ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา สระ, เสียงสระ, ลดรูป, ชลสถาน, สรแทบ, สระคราญ, สระดะ, สระพรั่ง, สระอาด, อาธาร, สรดัก, สรตัก
สระ
หมายถึง[สะระ] น. เสียง. (ป.; ส. สฺวร).
การใช้สระ
สัมผัสสระ
หมายถึงน. สัมผัสที่มีเสียงสระหรือเสียงสระกับตัวสะกดในมาตราเดียวกัน เช่น . (เพลงยาวถวายโอวาท), . (นิ. วัดสิงห์).
เสียงสระ
หมายถึงน. เสียงพูดที่เปล่งออกมาโดยอาศัยการเคลื่อนไหวของลิ้นและริมฝีปากเป็นสำคัญ แต่ไม่มีการสกัดกั้นจากอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งในปาก เช่น เสียง อะ อา โดยทั่วไปจะออกเสียงสระร่วมกับเสียงพยัญชนะ หรือออกเสียงเฉพาะเสียงสระอย่างเดียวก็ได้, สระ ก็เรียก.
ทีฆสระ
หมายถึงน. สระที่มีเสียงยาว ในภาษาบาลีได้แก่ อา อี อู เอ โอ, ในภาษาสันสกฤตได้แก่ อา อี อู เอ ไอ โอ ฤๅ ฦๅ เอา, ในภาษาไทยได้แก่ อา อี อือ อู เอ แอ โอ ออ เออ เอีย เอือ อัว ฤๅ ฦๅ.
หมายถึง[สะ] น. แอ่งนํ้าขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นเองหรือคนขุด. (ป. สร; ส. สรสฺ).
หมายถึง[สฺระ] คำที่แผลงมาจากคำที่ขึ้นต้นด้วยคำ สะ ซึ่งใช้ในบทกลอน เช่น สะท้อน เป็น สระท้อน.
มัตสระ
หมายถึง[มัดสะระ] ว. ตระหนี่, เห็นแก่ตัว, ริษยา. (ส. มตฺสร; ป. มจฺฉร).
อิสระ
หมายถึง[อิดสะหฺระ-] ว. เป็นใหญ่, เป็นไทแก่ตัว, เช่น อิสรชน, ที่ปกครองตนเอง เช่น รัฐอิสระ, ไม่ขึ้นแก่ใคร, ไม่สังกัดใคร, เช่น อาชีพอิสระ นักเขียนอิสระ. น. ความเป็นไทแก่ตัว เช่น ไม่มีอิสระ แยกตัวเป็นอิสระ. (ป. อิสฺสร; ส. อีศฺวร).
อรรธสระ
หมายถึง[อัดทะสะหฺระ] น. เสียงกึ่งสระกึ่งพยัญชนะ.
รัสสระ
หมายถึง[รัดสะสะหฺระ] น. สระที่มีเสียงสั้น ในภาษาบาลีได้แก่ อ อิ อุ, ในภาษาสันสกฤตได้แก่ อ อิ อุ ฤ ฦ, ในภาษาไทยได้แก่ อ อิ อึ อุ เอะ แอะ โอะ เอาะ เออะ เอียะ เอือะ อัวะ ฤ ฦ อำ ใอ ไอ เอา. (ป.).
สรุสระ
หมายถึง[สะหฺรุสะหฺระ] ว. ขรุขระ, ไม่เรียบร้อย.
อาภัสระ
หมายถึง[-พัดสะระ] น. ชื่อพรหมโลกชั้น ๑ ในรูปพรหม ๑๖ ชั้น, เรียกพรหมซึ่งอยู่ชั้นนี้ว่า อาภัสรพรหม. ว. สว่าง, สุกใส, เปล่งปลั่ง. (ป. อาภสฺสร).