คำราชาศัพท์ คืออะไร รวมคำราชาศัพท์ทุกหมวด พร้อมความหมาย
ราชาศัพท์ คำราชาศัพท์ คืออะไร
คำราชาศัพท์ ถ้าแปลตามรูปศัพท์ หมายถึง คำศัพท์สำหรับพระมหากษัตริย์ คำราชาศัพท์ใช้กับพระมหากษัตริย์ เจ้านายหรือพระบรมวงศานุวงศ์ พระสงฆ์และคนสุภาพ ราชาศัพท์เป็นวัฒนธรรมทางภาษาที่ชาวไทยใช้สื่อสารกับบุคคลดังกล่าวด้วยความเชื่อและการยกย่องมาแต่โบราณกาล และยังใช้อยู่ในปัจจุบัน
หมวดหมู่คำราชาศัพท์
คำราชาศัพท์นั้นสามารถแบ่งออกได้เป็นทั้งหมด 12 หมวด ได้แก่
- คำราชาศัพท์ หมวดกริยา
- คำราชาศัพท์ หมวดคำสุภาพ
- คำราชาศัพท์ หมวดคำอวยพร
- คำราชาศัพท์ หมวดเครื่องใช้ทั่วไป
- คำราชาศัพท์ หมวดเครื่องประดับ
- คำราชาศัพท์ หมวดเครื่องภาชนะใช้สอย
- คำราชาศัพท์ หมวดเครือญาติ
- คำราชาศัพท์ หมวดพระสงฆ์
- คำราชาศัพท์ หมวดร่างกาย
- คำราชาศัพท์ หมวดสรรพนาม
- คำราชาศัพท์ หมวดสัตว์และเบ็ดเตล็ด
- คำราชาศัพท์ หมวดอาหาร
คำราชาศัพท์ในหมวดหมู่ต่าง ๆ พร้อมความหมาย
คำราชาศัพท์ หมวด กริยา
# | คำราชาศัพท์ | คำสามัญ |
---|---|---|
1 | ชำระพระหัตถ์ | ล้างมือ |
2 | ตรัส | พูดด้วย |
3 | ถวายความเคารพ | ทำความเคารพ, แสดงการเคารพ |
4 | ถวายบังคม | ไหว้ |
5 | ทรงถาม, ตรัสถาม | ถาม |
6 | ทรงทักทาย, ตรัสทักทาย | ทักทาย ทรงทักทายอย่างไม่เป็นทางการกับบุคคลทั่วไป |
7 | ทรงปราศรัย | ปราศรัย |
8 | ทรงพระกาสะ | ไอ |
9 | ทรงพระปรมาภิไธย | ลงลายมือชื่อ |
10 | ทรงพระปินาสะ | จาม |
11 | ทรงพระราชนิพนธ์ | แต่งหนังสือ |
12 | ทรงพระสรวล | หัวเราะ |
13 | ทรงพระอักษร | เรียน เขียน อ่าน |
14 | ทรงพระเกษมสำราญ | สุขสบาย |
15 | ทรงยืน | ยืน |
16 | ทรงสัมผัสมือ | จับมือ |
17 | ทรงห่วงใย | ห่วงใย |
18 | ทรงอวยพร | อวยพร |
19 | ทรงเครื่อง | แต่งตัว |
20 | ทอดพระเนตร | ดู |
21 | บรรทม | นอน |
22 | ประทับ | นั่ง |
23 | พระดำรัส | คำพูด |
24 | พระดำรัสสั่ง | คำสั่ง |
25 | พระดำริ | ความคิด |
26 | พระบรมราชวินิจฉัย | คำวินิจฉัย, การวินิจฉัย |
27 | พระบรมราชวินิจฉัย | ตัดสิน |
28 | พระบรมราชินูปถัมภ์ | การเกื้อกูล, การอุปถัมภ์ |
29 | พระบรมราชูปถัมภ์, พระบรมราโชปถัมภ์ | การเกื้อกูล, การอุปถัมภ์ |
30 | พระบรมราชโองการ | คำสั่ง |
31 | พระบรมราโชวาท | คำสอน |
32 | พระบวรราชโองการ | คำสั่ง |
33 | พระบัญชา | คำสั่ง |
34 | พระบัณฑูร | คำสั่ง |
35 | พระปุจฉา | คำถาม |
36 | พระราชดำรัส | คำพูด |
37 | พระราชดำรัส, พระราชกระแส, กระแสพระราชดำรัส | คำพูด |
38 | พระราชดำรัสสั่ง | คำสั่ง |
39 | พระราชดำริ | ความคิด |
40 | พระราชทาน | ให้ |
คำราชาศัพท์ หมวด คำสุภาพ
# | คำราชาศัพท์ | คำสามัญ |
---|---|---|
