ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา สมังคี
สามัคคี
หมายถึงน. ความพร้อมเพรียงกัน, ความปรองดองกัน. ว. ที่พร้อมเพรียงกันทำ, ที่ร่วมมือร่วมใจกันทำ, เช่น กฐินสามัคคี ผ้าป่าสามัคคี. (ป.; ส. สามคฺรี).
พุทธศาสนสุภาษิต หมวด สามัคคี
แตกแยก
หมายถึงก. แตกสามัคคี.
ยุแหย่
หมายถึงก. ยุให้เขาแตกกัน เช่น ยุแหย่ให้เขาแตกสามัคคี.
ร้าวราน
หมายถึงก. แตกสามัคคีกัน เช่น การดูหมิ่นกันทำให้เกิดร้าวรานในหมู่เพื่อนฝูง.
แตกคอ
หมายถึงก. หมางใจกันเพราะภายหลังเกิดมีความเห็นหรือรสนิยมไม่ตรงกัน, แตกสามัคคี.
สมัครสมาน
หมายถึง[สะหฺมักสะหฺมาน] ก. เชื่อมสามัคคี เช่น จะทำการงานอะไรขอให้สมัครสมานกัน.
จุดประสงค์
หมายถึงน. ผลที่ประสงค์ให้บรรลุ เช่น การแข่งขันกีฬาครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ, วัตถุประสงค์ ก็ว่า.
เภท
หมายถึงน. การแบ่ง, การแตกแยก, การทำลาย, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส, เช่น สามัคคีเภท สังฆเภท; ส่วน, ภาค; ความแตกต่าง, ความแปลก; ชนิด, อย่าง. ก. แตก, หัก, ทำลาย, พัง. (ป., ส.).
ฉบัง
หมายถึง[ฉะ-] น. ชื่อกาพย์ชนิดหนึ่ง บทละ ๑๖ คำ แบ่งเป็น ๓ วรรค วรรคที่ ๑ และ ๓ มี ๖ คำ วรรคที่ ๒ มี ๔ คำ เช่น ไว้ปากไว้วากย์วาที ไว้วงศ์กระวี ไว้เกียรติ์และไว้นามกร (สามัคคีเภท). (ข. จฺบำง).
ร่วม
หมายถึงก. มีส่วนรวมอยู่ด้วยกัน เช่น ร่วมกิน ร่วมนอน, มีส่วนรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เช่น ร่วมใจ ร่วมสามัคคี, มีส่วนรวมในที่แห่งเดียวกัน เช่น ร่วมโรงเรียน ร่วมบ้าน ร่วมห้อง ร่วมหอ, มีส่วนรวมในภาวะหรือสถานะเดียวกัน เช่น เพื่อนร่วมชาติ มีศัตรูร่วมกัน ทำบุญร่วมญาติ ร่วมเป็นร่วมตาย ร่วมทุกข์ร่วมสุข ร่วมชะตากรรม. ว. ล่วงไปมากจวนถึงที่หมาย, เกือบ, เกือบถึง, เช่น ร่วมถึง ร่วมเสร็จ ทำมาร่วมเดือนแล้ว ซากสัตว์นี้มีอายุร่วม ๑,๐๐๐ ปี.
เลี้ยง
หมายถึงก. ดูแล, เอาใจใส่, บำรุง, เช่น เลี้ยงกล้วยไม้, ปรนปรือด้วยอาหารการกินเป็นต้น เช่น เลี้ยงสัตว์เลี้ยงลูก, เลี้ยงดู ก็ว่า; ประคับประคองให้ทรงตัวอยู่ได้ เช่น เลี้ยงชีพ เลี้ยงตะกร้อไว้ได้นาน ๆ; กินร่วมกันเพื่อความรื่นเริงหรือความสามัคคีเป็นต้น เช่น เลี้ยงเพื่อน เลี้ยงรุ่น เลี้ยงสังสรรค์; (ปาก) เป็นเจ้ามือจ่ายค่าอาหารหรือค่าบันเทิงเป็นต้น เช่น เลี้ยงโต๊ะจีน เลี้ยงหนัง.
แตก
หมายถึงก. แยกออกจากส่วนรวม เช่น แก้วแตก ชามแตก, ทำให้แยกออกจากส่วนรวม เช่น แตกสามัคคี แตกหมู่คณะ; คุมหรือควบคุมไว้ไม่อยู่ เช่น แตกฝูง ไฟธาตุแตก ใจแตก ตบะแตก; ปะทุ เช่น ถ่านแตก; ผลิ เช่น แตกกิ่งก้าน แตกใบอ่อน แตกหน่อ; ไหลออกมาเอง เช่น เหงื่อแตก เยี่ยวแตก ขี้แตก; มีรอยแยก, แยกออกเป็นรอย, เช่น กำแพงแตก หน้าขนมแตก; เรียกผู้อ่านหนังสือออกคล่องว่า อ่านหนังสือแตก, เรียกเสียงห้าวเมื่อเริ่มเป็นหนุ่มว่า เสียงแตก, เรียกอาการที่พูดจนแสบคอหรือตะโกนดังจนสุดเสียงว่า พูดจนคอแตก ตะโกนจนคอแตก.