ค้นเจอ 16 รายการ

 หรือคุณกำลังค้นหา กัด, ศตภิษัช,สตภิสชะ, พิกัน

พิกัด

หมายถึงน. กำหนด (ของต้องพิกัด หมายความว่า ของเข้ากำหนดที่จะต้องเสียภาษีอากร).

พิกัด

หมายถึง(คณิต) น. จำนวนจริง ๒ จำนวนซึ่งเป็นคู่ลำดับ ที่แทนจุดจุดหนึ่งบนระนาบ จำนวนแรกของคู่ลำดับเรียกว่า พิกัด x เป็นระยะตั้งฉากที่จุดนั้นห่างจากแกนดิ่ง ส่วนจำนวนที่ ๒ ของคู่ลำดับเรียกว่า พิกัด y เป็นระยะตั้งฉากที่จุดนั้นห่างจากแกนนอน. (อ. coordinates).

กัด

หมายถึง(โบ) น. พิกัด. ก. กะ เช่น ซ้นนกัดค่าพระราชกุมาร. (ม. คำหลวง กุมาร).

อนุกระเบียด

หมายถึง(โบ) น. มาตราวัดของไทย มีพิกัดเท่ากับครึ่งกระเบียดหรือ ๑ ใน ๘ ของนิ้ว.

ตะล่อม

หมายถึงน. อัตราตวงของโบราณ มีพิกัดเท่ากับ ๔ เกวียน, และ ๕ ตะล่อม เป็น ๑ ยุ้ง.

ตะลอง

หมายถึงน. อัตราตวงของโบราณ มีพิกัดเท่ากับ ๔ กระชุก, และ ๔ ตะลอง เป็น ๑ เกวียน.

กระผีก

หมายถึงน. มาตราตวง มีพิกัดเท่ากับ ๑ ภาค (คือ ๑ ใน ๔) ของกระเพาะ. ว. เล็กน้อย.

ขัด

หมายถึง(โบ; กลอน) ก. คาด เช่น มีพิกัดขัดค่าเป็นราคาน้อยมาก. (ม. ร่ายยาว มหาราช).

ตำแหน่งที่ตั้ง

หมายถึง(คณิต) น. พิกัดหรือจำนวนจริงชุดหนึ่ง ซึ่งแสดงระยะที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่ห่างจากแกนอ้างอิงที่กำหนดไว้แล้ว, ตำแหน่งที่ ก็เรียก.

กหาปณะ

หมายถึง[กะหาปะนะ] (แบบ) น. เงินตรามีพิกัดเท่ากับ ๒๐ มาสก หรือ ๑ ตำลึง คือ ๔ บาท. (ป.).

กระชุก

หมายถึงน. ภาชนะสานรูปกลมสูง สำหรับบรรจุของเช่นนุ่นหรือถ่าน, กระชุ ก็ว่า; อัตราตวงของโบราณ มีพิกัดเท่ากับ ๕ สัด, และ ๔ กระชุก เป็น ๑ ตะลอง.

กระเชอ

หมายถึงน. ภาชนะสานคล้ายกระจาดขนาดเล็ก แต่สูงกว่า ก้นสอบ ปากกว้าง ใช้กระเดียด; อัตราตวงของโบราณ มีพิกัดเท่ากับ ๕ ทะนาน, และ ๕ กระเชอ เป็น ๑ สัด, กันเชอ ก็เรียก. (เทียบ ข. กญฺเชิ).

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