41 | ขนมใส่ไส้ | ขนมสอดไส้ |
42 | คนคลอดลูก | คนออกลูก |
43 | ผลไม้ | ลูกไม้ |
คำราชาศัพท์ หมวด คำอวยพร
# | คำราชาศัพท์ | คำสามัญ |
---|---|---|
44 | อาศิรวาท | อวยพร สดุดี สรรเสริญ |
คำราชาศัพท์ หมวด พระสงฆ์
# | คำราชาศัพท์ | คำสามัญ |
---|---|---|
45 | กุฏิ | เรือนที่พักในวัด |
46 | คิลานเภสัช | ยารักษาโรค |
47 | จังหัน | อาหาร |
48 | จำวัด | นอน |
49 | ฉัน | รับประทาน |
50 | ถาน,เวจกุฎี | ห้องสุขา |
51 | นิมนต์ | เชิญ |
52 | ประเคน | ถวาย |
53 | ปลงผม | โกนผม |
54 | ปัจจัย | เงิน |
55 | พระบัญชา | คำสั่ง(พระสังฆราช) |
56 | พระสมณสาสน์ | จดหมาย(พระสังฆราช) |
57 | พระแท่น | ธรรมาสน์(พระสังฆราช) |
58 | พระโอวาท | คำสอน(พระสังฆราช) |
59 | ภัตตาหาร | อาหาร |
60 | มรณภาพ | ตาย |
61 | รูป | ลักษณนามสำหรัพระภิกษุ |
62 | ลิขิต | จดหมาย |
63 | ลิขิต | จดหมาย |
64 | สรงน้ำ | อาบน้ำ |
65 | สลากภัต | อาหารถวายพระด้วยสลาก |
66 | ห้องสรงน้ำ | ห้องอาบน้ำ |
67 | องค์ | ลักษณนามสำหรัพระพุทธรูป |
68 | อังคาด | เลี้ยงพระ |
69 | อาพาธ | ป่วย |
70 | อาสนะ | ที่นั่ง |
71 | อุบาสก | คนรู้จัก |
72 | อุบาสิกา | คนรู้จัก |
73 | เพล | เวลาฉันอาหารกลางวัน |
74 | เสนาสนะ | สถานที่พระภิกษุใช้อาศัย |
75 | ใบปวารณา | คำแจ้งถวายจตุปัจจัย |
76 | ไตรจีวร | เครื่องนุ่งห่ม |
คำราชาศัพท์ หมวด ร่างกาย
# | คำราชาศัพท์ | คำสามัญ |
---|---|---|
77 | กล่องพระสกุล | มดลูก |
78 | กล้ามพระมังสา | กล้ามเนื้อ |
79 | กำพระหัตถ์ | กำมือ กำหมัด กำปั้น |
80 | ขมวดพระศก , ขมวดพระเกศา | ขมวดผมที่เป็นก้นหอย |
81 | ขอบพระเนตร | ขอบตา |
82 | ข้อนิ้วพระหัตถ์ , พระองคุลีบัพ | ข้อนิ้วมือ |
83 | ข้อพระกร , ข้อพระหัตถ์ | ข้อมือ |
84 | ข้อพระบาท | ข้อเท้า |
85 | ช่องพระนาสิก | ช่องจมูก |
86 | ช่องพระโสต , ช่องพระกรรณ | ช่องหู |
87 | ต่อมพระเนตร | ต่อมน้ำตา ท่อน้ำตา |
88 | ต้นพระชิวหา , มูลพระชิวหา | ต้นลิ้น ลิ้นไก่ โคนลิ้น |
89 | ต้นพระหนุ | ขากรรไกร ขากรรไตร หรือขาตะไกร |
90 | นิ้วพระบาท | นิ้วเท้า |
91 | ผิวพระพักตร์, พระราศี | ผิวหน้า |
92 | ฝ่าพระบาท | ฝ่าเท้า |
93 | ฝ่าพระหัตถ์ | ฝ่ามือ |
94 | พระกฏิฐิ | กระดูกสะเอว |
95 | พระกนิษฐา | นิ้วก้อย |
96 | พระกนีนิกา , พระเนตรดารา | แก้วตา |
97 | พระกร | ปลายแขน (ตั้งแต่ข้อศอกถึงข้อมือ) |
98 | พระกรรณ | หู ใบหู |
99 | พระกราม | ฟันกราม |
100 | พระกฤษฎี , บั้นพระองค์, พระกฏิ | สะเอว เอว |
101 | พระกษิรธารา | น้ำนม |
102 | พระกัจฉะ | รักแร้ |
103 | พระกัจฉโลมะ | ขนรักแร้ |
104 | พระกัณฐมณี | ลูกกระเดือก |
