ตัวกรองผลการค้นหา
ล
หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๓๖ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กนอย่างตัว น ในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น กาล พาล ฟุตบอล.
หมวด สัตว์และเบ็ดเตล็ด
พฤตินัย
หมายถึง(กฎ) น. ความหมายตามข้อเท็จจริง (ล. de facto), ต่างกับ นิตินัย คือ ความหมายตามกฎหมาย (ล. de jure).
นิตินัย
หมายถึง(กฎ) น. ความหมายตามกฎหมาย (ล. de jure), ต่างกับ พฤตินัย คือ ความหมายตามข้อเท็จจริง (ล. de facto).
คชนาม
หมายถึงน. นามราหู, อักษรชื่อที่ขึ้นต้นด้วย ย ร ล ว.
กรอกแกรก
หมายถึง[กฺรอกแกฺรก] (โบ) น. การเล่นพนันชนิดหนึ่ง. (ราชกิจจา. ล. ๑).
ปัจฉิมลิขิต
หมายถึง[ปัดฉิม-] น. “เขียนภายหลัง” คือหนังสือที่เขียนเพิ่มเติมลงท้ายเมื่อเซ็นชื่อแล้ว, ใช้อักษรย่อว่า ป.ล.
กน
หมายถึงน. เรียกคำหรือพยางค์ที่มีตัว ญ ณ น ร ล ฬ สะกด ว่า แม่กน หรือ มาตรากน.
กรวน
หมายถึง[กฺรวน] (ถิ่น-ภูเก็ต) น. กลอยทำเป็นชิ้นเล็ก ๆ. (วิทยาจารย์ ล. ๑๖ ต. ๒).
ลดรูป
หมายถึงก. ตัดรูปสระบางรูปออกเมื่อมีตัวสะกด แต่คงออกเสียงสระอย่างเดิม เช่น ในคำว่า ลง มี ล สระ โ-ะ ง สะกด ลดรูปสระ โ-ะ เป็น ลง.
การันต์
หมายถึง“ที่สุดอักษร”, ตัวอักษรที่ไม่ออกเสียง ซึ่งมีไม้ทัณฑฆาตกำกับไว้ เช่นตัว “ต์” ในคำว่า “การันต์” (ปาก) เรียกตัวอักษรที่มีไม้ทัณฑฆาตกำกับ เช่น ล์ ว่า ล การันต์ ค์ ว่า ค การันต์
โฆษะ
หมายถึงว. ก้อง, เสียงสระหรือพยัญชนะซึ่งขณะที่เปล่งออกมาเส้นเสียงสั่นในภาษาไทยได้แก่เสียง บ ด เมื่อเป็นพยัญชนะต้น เสียง ง น ม ย ร ล ว และเสียงสระทุกเสียง, (ไว) เรียกพยัญชนะในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงก้องว่า พยัญชนะโฆษะ ได้แก่ พยัญชนะตัวที่ ๓, ๔, ๕ ของวรรค และ ย ร ล ว ห ฬ. (ส.; ป. โฆส).
เศษวรรค
หมายถึง[เสสะวัก, เสดวัก] น. พยัญชนะที่เหลือวรรคหรือที่เข้าอยู่ในวรรคทั้ง ๕ ไม่ได้ มี ๑๐ ตัว คือ ย ร ล ว ศ ษ ส ห ฬ ํ, อวรรค ก็เรียก.