ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา ศัล,ศัลกะ, สิกขา, วันอุโบสถ, ราชธรรม, อริยทรัพย์, บารมี, ไตรสิกขา, ทศพิธราชธรรม, อินทขีล
รับศีล
หมายถึงก. ถือศีล, สมาทานศีล.
พุทธศาสนสุภาษิต หมวด ศีล
ปราชญ์ พึงรักษาศีล
คำราชาศัพท์ ที่ใช้กับ พระภิกษุสงฆ์
ให้ศีล
หมายถึงก. อาการที่พระภิกษุบอกศีลให้ผู้ศรัทธาสมาทานรับ เช่น ทุกคนควรสำรวมกิริยาเวลาพระให้ศีล.
ศีล
หมายถึง[สีน] น. ข้อบัญญัติทางพระพุทธศาสนาที่กำหนดการปฏิบัติกายและวาจา เช่น ศีล ๕ ศีล ๘, การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม; (ดู ทศพิธราชธรรม และ ราชธรรม); พิธีกรรมบางอย่างทางศาสนา เช่น ศีลจุ่ม ศีลมหาสนิท. (ส. ศีล ว่า ความประพฤติที่ดี; ป. สีล).
สิกขา
หมายถึงน. ข้อที่จะต้องศึกษา, ข้อที่จะต้องปฏิบัติ ได้แก่ ศีล เรียกว่า ศีลสิกขา สมาธิ เรียกว่า จิตสิกขา และปัญญา เรียกว่า ปัญญาสิกขา รวมเรียกว่า ไตรสิกขา; การศึกษา, การเล่าเรียน, เช่น ปริยัติสิกขา ปฏิบัติสิกขา. (ป.; ส. ศิกฺษา).
ทรงศีล
หมายถึงรับศีล
วันอุโบสถ
หมายถึงน. วันขึ้น ๑๕ คํ่า และวันแรม ๑๕ คํ่า ถ้าเป็นเดือนขาดก็แรม ๑๔ คํ่า เป็นวันที่พระลงอุโบสถฟังพระปาติโมกข์และเป็นวันที่พุทธศาสนิกชนถืออุโบสถศีลคือ ศีล ๘.
ราชธรรม
หมายถึงน. จริยวัตรที่พระเจ้าแผ่นดินพึงประพฤติ, คุณธรรมของผู้ปกครองบ้านเมือง, มี ๑๐ ประการ เรียกว่า ทศพิธราชธรรม ได้แก่ ๑. ทาน-การให้ ๒. ศีล-ความประพฤติดีงาม ๓. ปริจจาคะ-การบริจาค, ความเสียสละ ๔. อาชชวะ-ความซื่อตรง ๕. มัททวะ-ความอ่อนโยน ๖. ตปะ-ความเพียรเครื่องเผาผลาญกิเลสตัณหา ๗. อักโกธะ-ความไม่โกรธ ๘. อวิหิงสา-ความไม่เบียดเบียน ๙. ขันติ-ความอดทน ๑๐. อวิโรธนะ-ความไม่คลาดธรรม. (ส.).
อริยทรัพย์
หมายถึงน. ทรัพย์อันประเสริฐ มี ๗ ประการ คือ ศรัทธา ศีล หิริ โอตตัปปะ พาหุสัจจะ จาคะ ปัญญา. (ป. อริย + ส. ทฺรวฺย).
บารมี
หมายถึง[-ระมี] น. คุณความดีที่ควรบำเพ็ญมี ๑๐ อย่าง คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ (การออกจากกาม คือ บวช) ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิฏฐาน เมตตา อุเบกขา เรียกว่า ทศบารมี; คุณความดีที่ได้บำเพ็ญมา, คุณสมบัติที่ทำให้ยิ่งใหญ่, เช่นว่า ชมพระบารมี พระบารมีปกเกล้าฯ พ่ายแพ้แก่บารมี. (ป. ปารมี).
นิจศีล
หมายถึง[นิดจะสีน] น. ศีลที่ควรรักษาเป็นนิจ ได้แก่ ศีล ๕. ว. เป็นปรกติเสมอไป, มักใช้ว่า เป็นนิจศีล. (ป. นิจฺจสีล).
เบญจศีล
หมายถึงศีล ๕ ได้แก่ ๑. งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ๒. งดเว้นจากการลักทรัพย์ ๓. งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ๔. งดเว้นจากการพูดเท็จ ๕. งดเว้นจากการเสพสุราเมรัย คู่กับ เบญจธรรม
ไตรสิกขา
หมายถึงน. สิกขา ๓ คือ ศีล เรียกว่า สีลสิกขา สมาธิ เรียกว่า จิตสิกขา และปัญญา เรียกว่า ปัญญาสิกขา.