105 | พระกัประ , พระกโบระ | ข้อศอก |
106 | พระกำโบล , กระพุ้งพระปราง | กระพุ้งแก้ม |
107 | พระกิโลมกะ | พังผืด |
108 | พระกุญชะ | ไส้พุง |
109 | พระขนง , พระภมู | คิ้ว |
110 | พระครรโภทร , พระคัพโภทร | มีครรภ์ มีท้อง |
111 | พระคีวัฐิ | กระดูกคอ |
112 | พระคุยหฐาน, พระคุยหประเทศ | องค์ที่ลับชาย |
113 | พระจุฑามาศ | มวยผม ท้ายทอย |
114 | พระจุไร | ไรจุก ไรผม |
115 | พระฉวี | ผิวหนัง ผิวกาย |
116 | พระฉายา | เงา |
คำราชาศัพท์ หมวด สรรพนาม
# | คำราชาศัพท์ | คำสามัญ |
---|---|---|
117 | กระผม, ดิฉัน | แทนชื่อผู้พูด (บุรุษที่ 1) |
118 | ข้าพระพุทธเจ้า | แทนชื่อผู้พูด (บุรุษที่ 1) |
119 | ท่าน | แทนผู้ที่พูดถึง |
120 | ฝ่าพระบาท | แทนชื่อที่พูดด้วย |
121 | พระคุณท่าน | แทนชื่อที่พูดด้วย |
122 | พระคุณเจ้า | แทนชื่อที่พูดด้วย |
123 | พระองค์ | แทนผู้ที่พูดถึง (บุรุษที่ 3) |
124 | พระเดชพระคุณ | แทนชื่อที่พูดด้วย |
125 | ใต้ฝ่าละอองธุรีพระบาท | แทนชื่อที่พูดด้วย (บุรุษที่ 2) |
126 | ใต้ฝ่าละอองพระบาท | แทนชื่อที่พูดด้วย (บุรุษที่ 2) |
คำราชาศัพท์ หมวด สัตว์และเบ็ดเตล็ด
# | คำราชาศัพท์ | คำสามัญ |
---|---|---|
127 | กระบือ | ควาย |
128 | กล้วยสั้น | กล้วยกุ |
129 | กล้วยเปลือกบาง, กล้วยกะ | กล้วยไข่ |
130 | ขนมดอกเหล็ก, ขนมทราย | ขนมขี้หนู |
131 | ขนมสอดไส้ | ขนมใส่ไส้ |
132 | ข้าวเสวย | ข้าว หรือเรียกว่า พระกระยา |
133 | จิตรจูล, จิตรจุล | เต่า |
134 | ชัลลุกะ, ชัลลุกา | ปลิง |
135 | ช้าง 2 ช้าง, ช้าง 2 เชือก | ช้าง 2 ตัว |
136 | ช้างนรการ | ช้างสีดอ (ช้างพลายมีงาสั้น) |
137 | ดอกขจร | ดอกสลิด |
138 | ดอกซ่อนกลิ่น | ดอกซ่อนชู้ |
139 | ดอกถันวิฬาร์ | ดอกนมแมว |
140 | ดอกทอดยอด | ดอกผักบุ้ง |
141 | ดอกมณฑาขาว | ดอกยี่หุบ |
142 | ดอกสามหาว | ดอกผักตบ |
143 | ดอกเหล็ก | ดอกขี้เหล็ก |
144 | ตกลูก | ออกลูก (สำหรับสัตว์) |
145 | ต้นจะเกรง | ต้นเหงือกปลาหมอ |
146 | ต้นปาริฉัตร, ต้นปาริชาติ | ต้นทองกวาว, ต้นทองหลาง |
147 | ต้นหนามรอบข้อ | ต้นพุงดอ |
148 | ต้นอเนกคุณ | ต้นตำแย |
149 | ต้องพระราชอาญา | ต้องโทษ |
150 | ถั่วเพาะ | ถั่วงอก |
151 | ถ่ายมูล | สัตว์ขี้ เช่น นกถ่ายมูล |
152 | นางเก้ง | อีเก้ง |
153 | นางเลิ้ง | อีเลิ้ง |
154 | นางเห็น | อีเห็น |
155 | บางชีโพ้น | บางชีหน |
156 | บางนางร้า | บางอีร้า |
157 | ปลามัจฉะ | ปลาร้า |
158 | ปลายาว | ปลาไหล |
159 | ปลาลิ้นสุนัข | ปลาลิ้นหมา |
160 | ปลาหาง | ปลาช่อน |
161 | ปลาใบไม้ | ปลาสลิด |
162 | ปลีกกล้วย | หัวปลี |
163 | ผล | ลูก (ใช้เรียกลูกไม้ทั้งปวง) |
