คำผวน - ควนผำ - การสลับคำ สลับยังไง ใช้ยังไง
คำผวน คืออะไร
คำผวน คือ การสลับคำ โดยใช้ สระ และ ตัวสะกดของพยางค์หน้ากับพยางค์สุดท้าย มาสลับกัน
ทำให้เกิดเป็นคำใหม่ที่ไม่มีความหมาย แต่การออกเสียงจะคล้องจองกับรูปเดิม ทำให้สื่อความหมายกันได้
คำผวนนั้นนิยมใช้กับคำสองหรือสามพยางค์เป็นส่วนใหญ่ แต่มากกว่านั้นก็พอมีบ้าง แต่อาจจะเข้าใจยากหน่อย ทั้งนี้ที่ต้องเป็นจำนวนพยางค์น้อยเพราะสามารถสลับตำแหน่งได้ง่าย
ส่วนคำพยางค์เดียวนั้นไม่สามารถผวนได้
คำที่พยัญชนะพยางค์หน้าและพยางค์สุดท้ายเหมือนกันหรือเสียงเดียวกันนั้นไม่สามารถผวนได้
คำที่สระและตัวสะกดพยางค์หน้าและพยางค์สุดท้ายเหมือนกันหรือตัวสะกดมาตราเดียวกันนั้นไม่สามารถผวนได้
ส่วนคำหลายพยางค์ อาจต้องแยกเป็นส่วน ๆ ไม่สามารถสลับตำแหน่งอย่างคำน้อยพยางค์
วิธีการสร้างคำผวน เรียกว่า "ผวน" หรือ "การผวนคำ"
คำผวน = ควนผำ
ตัวอย่างคำผวน
อะหรี่ดอย = อร่อยดี
สวีดัด = สวัสดี
ไข้เจา = เข้าใจ
ขึงเถ้า = เข้าถึง
ก้างใหญ่ = ไก่ย่าง
จอเข็บ = เจ็บคอ
หนี้ท่า = หน้าที่
อ้าดนำ = อำนาจ
สมคัง = สังคม
อิฐกรัง = อังกฤษ
ซานผะ = สะพาน
ไสเฟา = เสาไฟ