ค้นเจอ 9 รายการ

ทองนพคุณ

หมายถึงน. ทองคำเนื้อเก้า เป็นทองบริสุทธิ์ โบราณกำหนดราคาตามคุณภาพของเนื้อทอง หนัก ๑ บาท เป็นเงิน ๙ บาท เรียกว่า ทองเนื้อเก้า หรือ ทองนพคุณเก้าน้ำ, เรียกสั้น ๆ ว่า ทองนพคุณ, ทองธรรมชาติ ทองเนื้อแท้ หรือ ทองชมพูนุท ก็เรียก.

ทองธรรมชาติ

หมายถึงน. ทองคำเนื้อเก้า เป็นทองบริสุทธิ์, ทองเนื้อเก้า ทองเนื้อแท้ ทองนพคุณ หรือ ทองชมพูนุท ก็เรียก.

ทองนพคุณเก้าน้ำ

หมายถึงน. ทองนพคุณ.

ทองคำ

หมายถึงน. ธาตุลำดับที่ ๗๙ สัญลักษณ์ Au เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีเหลือง หลอมละลายที่ ๑๐๖๓ °ซ. เนื้ออ่อนมาก บุให้เป็นแผ่นจนมีความหนาน้อยกว่า ๐.๐๐๐๑ มิลลิเมตรได้ ใช้ทำรูปพรรณต่าง ๆ และทำเงินตรา ปัจจุบันกำหนดความบริสุทธิ์ของทองคำด้วยหน่วยกะรัต โดยกำหนดว่า ทองคำ ๒๔ กะรัตเป็นทองคำบริสุทธิ์ที่สุด, โบราณกำหนดคุณภาพของเนื้อ ตั้งแต่เนื้อสี่ถึงเนื้อเก้า โดยตั้งพิกัดราคาตามเนื้อทอง เช่น ทองเนื้อหก คือ ทองหนัก ๑ บาท ราคา ๖ บาท ทองเนื้อเก้า คือ ทองหนัก ๑ บาท ราคา ๙ บาท. (ประกาศ ร. ๔), ทองเนื้อเก้านี้เป็นทองแท้เป็นทองบริสุทธิ์ เรียกว่า ทองธรรมชาติ ทองเนื้อแท้ ทองนพคุณ หรือบางทีเรียกว่า ทองชมพูนุท เช่นว่า ดังทองชมพูนุทเนื้อเก้า. (สังข์ทอง ตอนตีคลี). (อ. gold).

ทองเนื้อแท้

หมายถึงน. ทองคำเนื้อเก้า เป็นทองบริสุทธิ์, ทองเนื้อเก้า ทองธรรมชาติ ทองนพคุณ หรือ ทองชมพูนุท ก็เรียก.

ทองชมพูนุท

หมายถึงน. ทองคำเนื้อเก้า เป็นทองบริสุทธิ์ มีสีเหลืองเข้มออกแดง, ทองเนื้อเก้า ทองธรรมชาติ ทองเนื้อแท้ หรือ ทองนพคุณ ก็เรียก.

ทองเนื้อเก้า

หมายถึงน. ทองคำบริสุทธิ์ โบราณกำหนดคุณภาพของเนื้อตั้งแต่เนื้อสี่ถึงเนื้อเก้า โดยตั้งพิกัดราคาตามเนื้อทอง คือ ทองหนัก ๑ บาท ราคา ๙ บาท, ทองธรรมชาติ ทองเนื้อแท้ ทองนพคุณ หรือ ทองชมพูนุท ก็เรียก.

นพคุณ

หมายถึง[นบพะ-] น. ทองคำเนื้อเก้า เป็นทองบริสุทธิ์ โบราณกำหนดราคาตามคุณภาพของเนื้อ หนัก ๑ บาท เป็นราคาเงิน ๙ บาท เรียกว่า ทองเนื้อเก้า หรือ ทองนพคุณเก้านํ้า, เรียกสั้น ๆ ว่า ทองนพคุณ.

เนื้อ

หมายถึงน. ส่วนของร่างกายคนและสัตว์อยู่ถัดหนังเข้าไป; เนื้อวัวหรือเนื้อควายที่ใช้เป็นอาหาร เช่น แกงเนื้อ; สิ่งที่เป็นลักษณะประจำตัวของสิ่งต่าง ๆ เช่น เนื้อไม้ เนื้อเงิน เนื้อทอง; ส่วนที่อยู่ถัดเปลือกของผลไม้ต่าง ๆ เช่น เนื้อมะม่วง เนื้อทุเรียน; สิ่งที่ประกอบกันเป็นตัวอาหาร, คู่กับ นํ้า เช่น แกงมีแต่นํ้าไม่มีเนื้อ เอาแต่เนื้อ ๆ; สาระสำคัญ เช่น เนื้อเรื่อง; คุณสมบัติของเนื้อทองคำและเงินเป็นต้น เช่น ทองเนื้อเก้า เงินเนื้อบริสุทธิ์; (โบ) ราคาทองคำเป็นเงินบาทตามคุณภาพของเนื้อทอง เช่น ทองคำหนัก ๑ บาท เป็นราคาเงิน ๘ บาท เรียกว่า ทองเนื้อแปด, ถ้าเป็นราคาเงิน ๙ บาท เรียกว่า ทองเนื้อเก้า หรือ ทองนพคุณเก้าน้ำ; โดยปริยายหมายความว่า ทุนเดิม, เงิน, ทรัพย์, เช่น เข้าเนื้อ ชักเนื้อควักเนื้อตัวเอง.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