164 | ผลนางนูน | ลูกอีนูน |
165 | ผลมูลกา | ลูกขี้กา |
166 | ผลมูลละมั่ง | ลูกตะลิงปลิง |
คำราชาศัพท์ หมวด อาหาร
# | คำราชาศัพท์ | คำสามัญ |
---|---|---|
167 | กล้วยเปลือกบางหรือกล้วยกระ | กล้วยไข่ |
168 | ขนมดอกเหล็กหรือขนมทราย | ขนมขี้หนู |
169 | ขนมทองฟู | ขนมตาล |
170 | ขนมบัวสาว | ขนมเทียน |
171 | ขนมสอดไส้ | ขนมใส่ไส้ |
172 | ขนมเส้น | ขนมจีน |
173 | ถั่วเพาะ | ถั่วงอก |
174 | นารีจำศีล | กล้วยบวชชี |
175 | ปลามัจฉะ | ปลาร้า |
176 | ปลายาว | ปลาไหล |
177 | ปลาหาง | ปลาช่อน |
178 | ปลาใบไม้ | ปลาสลิด |
179 | ผลมูลละมั่ง | ลูกตะลิงปลิง |
180 | ผลอัมพวา | ผลมะม่วง |
181 | ผลอุลิด | ลูกแตงโม |
182 | ผักทอดยอด | ผักบุ้ง |
183 | ผักรู้นอน | ผักกระเฉด |
184 | ผักสามหาว | ผักตบ |
185 | พระกระยาต้ม | ข้าวต้ม |
186 | พระกระยาหาร | ข้าว |
187 | พริกเม็ดเล็ก | พริกขี้หนู |
188 | ฟักเหลือง | ฟักทอง |
189 | ลูกไม้ | ผลไม้ |
190 | เครื่องคาว | ของคาว |
191 | เครื่องว่าง | ของว่าง |
192 | เครื่องหวาน | ของหวาน |
193 | เครื่องเคียง | ของเคียง |
194 | เครื่องเสวย | ของกิน |
195 | เยื่อเคย | กะปิ |
196 | เห็ดปลวก | เห็ดโคน |
คำราชาศัพท์ หมวด เครือญาติ ได้แก่
# | คำราชาศัพท์ | คำสามัญ |
---|---|---|
197 | พระขนิษฐา | น้องสาว |
198 | พระชนกหรือพระราชบิดา | พ่อ |
199 | พระชนนีหรือพระราชมารดา | แม่ |
200 | พระชามาดา | ลูกเขย |
201 | พระปัยกา | ปู่ทวดหรือตาทวด |
202 | พระปัยยิกา | ย่าทวดหรือยายทวด |
203 | พระปิตุจฉา | ป้าหรืออาหญิง |
204 | พระปิตุลา | ลุงหรืออาชาย |
205 | พระภาคิไนย | หลานที่เป็นลูกของพี่สาวหรือน้องสาว |
206 | พระภาติยะ | หลานที่ลูกของพี่ชาย หรือน้องชาย |
207 | พระมาตุจฉา | ป้าหรือน้าหญิง |
208 | พระมาตุลา | ลุงหรือน้าชาย |
209 | พระมเหสีหรือพระชายา | ภรรยา |
210 | พระราชธิดา, พระเจ้าลูกเธอ | ลูกสาว |
211 | พระราชนัดดา | หลานชายหรือหลานสาว |
212 | พระราชปนัดดา | เหลน |
213 | พระราชโอรสหรือพระเจ้าลูกยาเธอ | ลูกชาย |
214 | พระสวามีหรือพระภัสดา | สามี |
215 | พระสสุระ | พ่อสามี |
216 | พระสัสสุ | แม่สามี |
217 | พระสุณิสา | ลูกสะใภ้ |
218 | พระอนุชา | น้องชาย |
219 | พระอัยกา | ปู่หรือตา |
220 | พระอัยยิกา | ย่าหรือยาย |
221 | พระเชษฐภคินี | พี่สาว |
222 | พระเชษฐา | พี่ชาย |
คำราชาศัพท์ หมวด เครื่องประดับ ได้แก่
# | คำราชาศัพท์ | คำสามัญ |
---|---|---|
223 | กำไลข้อพระบาท, ทองพระบาท | กำไลข้อเท้า |
224 | ตุ้มพระกรรณ | ต่างหู |
225 | ทองพระกร, ทองกร, พระวลัย | กำไล |
