ค้นเจอ 18 รายการ

ครั้น

หมายถึง[คฺรั้น] สัน. เมื่อ.

เช้า

หมายถึง(โบ) น. กระเช้า เช่น ครั้นเช้าก็หิ้วเช้า. (ม. คำหลวง มัทรี).

ขย่อน

หมายถึง[ขะหฺย่อน] ว. กระชั้น เช่น ครั้นไก่ขันขย่อนค่อนคืน. (มณีพิชัย).

ชุ่ง

หมายถึง(โบ) สัน. จึ่ง, จวน, เช่น ครั้นชุ่งจะใกล้อ้า ค่อยผ้ายโชยชาย. (ลอ).

กำลูน

หมายถึง(โบ) ว. น่ากรุณา, น่าเอ็นดู, น่าสงสาร, เช่น ครั้นเห็นยิ่งระทดกำลูนสลดชีวา. (ม. คำหลวง มัทรี). (ป. กลูน).

ตระบอง

หมายถึง[ตฺระ-] น. ตะบอง เช่น ครั้นพ้นขึ้นมาเปนเปรตถือตระบองเหลกลุกเปนเปลวเพลิง. (สามดวง), กระบอง ก็ว่า.

สะพัด

หมายถึง(วรรณ) ก. ผูก, คาด, ล้อม, เช่น ครั้นราตรีดึกสงัด เขาก็สะพัดสามรอบ. (ลอ), กระพัด ก็ว่า.

ซื้อหน้า

หมายถึงก. เสนอหน้า, สำแดงตัวออกมาให้เห็น, เช่น ครั้นตอบพี่มึงถึงแต้ม อีแสนแนมซื้อหน้าเข้ามาสู้. (ไกรทอง); กู้หน้า เช่น ยอมเสียเงินเพื่อซื้อหน้า.

ตัวเป็นเกลียว

หมายถึง(สำ) ว. อาการที่ทำงานอย่างขยันขันแข็งมากจนไม่มีเวลาได้พักผ่อน; แสดงกิริยาท่าทางด้วยความรู้สึกรุนแรง เช่น ครั้นได้ข่าวผัวตัวเป็นเกลียว. (ไกรทอง).

สะพัด

หมายถึงก. ล้อมไว้, กั้นไว้, เช่น ครั้นราตรีดึกสงัด เขาก็สะพัดสามรอบ. (ลอ). ว. อาการที่เคลื่อนไหวเรื่อยไปอย่างรวดเร็วดุจกระแสน้ำไหล เช่น ข่าวแพร่สะพัด เงินหมุนเวียนสะพัด, ตะพัด ก็ว่า.

ชนมาพิธี,ชนมายุพิธี

หมายถึง[ชนนะ-] น. อายุ, อายุขัย, กำหนดอายุ, เช่น ครั้นว่าจะสิ้นชนมาพิธีแล้วก็เสด็จเข้าสู่นฤพานแล. (ไตรภูมิ), ก็อยู่จนสิ้นชนมายุพิธี ในธรณีดลน้นน. (ม. คำหลวง ทศพร). (พิธี ว่า กำหนด).

มโนมัย

หมายถึงว. สำเร็จด้วยใจ, ใช้ประกอบกับ ม้า หมายความว่า ม้าที่ใช้ขับขี่รวดเร็วได้ดังใจ. (กลอน) น. ม้า เช่น ครั้นถึงจึงสั่งข้าไท เร่งผูกมโนมัยที่เคยขี่. (บทละครสังข์ทอง). (ป., ส.).

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