ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา วิทย,วิทย-, เทหวัตถุ, วิชา, สนามแม่เหล็ก, กลูโคส, กาแล็กโทส, ตะกั่ว, สมบัติ, พลังงาน, พิทยาคม
เทหวัตถุ
หมายถึง[เทหะ-] (วิทยา) น. ก้อนหรือชิ้นหรือส่วนหนึ่งของสสาร อาจเป็นของแข็ง ของเหลว หรือแก๊ส ก็ได้. (อ. body).
วิชา
หมายถึงน. ความรู้, ความรู้ที่ได้ด้วยการเล่าเรียนหรือฝึกฝน, เช่น วิชาภาษาไทย วิชาช่าง วิชาการฝีมือ. (ป. วิชฺชา; ส. วิทฺยา).
สนามแม่เหล็ก
หมายถึง(วิทยา) น. บริเวณที่มีอำนาจแม่เหล็ก, บริเวณที่มีเส้นแรงแม่เหล็กผ่าน.
กลูโคส
หมายถึง[กฺลู-] (วิทยา) น. นํ้าตาลชนิดหนึ่งประเภทโมโนแซ็กคาไรด์ ชนิดแอลโดเฮ็กโซส ลักษณะเป็นของแข็งสีขาว หลอมละลายที่ ๑๔๖ °ซ. มีในผลองุ่นสุก นํ้าผึ้ง และผลไม้โดยมากที่มีรสหวาน เป็นองค์ประกอบปรกติในเลือด และมีในปัสสาวะของผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน มีรสหวานน้อยกว่านํ้าตาลทราย, เดกซ์โทรส ก็เรียก. (อ. glucose).
กาแล็กโทส
หมายถึง(วิทยา) น. นํ้าตาลชนิดหนึ่งประเภทโมโนแซ็กคาไรด์ ชนิดแอลโดเฮ็กโซส ลักษณะเป็นของแข็งสีขาว มีรสหวานน้อยกว่านํ้าตาลทราย หลอมละลายที่ ๑๖๕ °ซ.-๑๖๘ °ซ. โมเลกุลของกาแล็กโทสเชื่อมโยงกับโมเลกุลของกลูโคสเป็นโมเลกุลของแล็กโทสซึ่งมีในนํ้านม. (อ. galactose).
ตะกั่ว
หมายถึงน. แร่จำพวกโลหะ มีลักษณะอ่อน ละลายตัวง่าย มีหลายชนิดด้วยกัน ได้แก่ ตะกั่วเกรียบ คือ ตะกั่วกรอบ ตะกั่วนม คือ ตะกั่วอ่อน; (โบ) ดีบุก เช่น ตะกั่วทุ่ง ตะกั่วป่า; (วิทยา) ธาตุลำดับที่ ๘๒ สัญลักษณ์ Pb เป็นโลหะสีขาวแกมนํ้าเงิน ลักษณะเป็นของแข็ง เนื้ออ่อน หลอมละลายที่ ๓๒๗.๔ °ซ. ใช้ประโยชน์ผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ สารประกอบของตะกั่วใช้ในอุตสาหกรรมสีทา ตะกั่วและสารประกอบของตะกั่วเป็นพิษต่อร่างกาย. (อ. lead).
วิทยา
หมายถึง[วิดทะยา] น. ความรู้, มักใช้ประกอบกับคำอื่น เช่น วิทยากร วิทยาคาร จิตวิทยา สังคมวิทยา. (ส.).
สมบัติ
หมายถึง(วิทยา) น. ลักษณะประจำของสาร เช่น ไอโอดีน มีสมบัติเป็นอโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง สีเทาดำเป็นเงาวาว หลอมละลายที่ ๑๑๔ °ซ. เมื่อระเหิดให้ไอสีม่วง.
พลังงาน
หมายถึง(วิทยา) น. ความสามารถซึ่งมีอยู่ในตัวของสิ่งที่อาจให้แรงงานได้. (อ. energy).
พิทยาคม
หมายถึงน. การเล่าเรียนวิชา, เวทมนตร์. (ส. วิทฺยา + อาคม).
ยืดหยุ่น
หมายถึง(วิทยา) ว. ลักษณะที่วัตถุสามารถกลับคืนสู่รูปทรงเดิมได้หลังจากแรงที่มากระทำต่อวัตถุนั้นหยุดกระทำ; โดยปริยายหมายความว่า รู้จักผ่อนสั้นผ่อนยาว, ไม่ตายตัว, อะลุ่มอล่วย, เปลี่ยนแปลงได้.
ละลาย
หมายถึงก. อาการที่ของแข็งเปลี่ยนสภาพเป็นของเหลวด้วยความร้อน เช่น นํ้าแข็งละลาย; คลายตัวหรือทำให้คลายตัวซึมซาบสลายไปในนํ้าหรือของเหลว เช่น ยาละลาย เกลือละลายในนํ้า ละลายยาหอม ละลายนํ้าตาลในนํ้ากะทิ, โดยปริยายหมายความว่า หายไป, หมดไป, เช่น พอเห็นนํ้าตา ความโกรธแค้นก็ละลายหายไป เอาเงินไปละลายในวงไพ่หมด; (วิทยา) อาการที่สารอย่างหนึ่งแผ่กระจายในสารอีกอย่างหนึ่งอย่างสมํ่าเสมอโดยไม่มีปฏิกิริยาเคมีต่อกัน เช่น คาร์บอนละลายในเหล็ก แอลกอฮอล์ละลายในนํ้า แก๊สออกซิเจนละลายในแก๊สไนโตรเจน ผลที่ได้เรียกว่า สารละลาย.