226 | ทองพระกร, พระกำไล, พระวลัย | กำไล |
227 | พระกรรเจียก | จอนหู |
228 | พระกำไลหยก | กำไลหยก |
229 | พระกุณฑล | ต่างหู |
230 | พระจุฑามณี | ปิ่นประดับเพชร |
231 | พระธำมรงค์ | แหวน |
232 | พระปั้นเหน่ง | หัวเข็มขัด |
233 | พระมหามงกุฎ | หมายถึงพระมหาพิชัยมงกุฎในเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ |
234 | พระมหาสังวาล | สร้อยตัว, สร้อยยาวสวมสะพายแล่ง |
235 | พระอุณหิส | กรอบหน้า |
236 | พาหุรัด | กำไลต้นแขน |
237 | รัดพระองค์ | เข็มขัด |
238 | สร้อยข้อพระหัตถ์, พระวลัย | สร้อยข้อมือ |
239 | สร้อยพระศอ | สร้อยคอ |
240 | เกยูร | สร้อยอ่อน, ทองต้นแขน |
คำราชาศัพท์ หมวด เครื่องภาชนะใช้สอย ได้แก่
# | คำราชาศัพท์ | คำสามัญ |
---|---|---|
241 | จานเครื่องต้น | จาน |
242 | ฉลองพระหัตถ์ช้อน | ช้อน |
243 | ฉลองพระหัตถ์ตะเกียบ | ตะเกียบ |
244 | ฉลองพระหัตถ์ส้อม | ส้อม |
245 | ชามชำระพระหัตถ์ | ชามล้างมือ |
246 | ชามเครื่องต้น, ถ้วยชามเครื่องต้น | ถ้วยชาม |
247 | ถาดพระสุธารส | ถาดเครื่องน้ำร้อน น้ำเย็น |
248 | ถ้วยพระสุธารส | ถ้วยน้ำ |
249 | ที่พระสุธารส | ชุดเครื่องน้ำร้อน น้ำเย็น |
250 | บ้วนพระโอษฐ์ | กระโถน |
251 | ผ้าเช็ดพระหัตถ์ | ผ้าเช็ดมือ |
252 | พระตะพาบ, พระเต้า (คนโท) | คนโทน้ำ |
253 | พระทวย | คันทวยสำหรับรองรับกระโถน หรือรับพระภูษาโยง |
254 | พระมณฑปพระสุธารส | หม้อน้ำดื่ม |
255 | พระมณฑปรัตนกรัณฑ์ | ขันน้ำทรงมณฑปพานรอง มีจอกลอย |
256 | พระมังสี | พานรองสังข์ จอกหมาก |
257 | พระสุพรรณภาชน์ | โต๊ะทองคำสำหรับตั้งสำรับคาวหวาน |
258 | พระสุพรรณราช | กระโถนใหญ่ |
259 | พระสุพรรณศรี | กระโถนเล็ก |
260 | พระสุวรรณภิงคาร | หม้อน้ำทำด้วยทองคำรูปคนโท |
261 | พระเต้าทักษิโณทก | เต้ากรวดน้ำ |
262 | มีดคาว, มีดหวาน, มีดผลไม้ | มีด |
263 | โต๊ะเสวย | โต๊ะรับประทานอาหาร |
คำราชาศัพท์ หมวด เครื่องใช้ทั่วไป ได้แก่
# | คำราชาศัพท์ | คำสามัญ |
---|---|---|
264 | กระเป๋าทรง | กระเป๋าถือ |
265 | คันฉ่อง | กระจกมีคันถือ แว่นโลหะขัดเงามีด้าม ใช้เป็นกระจกส่องหน้า |
266 | ฉลองพระหัตถ์, ฉลองได, นารายณ์หัตถ์ | ไม้เกาหลัง |
267 | ฉลองพระเนตร | แว่นตา |
268 | ตลับพระมณฑปเล็ก | ตลับยอดมณฑป |
269 | ตั่ง | ที่นั่งไม่มีพนัก |
270 | ที่สรงพระพักตร์, ถาดสรงพระพักตร์, | อ่างล้างหน้า |
271 | ธารพระกร | ไม้เท้า, ไม้วา, ไม้วัด |
272 | น้ำจัณฑ์ | เหล้า |
273 | พระกรรภิรมย์ | ฉัตรสีขาว ลงยันต์ด้วยเส้นทอง 5 ชั้น สำรับหนึ่งมี 3 คัน |
274 | พระกลด | ร่มด้ามยาว สำหรับประดับพระเกียรติยศ |
275 | พระกลดคันสั้น | ร่ม |
