป็นเวร,เป็นวักเป็นเวน

หมายถึงว. ไม่รู้จักจบจักสิ้น เช่น ร้องไห้เป็นวรรคเป็นเวร.

เคน

หมายถึง(โบ) ก. ประเคน เช่น สิ่งสินเวนเคน. (ม. คำหลวง มหาราช).

กระเวนกระวน

หมายถึง(กลอน) ก. วนเวียน เช่น กระเวนกระวนกาม กวนอก พี่นา. (นิ. นรินทร์), หวนตลบ เช่น หอมกระเวนกระวน, เขียนเป็น กรเวนกรวล ก็มี เช่น ชื่อจลาจรเรนทร์ หอมกรเวนกรวล อาจจิญจญจวนใจ. (ม. คำหลวง มหาราช).

เวไนย

หมายถึงน. ผู้ควรแนะนำสั่งสอน, ผู้พึงดัดได้สอนได้, ใช้ว่า เวนย ก็มี เช่น จะให้เวนยชาติทั้งปวงได้. (นันโท). (ป. เวเนยฺย).

บริเวณ

หมายถึง[บอริเวน] น. พื้นที่ภายในขอบเขตที่กำหนดไว้ เช่น บริเวณบ้าน บริเวณโบสถ์ บริเวณวัด บริเวณสนามหลวง. (ป., ส. ปริเวณ).

ประจาน

หมายถึงก. ประกาศเปิดเผยความชั่วให้รู้ทั่วกันด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น พูดประจาน ตัดหัวเสียบประจาน พาตระเวนประจานทั่วเมือง. (ข. ผจาล ว่า ทำให้เข็ดหลาบ).

มอบ

หมายถึงก. เวนให้ เช่น มอบราชสมบัติ, สละให้ เช่น มอบกายถวายชีวิต มอบชีวิตเป็นราชพลี, ยกให้ เช่น มอบทรัพย์สมบัติ, ให้ไว้ เช่น มอบเงินให้เป็นค่าอาหารกลางวันแก่เด็กนักเรียน.

ตระเวน

หมายถึง[ตฺระ-] ก. ไปทั่ว ๆ รอบบริเวณ เช่น ตระเวนป่า พาตระเวนไปทั้งวัน, เที่ยวตรวจตรา เช่น พลตระเวน, พาไปทั่ว ๆ เพื่อประจาน ในความว่า นำนักโทษตระเวนไปทั่วเมือง, ใช้ว่า กระเวน ตะเวน หรือ ทะเวน ก็มี.

เวรกรรม

หมายถึง[เวนกำ] น. การกระทำที่สนองผลร้ายซึ่งทำไว้แต่ปางก่อน; คำแสดงความรู้สึกเดือดร้อนเพราะกรรมหรือชะตากรรมของตนในอดีต เช่น ไม่รู้ว่าเวรกรรมอะไรต้องมาตกระกำลำบากเมื่อแก่, กรรมเวร หรือ เวร ก็ว่า.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