276 | พระกล้องสลัด | กล้องที่ใส่อาวุธซัด |
277 | พระฉาย | กระจกส่อง |
278 | พระตรา | ตราส่วนพระองค์ของพระราชวงศ์ ดวงตราเครื่องราชอิสริยาภรณ์ |
279 | พระที่นั่ง | ที่นั่ง |
280 | พระที่นั่งเก้าอี้, เก้าอี้ประทับ | เก้าอี้นั่ง |
281 | พระที่นั่งเจียม | พรมเจียม พรมขนสัตว์ |
282 | พระพัชนี | พัด |
283 | พระยี่ภู่ | ฟูก นวมที่ปูลาดไว้ |
284 | พระรัตนกรัณฑ์ | ตลับประดับเพชร |
285 | พระราชบรรจถรณ์ | ที่นอน |
286 | พระราชลัญจกร | ตราแผ่นดินสำหรับใช้ประทับ |
287 | พระราชอาสน์, พระเก้าอี้ | ที่สำหรับนั่ง เก้าอี้ |
288 | พระล่วม | กระเป๋าหมากบุหรี่ |
289 | พระวิสูตร | ม่าน มุ้ง |
290 | พระศรี | หมาก |
291 | พระสาง | หวี |
292 | พระสางวงเดือน | หวีวงเดือน |
293 | พระสางเสนียด | หวีเสนียด |
294 | พระสุจหนี่ | ผ้าที่ปูลาดไว้สำหรับประทับ หรือตั้งพระเก้าอี้ |
295 | พระสูตร | มุ้ง |
296 | พระอภิรุม | เครื่องประดับเกียรติยศ เช่น ฉัตร พัดโบก จามร บังสูรย์ |
297 | พระอู่, พระอังรึง | เปล |
298 | พระเขนย | หมอนหนุน |
299 | พระเขนยข้าง | หมอนข้าง |
300 | พระเขนยอิง, พระขนน | หมอนอิง |
301 | พระแท่น | เตียง ที่นั่ง |
302 | พระแท่นบรรทม | เตียงนอน |
303 | พระแว่นสูรยกานต์ | แว่นรวมแสงอาทิตย์ สำหรับจุดไฟ |
>> ยังมีหมวดอื่นๆ อีก กดไปดูทั้งหมดได้ตรงนี้เลยจ้า หมวดหมู่คำราชาศัพท์ ทุกหมวด หรือ เรียงตามตัวอักษร <<
ความหมายของคำราชาศัพท์
คำราชาศัพท์ คือ คำสุภาพที่ใช้ให้เหมาะสมกับฐานะของบุคคลต่าง ๆ คำราชาศัพท์เป็นการกำหนดคำและภาษาที่สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมอันดีงามของไทย แม้คำราชาศัพท์จะมีโอกาสใช้ในชีวิตน้อยครั้ง แต่เป็นสิ่งที่แสดงถึงความละเอียดอ่อนของภาษาไทยที่มีคำหลายรูปหลายเสียงในความหมายเดียวกัน และเป็นลักษณะพิเศษของภาษาไทย โดยเฉพาะ ซึ่งใช้กับบุคคลกลุ่มต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
คำราชาศัพท์ หมายความว่า ศัพท์หลวง ศัพท์ราชการ และหมายรวมถึงคำสุภาพซึ่งนำมาใช้ให้ถูกต้องตามชั้นหรือฐานะของบุคคล
บุคคลผู้ที่ต้องใช้คำราชาศัพท์ด้วย / ประเภทของคำราชาศัพท์
บุคคลที่ผู้พูดต้องใช้คำราชาศัพท์ด้วย สามารถจำแนกเป็น 5 ประเภท ได้แก่
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ
- พระบรมวงศานุวงศ์
- พระภิกษุสงฆ์ สามเณร
- ขุนนาง ข้าราชการ
- สุภาพชน
บุคคลในกลุ่มที่ 1 และ 2 จะใช้ราชาศัพท์ชุดเดียวกัน
เช่นเดียวกับบุคคลในกลุ่มที่ 4 และ 5 ก็ใช้คำราชาศัพท์ในชุดเดียวกันและเป็นคำราชาศัพท์ที่เราใช้อยู่เป็นประจำ
ในสังคมมนุษย์เราถือว่าการให้เกียรติแก่บุคคลที่เป็นหัวหน้าชุมชน หรือผู้ที่ชุมชนเคารพนับถือนั้น เป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของมนุษยชาติ ทุกชาติ ทุกภาษา ต่างยกย่องให้เกียรติแก่ผู้เป็นประมุขของชุมชนด้วยกันทั้งสิ้น
ดังนั้นแทบทุกชาติ ทุกภาษาจึงต่างก็มี คำสุภาพ สำหรับ ใช้กับประมุขหรือผู้ที่เขาเคารพนับถือ จะมากน้อยย่อมสุดแต่ขนบประเพณีของชาติ และจิตใจของประชาชนในชาติว่ามีความเคารพในผู้เป็นประมุขเพียงใด
เมืองไทยเราก็มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของชาติ และพระประมุขของเรา แต่ละพระองค์ทรงพระปรีชาสามารถ จึงทำให้ประชาชนส่วนใหญ่มีความ เคารพสักการะอย่างสูงสุดและมีความจงรักภักดีอย่างแนบแน่นตลอดมานับตั้งแต่โบราณกาลจนถึงปัจจุบัน
คำราชาศัพท์เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยใด?
ประวัติของคำราชาศัพท์
ในแหล่งอ้างอิงบางฉบับได้ให้ข้อสันนิษฐานไว้ว่า คนไทยเริ่มใช้คำราชาศัพท์ในรัชสมัยพระธรรมราชาลิไท พระร่วงองค์ที่ 5 แห่งสุโขทัย เพราะศิลาจารึกต่างในแผ่นดินนั้น รวมทั้งบทพระราชนิพนธ์ของท่าน คือ ไตรภูมิพระร่วง ปรากฏว่ามีคำราชาศัพท์อยู่หลายคำ เช่น ราชอาสน์ พระสหาย สมเด็จ ราชกุมาร เสด็จ บังคม เสวยราชย์ ราชาภิเศก เป็นต้น
บางท่านกล่าวว่า คำราชาศัพท์นั้นเริ่มใช้ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เพราะพระปฐมบรมกษัตริย์ที่ทรงสร้างกรุงศรีอยุธยา ทรงนิยมเขมร ถึงกับเอาลัทธิและภาษาเขมรมาใช้ เช่น เอาคำว่า "สมเด็จ" ซึ่งเขมรใช้เป็นคำนำพระนามพระเจ้าแผ่นดินมาเป็นคำนำพระนามของพระองค์ และใช้ภาษาเขมรเป็นราชาศัพท์
และจากหลักฐานที่พบข้อความในศิลาจารึกวัดศรีชุม กล่าวถึงเรื่องตั้งราชวงศ์และเมืองสุโขทัยตอนหนึ่งมีความว่า "พ่อขุนผาเมืองจึงอภิเสกพ่อขุนบางกลางหาวใหเมืองสุโขไท" คำว่า "อภิเษก" นี้เป็นภาษาสันสกฤต ไทยเรารับมาใช้สำหรับพิธีการแต่งตั้งตำแหน่งชั้นสูง จึงอยู่ในประเภทราชาศัพท์ และพิธีนี้มีมาตั้งแต่ราชวงศ์สุโขทัย จึงน่าสงสัยว่าในสมัยนั้นอาณาจักรสุโขทัยนี้ ก็คงจะมีการใช้คำราชาศัพท์บางคำกันแล้ว
ที่มาของคำราชาศัพท์
คำราชาศัพท์ นั้น มีที่มาอยู่ 2 อย่าง คือ
- รับมาจากภาษาอื่น
ภาษาเขมร เช่น โปรด เขนย เสวย เสด็จ เป็นต้น
ภาษาบาลี-สันสกฤต เช่น อาพาธ เนตร หัตถ์ โอรส เป็นต้น - การสร้างคำขึ้นใหม่ โดยการประสมคำ เช่น ลูกหลวงซับพระพักตร์ ตั้งเครื่อง เป็นต้น
ประเภทของคำราชาศัพท์
จำแนกเป็น 5 ประเภท คือ
- พระมหากษัตริย์
- พระบรมวงศานุวงศ์
- พระสงฆ์
- ข้าราชการชั้นสูงหรือขุนนาง
- สุภาพชนทั่วไป
ภาษาที่ใช้คำราชาศัพท์
คำราชาศัพท์มิได้มีที่มาจากภาษาไทยภาษาเดียว ด้วยว่าการใช้คำราชาศัพท์เป็นการใช้ด้วยตั้งใจ จะทำให้เกิดความรู้สึกยกย่อง เทิดทูน จึงได้เจาะจงรับคำในภาษาต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับไทยมาใช้เป็นพิเศษ โดยเฉพาะภาษาที่นับถือกันว่าเป็นภาษาสูงและศักดิ์สิทธิ์ คำราชาศัพท์ส่วนใหญ่จึงมีที่มาจากภาษาต่างประเทศมากมาย
อย่างไรก็ตามก็ยังมีคำราชาศัพท์จำนวนไม่น้อยที่ใช้คำภาษาไทยแท้ ซึ่งเป็นคำสามัญยกระดับขึ้นเป็นคำราชาศัพท์ ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าคำราชาศัพท์นั้นมีที่มาจากทั้งภาษาต่างประเทศและ ภาษาไทยของเราเอง ดังจะได้พิจารณาต่อไปนี้จากภาษาต่างประเทศ
ตั้งแต่สมัยโบราณมา คนไทยได้ติดต่อกับคนต่างชาติต่างภาษามากมาย ในบรรดาภาษาทั้งหลายเหล่านั้น มีบางภาษาที่เรายกย่องกันว่าเป็นภาษาสูงและศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งก็ได้แก่ ภาษาเขมร บาลี และสันกฤต ภาษาอื่น ๆ ก็นำมาใช้เป็นคำราชาศัพท์บ้าง แต่ก็ไม่มากและสังเกตได้ชัดเจนเท่า 3 ภาษาที่กล่าวแล้ว
การเรียนรู้เรื่องคำราชาศัพท์
ตามที่หลายคนคิดว่าคำราชาศัพท์เป็นเรื่องของในรั้วในวัง เป็นเรื่องของผู้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทนั้น ทำให้คิดต่อไปอีกว่า คำราชาศัพท์เป็นเรื่องยากซึ่งเมื่อก่อนอาจเป็นจริง แต่ปัจจุบันคำราชาศัพท์เป็นเรื่องในชีวิตประจำวันไปเสียแล้ว แม้มิได้ใช้มากเท่ากับภาษาสามัญที่ใช้อยู่ในการดำรงชีวิตประจำวันแต่ทุกคน โดยเฉพาะผู้มีการศึกษาก็ต้องมีโอกาสที่จะสัมผัสกับคำราชาศัพท์ทุกวัน ไม่โดยตรงก็โดยทางอ้อม โดยเฉพาะทางสื่อมวลชน
การเรียนรู้วิธีใช้คำราชาศัพท์นั้น กล่าวโดยสรุป ต้องเรียนรู้ใน 2 ประการ คือ เรียนรู้คำ ประการหนึ่งกับ เรียนรู้วิธี อีกประการหนึ่ง
เรียนรู้คำ คือ ต้องเรียนรู้คำราชาศัพท์
เรียนรู้วิธี คือ ต้องเรียนรู้วิธีหรือเรียนรู้ธรรมเนียมการใช้คำราชาศัพท์
คำราชาศัพท์สำหรับพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ลำดับพระราชอิสริยศักดิ์พระบรมราชวงศ์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว , สมเด็จพระบรมราชินีนาถ
สมเด็จพระบรมราชินี , สมเด็จพระบรมราชชนนี , สมเด็จพระยุพราช , สมเด็จพระสยามบรมราชกุมารี
สมเด็จเจ้าฟ้า
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้า
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า
หม่อมเจ้า
สำหรับคำว่า พระราชโองการ และพระราโชวาท หากใช้กับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะมีคำว่า "บรม" นำหน้าคำว่า "ราช" เสมอ
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคำราชาศัพท์
ดาวน์โหลด PDF รวมคำราชาศัพท์ยอดนิยม
สำหรับใครที่อยากได้คำราชาศัพท์ ในรูปแบบไฟล์ PDF สามารถกดที่ปุ่มดาวน์โหลดได้เลย
PDF – ตัวอย่าง คำราชาศัพท์ ที่ใช้บ่อย